ผลสำรวจความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์ของจุลสารจับตาโรคและภัยสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • สิริลักษณ์ รังษีวงศ์ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • นิยดา ยศวัฒน สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • บริมาศ ศักดิ์ศิริสัมพันธ์ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, จับตาโรคและภัยสุขภาพ, DDC WATCH

บทคัดย่อ

บทนำ: ในเดือนมิถุนายน 2557 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เริ่มจัดทำจุลสารจับตาโรคและภัยสุขภาพ (DDC WATCH) รูปแบบสื่ออินโฟกราฟิก เผยแพร่ข้อมูลโรคและภัยสุขภาพที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญเผยแพร่รายเดือน เพื่อให้มีพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีคุณภาพ จึงศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อจุลสารจับตาโรคและภัยสุขภาพ และการใช้ประโยชน์ประจำปี 2559
วิธีการศึกษา: ทำการสำรวจแบบภาคตัดขวางแก่เครือข่ายทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วทุกจังหวัด ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558-30 มีนาคม 2559 การสำรวจโดยมีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์พร้อมจุลสารจับตาโรคและภัยสุขภาพและการแจกแบบสอบถามแก่ผู้เข้าร่วมประชุมเครือข่ายระบาดวิทยาทั่วประเทศ
ผลการศึกษา: จากแบบสอบถามทั้งหมด 700 ฉบับ ได้รับการตอบกลับ 362 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 51.71 พบว่าผู้ตอบแบบประเมิน เพศชายสูงสุด ร้อยละ 54.4 อายุสูงสุดระหว่าง 36-45 ปี ร้อยละ 32.1 ระดับการศึกษาปริญญาตรีสูงสุด ร้อยละ 57.2 ส่วนใหญ่เป็น นักวิชาการ/เจ้าพนักงานสาธารณสุข ร้อยละ 86.5 ปฏิบัติงานที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสูงสุด ร้อยละ 45.3 ระยะเวลาการทำงานสูงสุดมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 46.1 ส่วนใหญ่เคยเห็นจุลสาร DDC WATCH ร้อยละ 81.5 เคยใช้หรืออ่านจุลสารฯ ร้อยละ 75.4 ช่องทางการได้รับจุลสารฯ จากเข้าร่วมอบรม/ประชุม ร้อยละ 37.9 การใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่ใช้ในการติดตามข้อมูลข่าวสาร ร้อยละ 73.5 ความพึงพอใจพบสูงสุดในระดับมากในหัวข้อ ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านรูปแบบการนำเสนอ ด้านการใช้ประโยชน์
สรุปและอภิปราย: ความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากค่าคะแนน เฉลี่ย 3.1-3.2 จากคะแนนเต็ม 4 คะแนน เนื่องด้วยเนื้อหาที่เผยแพร่เป็นโรคตามนโยบายของกรมควบคุมโรค โรคหรือภัยสุขภาพตามแผนกิจกรรมรณรงค์ของกรมควบคุมโรค เตือนภัยโรคระบาดตามฤดูกาล ข้อเสนอแนะควรมีการประเมินเชิงคุณภาพของ จุลสารโดยผู้มีประสบการณ์งานสื่อสารจากภายนอกและภายในกรมควบคุมโรค และเพิ่มการประชาสัมพันธ์จุลสารฯ แก่เครือข่ายอื่น ๆ ของกรมควบคุมโรค

References

วิชาญ ปาวัน, กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์, จักรกฤษณ์ พลราชม, มาสริน ศุกลปักษ์, สิริกาญจน์ ถมยาศิริกุล, ชมพูนุท พรหมมายนต์. การประเมินผลการรับรู้ข้อมูลข่าวสารความรู้พฤติกรรมสุขภาพ และภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคประจำปี พ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.

กาญจนา แก้วเทพ. การวิเคราะห์สื่อแนวคิดและเทคนิค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เอดิสันเพรสโพรดักส์; 2542.

ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสารและพฤติกรรมการสื่อสาร. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาทฤษฎีและพฤติกรรมการสื่อสาร. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2549.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-02

How to Cite

รังษีวงศ์ ส., ยศวัฒน น., ศักดิ์ศิริสัมพันธ์ บ., & ฮิ้นจ้อย เ. (2024). ผลสำรวจความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์ของจุลสารจับตาโรคและภัยสุขภาพ. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 48(32), 497–503. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/2260

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ

Similar Articles

You may also start an advanced similarity search for this article.