ความครอบคลุมของการตรวจจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน และความชุกของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในจังหวัดศรีสะเกษ ปี พ.ศ. 2553 - 2555

ผู้แต่ง

  • นิธิกุล เต็มเอี่ยม โรงพยาบาลศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ความชุกโรคเบาหวาน, ความชุกของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา, จังหวัดศรีสะเกษ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา จากข้อมูลสถิติของ WHO ปี พ.ศ. 2543 พบว่าทั่วโลกมีคน เป็นเบาหวาน 171 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 366 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2573 ประเทศไทยพบว่า โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น จาก ร้อยละ 2.3 ในปี พ.ศ. 2534 เป็น ร้อยละ 6.9 ในปี พ.ศ. 2552 และเมื่อผู้ป่วยเป็นเบาหวาน 15 ปี พบว่า มีปัญหาตาบอด ร้อยละ 2, มีปัญหาสายตาเลือนราง ร้อยละ 10 ดังนั้นเพื่อทราบปัญหาและขนาดของปัญหาของจังหวัดศรีสะเกษ จึงได้ทำการศึกษานี้เพื่อทราบความชุกของโรคเบาหวาน ความครอบคลุมของการตรวจจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานและความชุกของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในจังหวัดศรีสะเกษ ปี พ.ศ. 2553 - 2555 และทราบปัญหาการตรวจจอประสาทตาในอำเภอที่มีความครอบคลุมในการตรวจต่ำกว่า ร้อยละ 50
วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาย้อนหลัง (Retrospective descriptive study) ใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา ความชุกโรคเบาหวานในทุกกลุ่มอายุจังหวัดศรีสะเกษ ในปี พ.ศ. 2553, 2554 และ 2555 คือ ร้อยละ 1.95, 2.23 และ 2.21 ตามลำดับ จำนวนและความครอบคลุมของการตรวจจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน ปี พ.ศ. 2553 ความครอบคลุมของการตรวจตาไม่จำแนกชนิด ร้อยละ 79.46, ปี พ.ศ. 2554 ตรวจจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 23,38 7 ราย ความครอบคลุมการตรวจร้อยละ 79.80, ปี พ.ศ. 2555 ตรวจจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 21,220 คน ความครอบคลุม ร้อยละ 66.01 และพบความผิดปกติของจอประสาทตา ในปี พ.ศ. 2554 จำนวน 676 ราย ร้อยละ 2.16, ในปี พ.ศ. 2555 จำนวน 538 ราย ร้อยละ 2.97 เป็น mild NPDR ร้อยละ 2.18 moderate NPDR ร้อยละ 0.36 severe NPDR ร้อยละ 0.21 (รวม NPDR ร้อยละ 2.75) และ PDR ร้อยละ 0.22 ปัญหาที่ความครอบคลุมของการตรวจในอำเภอที่ความครอบคลุมต่ำกว่า ร้อยละ 50 คือ เป็นอำเภอขนาดใหญ่ ทำการตั้งรับในโรงพยาบาล ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้ยาก
สรุปและอภิปรายผล จังหวัดศรีสะเกษมีความชุกโรคเบาหวานในประชากรทุก กลุ่มอายุ ต่ำกว่าระดับประเทศค่อนข้างมาก หรือใกล้เคียงกับ ระดับประเทศเมื่อ 20 ปีก่อน ความชุกของภาวะเบาหวานขึ้นจอ ประสาทตาของจังหวัดศรีสะเกษ พบ NPDR ร้อยละ 2.75 และ PDR ร้อยละ 0.22 เมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาของประเทศไทยในพื้นที่ อื่น ๆ พบความชุกของ NPDR อยู่ระหว่าง ร้อยละ 12.00 - 27.27, PDR ร้อยละ 1.20 - 5.20 พบว่าความชุกต่ำกว่าในพื้นที่อื่น ๆ ถึง 5 - 10 เท่า อธิบายได้จากความครอบคลุมในการตรวจสูงถึง ร้อยละ 66.01 - 74.80 การแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่ความครอบคลุมในการตรวจไม่ถึง ร้อยละ 50 คือ เน้นการออกตรวจในเชิงรุกให้มากขึ้น

References

Sarah Wild, Gojka Roglic, Anders Green, Richard Sicree, Hilary King. Global Prevalence of Diabetes Estimate for the year 2000 and projections for 2030. Diabetes Care 2004;27(5):1047-53.

Ministry of Public Health. Thai Health Research Institute. Report of the second National Health Examination Survey in 1997. Nonthhaburi: Ministry of Public Health; 2000.

สํานักงานปลัดกระทรวง สํานักนโยบายและแผนยุทธศาสตร์. สาระสุขภาพ (ออนไลน์) 2554. [สืบค้นวันที่ 4 เมษายน 2555]; 4(25). เข้าถึงได้จาก http://www.moph.go.th/ops/thp/images/stories/Report_pics/Thai_Report/HighLight/Y54 /April/Issue_25.pdf

Aekplakorn W, Stolk RP, Neal B, Suriyawongpaisal P, Chongsuvivatwong V, Cheepudomwit S, Woodward M, for the interASIA Collaborative Group. The prevalence and management of diabetes in Thai adults: the International Collaborative Study of Cardiovascular Disease in Asia. Diabetes Care 2003; 26: 2758-63.

Nitiyanant W, Chandraprasert S, Puavilai G, Tandhanand S, for Diabetes Study Group of Thailand. A survey study on diabetes management in Thailand. J Asean Federation Endocr Soc 2001; 19: 35-41.

Hanutsaha P. Strategies used in Thailand for early detection of diabetic retinopathy. Thai J Public Health Ophthalmol 2001; 15: 167-71.

กรทิพย์ มิตรวงษา. งานวิจัยทางการแพทย์ เรื่อง อุบัติการณ์ การเกิดเบาหวานขึ้นจอประสาทตาของผู้ป่วยเบาหวานในจังหวัดมุกดาหาร (ออนไลน์). [สืบค้นวันที่ 4 เมษายน 2555]. เข้าถึงได้จาก http://www.mukhos.go.th/site/index.php?name=research&file=readresearch&id=6

อรสิริณ กิจดาวรุ่ง, ชยวิญญ์ ชจิตตานนท์, ชื่นฤทัย ยี่เขียน. ความชุก และปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอตาของผู้ป่ วยเบาหวานใน โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา. วารสารจักษุ ธรรมศาสตร์ 2554;6(2):17-23.

American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes. Diabetes Care 2004; 27 (Suppl 1); S15-35.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่ง ประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ;, สำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2554.

WHO. Prevention of blindness from diabetes mellitus: report of a WHO consultation in Geneva, Switzerland, 9 - 11 November 2005. Geneva, Switzerland: WHO; 2005.

Rawdaree P, Ngarmukos C, Deerochanawong C, Suwanwalaikorn S, Chetthakul T, Krittiyawong S, et al. Thailand diabetes registry (TDR) project: clinical status and long term vascular complications in diabetic patients. J Med Assoc Thai 2006 Aug;89 (Suppl 1) : S1-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-05

How to Cite

เต็มเอี่ยม น. (2024). ความครอบคลุมของการตรวจจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน และความชุกของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในจังหวัดศรีสะเกษ ปี พ.ศ. 2553 - 2555. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 44(4), 49–56. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/2935

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ

Similar Articles

You may also start an advanced similarity search for this article.