การพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในพื้นที่ตำบลชายแดน จังหวัดนครพนม ปี พ.ศ. 2558 เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
คำสำคัญ:
การพัฒนาเครือข่าย, โรคไข้หวัดนก, สุขภาพหนึ่งเดียวบทคัดย่อ
บทนำ: จากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในจังหวัดนครพนม ปี พ.ศ. 2549 ประกอบกับมีการระบาดของโรคไข้หวัดนกในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมทั้งการเปิดประชาคมเศษฐกิจอาเซียน การเฝ้าระวังเหตุการณ์ผิดปกติเพื่อไม่ให้ลุกลามออกไปตั้งแต่ระดับชุมชนในทุกพื้นที่ และช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศต้องดำเนินงานอย่างเข้มแข็งตามกฎอนามัยระหว่าง ประเทศ พ.ศ. 2548 การพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในพื้นที่ตำบลชายแดน จังหวัดนครพนมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เครือข่ายเฝ้าระวังโรคมีความพร้อมในการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก
วิธีการศึกษา: ถอดบทเรียนจากการประชุมซ้อมแผนบนโต๊ะและแบบฝึกปฏิบัติการตามบทบาทหน้าที่ ให้กับเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคของโรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครปศุสัตว์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่ตำบลชายแดนที่ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ผลการศึกษา: จากการถอดบทเรียนพบว่าเครือข่ายเฝ้าระวังฯ ได้ระบุปัญหาอุปสรรค พร้อมข้อเสนอแนะในด้านการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก ด้านสอบสวนโรค และด้านประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วยบุคลากรไม่เพียงพอ ขาดแคลนวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ขาดการประสานงานระหว่าง เครือข่ายเฝ้าระวังฯ ในแต่ละภาคส่วนทั้งภายในจังหวัดและประเทศเพื่อนบ้าน ขาดห้องปฏิบัติการในพื้นที่ และเอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน
สรุปและวิจารณ์: ข้อเสนอแนะสำหรับปัจจัยสู่ความสำเร็จของการปฏิบัติงานของเครือข่าย ได้แก่ ประชาชนต้องมีความรู้ในการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรคไข้หวัดนกทั้งในคนและสัตว์ภาคี เครือข่ายต้องมีการประสานงานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ภาครัฐต้องมีศูนย์สั่งการที่ชัดเจน มี งบประมาณเพียงพอด้านกระบวนการปฏิบัติงานต้องมีการทบทวนกระบวนการในการทำงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน รวมทั้งต้องบูรณาการในด้านความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง จากผลการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายฯ ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปวางแผนในการปฏิบัติงานและกำหนดเป็นนโยบายการดำเนินงานเฝ้าระวังตามแนวชายแดนในปีถัดไป
References
สำนักงานจังหวัดนครพนม. บรรยายสรุปจังหวัด. 2558 [เข้าถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nakhonphanom.go.th/index2.php
ประหยัด ศรีโคตร. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนของกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่ ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ภายหลังการระบาดของโรคไข้หวัดนก. จุลสารสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ 2554;18:5.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. เตือนภัยสินค้าเกษตร. 2558 [เข้าถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.acfs.go.th
International Health Regulations. IHR 2005. [cited 2015 December 20]. Available from http://203.157.15.110/ihr/EN/index.php
สำนักงานจังหวัดนครพนม. สถานการณ์โรคไข้หวัดนก จังหวัดนครพนม. 2558. (เอกสารอัดสำเนา)
ด่านตรวจสัตว์ป่านครพนม. สรุปผลการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2558.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. สรุปรายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดนก จังหวัดนครพนม. ม.ป.ป.. 2558.
Tiensin T, Chaitaweesub P, Songserm T, Chaisingh A, Hoonsuwan W, Buranathai C, et al. Highly pathogenic avian influenza H5N1, Thailand, 2004. Emersing infectious disease 2005;11(11):1664-72.
วิษณุกร อ่อนประสงค์ และสุวัฒนา อ่อนประสงค์. การประเมินความพร้อมของการเฝ้าระวัง. ป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2548. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2549;13(3):55-63.
สุวัฒนา อ่อนประสงค์ และสุทธิดา บุญอาษา. บทบาท การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคไหวัดนก จังหวัด กาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์: 2548.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ