การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไวรัสตับอักเสบบี จังหวัดยโสธร ปี พ.ศ. 2557-2559

ผู้แต่ง

  • กัญญาภัค ศิลารักษ์ โรงพยาบาลไทยเจริญ, จังหวัดยโสธร
  • ถนอม นามวงศ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

คำสำคัญ:

ประเมินระบบเฝ้าระวัง, โรคไวรัสตับอักเสบบี, ยโสธร

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคไวรัสตับอักเสบบี (HBV ) เป็นสาเหตุสำคัญของ โรคมะเร็งตับ คิดเป็นร้อยละ 53 สถานการณ์การติดเชื้อ HBV ประเทศไทยในประชากรที่เกิดก่อนปี พ.ศ. 2535 พบความชุกของ HBV ชนิดเรื้อรัง ร้อยละ 4.5 คาดว่าจะมีประชากรที่ติดเชื้อ HBV ชนิดเรื้อรังอยู่ 2.2-3 ล้านคน ร้อยละ 10 ของผู้ป่วย HBV จะไม่ หายขาด และมีโอกาสเป็นโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับ สถานการณ์ HBV จังหวัดยโสธร ปี พ.ศ. 2555-2559 ในระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง.506) ได้รับรายงาน HBV เฉลี่ยปีละ 40 ราย แต่ใน ปี พ.ศ. 2558 ได้รับรายงานข้อมูลเพียง 15 ราย ประมาณการณ์ ว่าจังหวัดยโสธรจะมีผู้ป่วย HBV ชนิดเรื้อรังราว 18,000 คน ในภาพรวมการรายงานต่ำกว่าความเป็นจริงอยู่มาก ดังนั้นจึงทำการประเมินระบบเฝ้าระวัง HBV มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึง ประสิทธิผลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และเพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรค HBV
วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาภาคตัดขวางจากข้อมูลของโรงพยาบาลของรัฐ 9 แห่ง ในจังหวัดยโสธร ทบทวนเวชระเบียนและประวัติผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการวินิจฉัยโรคตาม ICD-10 รหัส B16-B19 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 ถึงธันวาคม 2559 สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ถึงขั้นตอนการรายงาน และความคิดเห็นต่อระบบเฝ้าระวังโรค
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยเข้านิยามทั้งหมด 132 ราย มีค่าความไวร้อยละ 50.08 (67/132) และค่าพยากรณ์บวกร้อยละ 62.62 (67/107) สามารถรายงานได้ทันเวลา ร้อยละ 86.9 ด้านความครบถ้วนของข้อมูลในตัวแปร อายุ เพศ และวันที่เริ่มป่วย เท่ากับร้อยละ 100 ส่วนความถูกต้องในตัวแปรเพศ อายุ และวันที่เริ่มป่วย เท่ากับร้อยละ 100 , 74.63 และ 22.39 ตามลำดับ ความเป็นตัวแทนพบสัดส่วนของเพศชายและหญิงในกลุ่มค้นหาเปรียบเทียบกับกลุ่มที่รายงาน พบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ด้านอายุพบว่าค่ามัธยฐาน ของอายุกลุ่มที่รายงานกับกลุ่มที่ค้นหา พบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) เช่นเดียวกัน การศึกษาคุณลักษณะเชิงคุณภาพ พบการยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือ
สรุปและฉภิปราย: ระบบเฝ้าระวัง HBV เป็นระบบเฝ้าระวังโรคที่ได้รับการยอมรับว่ามีความสำคัญ มีขั้นตอนการรายงานที่ไม่ซับซ้อน มีความยืดหยุ่น แต่การรายงานมีความยากเพราะในระบบเฝ้าระวังให้รายงานได้เฉพาะ Acute HBV ซึ่งอาจเข้าใจสับสนกับ Chronic HBV และมีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลน้อย ด้านความคิดเห็นเจ้าหน้าที่ต่อระบบเฝ้าระวัง พบว่าเห็นด้วยอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ควรมีการปรับปรุง นิยามในการรายงานโรคในระบบ รง.506 ให้สามารถรายงานได้ทั้ง Acute HBV และ Chronic HBV และควรส่งเสริมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องใช้ประโยชน์จากข้อมูลในระบบเฝ้าระวังให้มากขึ้น

References

Perz JF, Armstrong GL, Farrington LA, Hutin YJ and Bell BP. The contributions of hepatitis B virus and hepatitis C virus infections to cirrhosis and primary liver cancer worldwide. Journal-of-hepatology 2006.

Vatanasapt V, Martin N, Sriplung H, Chindavijak K, Sontipong S, Sriamporn H, et al. Cancer Incidence in Thailand 1988-1991. Cancer Epidemiology Biomarkers and Prevention 1995; 4: 475-83.

Tao LY, He XD, Xiu DR. Hepatitis B virus is associated with the clinical features and survival rate of patients with intrahepatic cholangiocarcinoma. Clin Res Hepatol Gastroenterol. 2016 Dec;40(6):682-7.

อาคมชัย วีระวัฒนะ, ศุลีพร แสงกระจ่าง, ปิยวัฒน์ เลาวหุตานนท์, ปาริชาด สุวรรณเกษร. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาลรายงานประจำปี 2557. สถาบันมะเร็งแห่งชาติกรุงเทพฯ: พรทรัพย์การพิมพ์; 2559.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. เอกสารประกอบการตรวจราชการรอบที่ 1 ปี 2559. ยโสธร. (อัดสำเนา)

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ [อินเทอร์เน็ต]. ยโสธร; 2559 [สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560]. เข้าถึงได้จาก http://203.157.181.13/cdcyaso/weekly60.htm

ธนรักษ์ ผลิพัฒน์. แนวทางการประเมินระบบเฝ้าระวังทางสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2551.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2544.

Best JW. Research in Education. New York: Prentice-Hall, Englewood Cliffs; 1977.

ศิริรัตน์ เตชะธวัช, โยธิน ถนอมวัมน์, อัญญรัตน์ ธรรมเจริญ, ปรียพันธ์ มีทรัพย และทัศนีย์ รัตนภาค. หลักสูตรเชิงปฏิบัติการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2558. กรุงเทพา: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์; 2558.

ศตวรรษ ทองสวัสดิ์, ทวีศักดิ์ แทนวันดี, ชินวัตร์ สุทธิวนา, ที่ปวิทย์ วิถี รุ่งโรจน, ศิวะพร ไชยนุวัต, ธีระ พี่รัชวิสุทธิ์ และคณะ. แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรังในประเทศไทย ปี 2558. นนทบุรี: ภาพพิมพ์; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-03

How to Cite

ศิลารักษ์ ก., & นามวงศ์ ถ. (2024). การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไวรัสตับอักเสบบี จังหวัดยโสธร ปี พ.ศ. 2557-2559. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 48(49), 769–776. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/2281

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ