การสอบสวนภาวะสะดืออักเสบในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลลำปาง เดือนกรกฎาคม 2555

ผู้แต่ง

  • ศณิษา ตันประเสริฐ เวชกรรมสังคม โรงพยาบาลลำปาง
  • ลัดดาวัลย์ ปราชญ์วิทยาการ งานควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลลำปาง
  • อรอนงค์ เกียล่น งานควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลลำปาง
  • พรเพ็ญ สุนันต๊ะ งานควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลลำปาง
  • ปิยพันธ์ ปิ่นประยูร งานควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลลำปาง

คำสำคัญ:

ภาวะสะดืออักเสบ, การติดเชื้อในโรงพยาบาล, ทารกแรกเกิด

บทคัดย่อ

บทนำ: เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2555 งานควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล ได้รับแจ้งจากหอผู้ป่วยสูติกรรมว่า พบทารก แรกเกิดที่มีภาวะสะดืออักเสบ จำนวน 6 ราย จึงร่วมกับพยาบาล ควบคุมโรคติดเชื้อในแผนกที่เกี่ยวข้อง สอบสวนโรคระหว่างวันที่ 18 - 27 กรกฎาคม 2555 เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค ทราบลักษณะทางระบาดวิทยาของการเกิดโรค และดำเนินมาตรการควบคุมป้องกันโรค
วิธีการ: การศึกษาเชิงพรรณนา โดยสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ ทบทวน กระบวนการตั้งแต่ทารกคลอดจนถึงจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล สำรวจสภาพแวดล้อมจากแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจเพาะเชื้อโรค
ผลการศึกษา: ทารกแรกเกิดที่มีภาวะสะดืออักเสบทั้งสิ้น 8 ราย คลอดโดยวิธีการผ่าตัดคลอด เชื้อที่พบส่วนใหญ่ (ร้อยละ 75) คือ Proteus Mirabiis ที่มีแบบแผนการไวต่อยาปฏิชีวนะคล้ายคลึงกัน มัธยฐานของระยะฟักตัว 3 วัน ทุกรายได้รับประทานยาปฏิชีวนะและ อาการดีขึ้นภายใน 3 -5 วัน จากการสังกต และทบทวนกระบวนการ ตั้งแต่ทารกคลอด จนถึงจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลพบว่ามีหลาย ขั้นตอนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อของสะดือทารกได้
สรุป: การศึกษานี้เป็นการรายงานการระบาดของภาวะสะดืออักเสบในทารกแรกเกิด ที่เกิดการระบาดในโรงพยาบาล ครั้งแรกในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาของโรงพยาบาลลำปาง งานควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลได้ทำการสอบสวนและดำเนินมาตรการควบคุมป้องกัน การระบาดของโรค และจากการติดตามสถานการณ์หลังจากการ สอบสวนโรคเป็นเวลา 2 เดือนไม่พบว่ามีทารกที่มีภาวะสะดืออักเสบเพิ่มเติม

References

Patrick G. Omphalitis. Medscape reference. [cited 17 September 2012] Available from: http://emedicine. medscape.com/article/975422-overview

Martin R. Fanaroff and Martin's Neonatal-Perinatal Medicine: Disease of the Fetus and Infant. 8th ed. Philadelphia: Mosby Elsevier; 2006.

Fraser N, Davies BW, Cusack J. Neonatal omphalitis: a review of its serious complications. Acta Paediatr. 2006 May; 95(5): 519-22.

Nelson J, Howard J. A prolonged nursery epidemic associated with a newly recognized type of group A Streptococcus. J Pediatr, 1996 Nov; 89(5): 792-6.

Zafar A, Butler R, Reese D, et al. Use of 0.3% triclosan to eradicate an outbreak of methicillin-resistant Staphylococcus aureus in a neonatal nursery. Am J Infect Control 1995(23): 200-8.

CDC/NHSN surveillance definition of healthcare associated infection and criteria for specific types of infections in the acute care setting 2012 [cited 17 September 2012]. Available from: http://www.cdc.gov/nhsn/pdfs/pscmanual/17pscnosinfdef_current.pdf

Sawardekar K. Changing spectrum of neonatal omphalitis. Pediatr Infect Dis J 2004(23): 22–6.

Struble. Proteus Infections 2011. [cited 29 September 2012]; Available from: http://emedicine.medscape.com/article/226434-overview

Brook I. Microbiology of necrotizing fasciitis associated with omphalitis in the newborn infant. J Perinatol. JanFeb 1998; 18(1): 28-30.

Luke C, Mullany, Joanne Katz, Risk Factors for Umbilical Cord Infection among Newborns of Southern Nepal American Journal of Epidemiology, 2006. 165(2): 203–11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-02

How to Cite

ตันประเสริฐ ศ., ปราชญ์วิทยาการ ล., เกียล่น อ., สุนันต๊ะ พ., & ปิ่นประยูร ป. (2024). การสอบสวนภาวะสะดืออักเสบในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลลำปาง เดือนกรกฎาคม 2555. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 43(39), 609–616. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/2887

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ