การสอบสวนโรคไข้หูดับ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เดือนมิถุนายน 2560
คำสำคัญ:
สอบสวนโรค, โรคไข้หูดับ, แม่วาง, เชียงใหม่บทคัดย่อ
ความเป็นมา: เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2560 SRRT สันป่าตองได้รับรายงานผู้ป่วยสงสัยเป็นโรคไข้หูดับ 3 ราย ในเขตอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ดำเนินการสอบสวนโรคเพื่อยืนยันการวินิจฉัยยืนยันการระบาดของโรค เพื่อศึกษาขอบเขตของการระบาด การกระจายของโรค และเพื่อหาแนวทางควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค
วิธีการศึกษา: การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาโดยทบทวนเวชระเบียนและสัมภาษณ์ผู้ป่วยโรคไข้หูดับที่มารักษาที่โรงพยาบาลสันป่าตอง และค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม โดยมีนิยามผู้ป่วยคือผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลดอนเปา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ และมีประวัติการสัมผัสสุกรหรือบริโภคเนื้อสุกร หรือเลือดสุกรดิบ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม -7 มิถุนายน 2560 การศึกษาสภาพแวดล้อมทำโดยการสัมภาษณ์ร้านค้าเนื้อสุกร สถานที่ชำแหละสุกร และฟาร์มสุกร และการศึกษาทางห้องปฏิบัติการทำโดยเก็บตัวอย่างจากเลือดหรือน้ำไขสันหลังของผู้ป่วยเพื่อนำมาเพาะเชื้อ และทำมัลติเพล็กซ์พีซีอาร์
ผลการสอบสวน: พบผู้ป่วยยืนยันทั้งหมด 3 ราย เป็นเพศหญิง 2 ราย อายุ 42 ปี และ 65 ปี เพศชาย 1 ราย อายุ 43 ปี มีผู้ป่วย เสียชีวิต 1 ราย ผู้ป่วยทั้งสามรายได้มารักษาตัวที่โรงพยาบาลสันป่าตอง โดยอาการแสดงทางคลินิกของผู้ป่วยทั้งสามคนที่พบร่วมกันหมดมีดังนี้ คือ ไข้ ซึมหรือไม่รู้สึกตัว ความรู้สึกสับสน ปวด เมื่อยกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยทั้งสามรายมีประวัติทานลาบควายผสมหมูดิบที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุกด้วยความร้อน ซึ่งเนื้อควายซื้อมาจากตลาดในหมูบ้านส่วนเนื้อหมูนำมาจากสุกรที่เลี้ยงเองซึ่งเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ มีผู้ร่วมรับประทานด้วยทั้งหมด 5 คน คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 60 นอกจากนี้ผู้ป่วยทั้งหมดยังมีประวัติดื่มสุราเป็นประจำ ส่วนการศึกษาสภาพแวดล้อมพบว่า ร้านค้าเนื้อสุกร ฟาร์มสุกร และสถานที่ชำแหละสุกร ทั้งหมดได้มาตรฐาน และการศึกษาทางห้องปฏิบัติการ พบว่าผลเพาะเชื้อจากเลือดหรือน้ำไขสันหลัง ของผู้ป่วยพบเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสซูอิส และผลมัลติเพล็กซ์พีซีอาร์เป็นซีโรไทป์ 2
สรุปและวิจารณ์ผล: พบการระบาดโรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัสซูอิสซีโรไทป์ 2ในอำเภอแม่ว่าง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม - 7 มิถุนายน 2560 พบผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 3 ราย เสียชีวิต 1 ราย คำนวณอัตราป่วยได้เท่ากับร้อยละ 60 พบแหล่งโรคร่วมจากการทานเนื้อสุกรที่เลี้ยงเองแล้วเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ
References
สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่. องค์ความรู้ (Factsheet) เรื่อง โรคติดต่ออุบัติใหม่. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2554.
สำนักระบาดวิทยา. คู่มือแนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัสชูอิส "ไข้หูดับ". กรุงเทพมหานคร: สำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรค; 2551.
กิจจา อุไรรงค์. โรคที่เกิดจากการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส. แนวทางการวินิจฉัยรักษา และควบคุมโรคสุกร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหมิตรออฟเซต; 2535.
ชุษณา สวนกระต่าย. แนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อสเตรีพโตค็อกคัสซูอิส. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2550.
ธีรศักด์ ชักนำ. คู่มือแนวทางการเฝ้าระวัง และสอบสวนโรคติดเชื้อ "โรคไข้หูดับ". พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: 2552.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506 โรค Steptococcus suis [เข้าถึงเมื่อ 6 ก.ย. 2558J. เข้าถึงได้จาก http:/www.boe.moph.go.th/boedb/d506_1/ds_wk2pdf.php?ds=82&y r=60
Nghia HD, Tu le TP, Wolbers M, Thai CQ, Hoang NV,Nga TV, et al. Risk factors of Streptococcus suis infection in Vietnam. PLoSONE. 2011;6:e17604.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ