การระบาดของอหิวาตกโรคที่มีการดื้อต่อยาหลายชนิด จังหวัดระนอง ปี พ.ศ. 2554

ผู้แต่ง

  • ฬุจิศักดิ์ วรเดชวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • รัศมี ศรีชื่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง
  • ศุภกร พยุห์ โรงพยาบาลระนอง
  • มานิตา พรรณวดี สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • พรรณราย สมิตสุวรรณ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • กรรณิกา สุวรรณา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช
  • สมานศรี คำสมาน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช
  • ชุลีพร จิระพงษา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

อหิวาตกโรค, การระบาด, การดื้อยาหลายชนิด, ระนอง, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: เมื่อกลางเดือนกรกฏาคม 2554 สำนักระบาดวิทยาได้รับแจ้งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนองว่า พบผู้ป่วยอหิวาตกโรคในจังหวัดระนอง 1 ราย หลังจากนั้นทางสำนักระบาดวิทยาได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดทุกสัปดาห์ และยังพบการระบาดเกิดขึ้นอยู่ตลอด โดยตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมจนถึงกลางเดือนตุลาคม (รวม 13 สัปดาห์ มีจำนวนผู้ป่วยอหิวาตกโรค รวมทั้งสิ้น 96 ราย และยังคงพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำนักระบาดวิทยาจึงได้จัดแพทย์และนักวิชาการออกดำเนินการสอบสวนโรคร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช
วิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลผู้ป่วยอหิวาตกโรคจากรายงานเฝ้าระวังโรค 506 ในจังหวัดระนอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 - 2554 และข้อมูลผู้ป่วยจากแบบรายงานการสอบสวนโรคเฉพาะราย สำหรับนิยามผู้ป่วยอหิวาตกโรคในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดระนอง และมีอาการอุจจาระร่วงตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม 2554 และผลการตรวจเพาะเชื้อจากอุจจาระพบเชื้อ Vibrio cholerae 01 หรือ 0139 การตรวจทางห้องปฏิบัติการจะส่งตรวจอุจจาระเพื่อระบุเชื้อและหาความไวต่อยา ทำการสุ่มเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นอหิวาตกโรคหรือโรคอุจจาระร่วงในโรงพยาบาลระนอง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - พฤศจิกายน 2554 เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนการส่งตรวจ RSC และการใช้ยาปฏิชีวนะ ทำการคำนวนหาค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรักษาและการบริหารจัดการการระบาดในครั้งนี้
ผลการศึกษา: ระหว่างปี พ.ศ. 2546 - 2553 มีการรายงานผู้ป่วยอหิวาตกโรคในจังหวัดระนอง 5 ครั้ง และมีการระบาดครั้งใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.2550 การระบาดครั้งนี้มีลักษณะเป็น epidemic on top of endemic เชื้อที่พบในการศึกษาครั้งนี้ คือ Vibrio cholerae 01 El Tor Ogawa ซึ่งดื้อต่อยา1 Ampicilin, Doxycycline, Cotrimoxazole, Tetracycline และ Erythromycin การสุ่มเวชระเบียนจากโรงพยาบาลระนองจำนวน 343 ราย พบว่าเป็นผู้ป่วยอหิวาตกโรค 32 ราย ผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง 311 ราย พบว่า ทั้งผู้ป่วยอหิวาตกโรค และโรคอุจจาระร่วงมีสัดส่วนของการใช้ยาปฏิชีวนะมากกว่าร้อยละ 80 สัดส่วนของการส่งตรวจตัวอย่างอุจจาระเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 เป็น 75 ค่าใช้จ่ายประมาณการที่ใช้ในการรักษาและควบคุมการระบาดครั้งนี้ประมาณ 5,429,377 บาท
ข้อสรุป: อหิวาตกโรคเป็นโรคประจำถิ่นของจังหวัดระนอง และการระบาดครั้งนี้เป็นการระบาดครั้งใหญ่ที่มีการดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายชนิด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการดื้อต่อยามากขึ้นและช่วยลดค่าใช้จ่าย ควรมีการจำกัดการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่มีอาการขาดน้ำอย่างรุนแรง

References

สุริยะ คูหะรัตน์, บรรณาธิการ. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ; 2544.

Devid L. Heymann. Control of Communicable Diseases Manual. 19th Edition. Baltimore: American Public Health Association, 2008.

ธวัช จายนียโยธิน, ศุภชัย ฤกษ์งาม, ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์, จุทารัตน์ ถาวรนันท์. คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระ ร่วงอย่างแรง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2542.

World Health Organization. Guidelines for cholera control. Geneva: World Health Organization, 1993.

คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ (Database on the internet). กำหนดราคากลางของยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2553. เข้าถึงได้จาก http://www.thaifda.com/editor /data/files/ed/docs/70.PDF

กระทรวงสาธารณสุข (database n the internet). หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทนแนบท้าย ข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทน เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2552. เข้าถึงได้จาก http://www.thaicne.com/images/sub_1235439305/pol icy(5)_2552.pdf

Porta M, editor. A Dictionary of Epidemiology. 5th ed. New York: Oxford University Press Inc, 2008.

World Health Organization. Prevention and control of cholera outbreaks: WHO policy and recommendations, 2008.

J. C. L. MWANSA, et al. Multiply antibiotic-resistant Vibrio cholerae O1 biotype El Tor strains emerge during cholera outbreaks in Zambia. Epidemiol. Infect. (2007), 135, 847-53.

P. GARG, et al. Expanding multiple antibiotic resistance among clinical strains of Vibrio cholerae isolated from 1992-7 in Calcutta, India. Epidemiol. Infect. 2000; 124: 393-9.

O. Colin Stin, et al. Seasonal Cholera from Multiple Small Outbreaks, Rural Bangladesh. Emerging Infectious Diseases 2008; 14(5): 831-3.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28

How to Cite

วรเดชวิทยา ฬ., ศรีชื่น ร., พยุห์ ศ., พรรณวดี ม., สมิตสุวรรณ พ., สุวรรณา ก., คำสมาน ส., & จิระพงษา ช. (2024). การระบาดของอหิวาตกโรคที่มีการดื้อต่อยาหลายชนิด จังหวัดระนอง ปี พ.ศ. 2554. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 43(24), 369–376. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/2842

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ