การสอบสวนการระบาดของโรคทรินสิส อำเภอปัว จังหวัดน่าน เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2555

ผู้แต่ง

  • ชรินทร์ ดีปินตา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน
  • ปารมี พรหมไขยวงค์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จังหวัดน่าน
  • เสถียร ปัทมวัฒน์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จังหวัดน่าน
  • นันธนัช เมฆแสน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน
  • สุดธนา ปัทมวัฒน์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน
  • มณูศิลป์ ศิริมาตย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน
  • ธนูศิลป์ สลีอ่อน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน

คำสำคัญ:

โรคทริคิโนสิส, เนื้อสุกรดิบ, อำเภอปัว, จังหวัดน่าน

บทคัดย่อ

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2555 สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดน่านได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว ว่าพบผู้ป่วยสงสัยโรคทริคิโนสิสหลายรายเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และเสียชีวิต 1 ราย จึงประสานงานทีมออกสอบสวนโรคโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค ค้นหาสาเหตุ แหล่งโรค สาเหตุของการติดเชื้อ และเพื่อกำหนดมาตรการในการควบคุมป้องกันโรค การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาระบาด วิทยาเชิงพรรณนา โดยรวบรวมข้อมูลการป่วย และประวัติเสี่ยงจากผู้ป่วยและญาติ เก็บตัวอย่างเลือดและชิ้นเนื้อจากผู้ป่วยส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และเก็บตัวอย่างเลือดสุกรในชุมชนส่งตรวจ ผลการศึกษา พบผู้ป่วย 20 ราย เสียชีวิต 2 ราย ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนา อยู่บ้านนาคำ ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยในทั้ง 20 ราย รายแรกเริ่มป่วยตั้งแต่ 21 เมษายน 2555 และรายสุดท้ายเริ่มป่วย วันที่ 7 พฤษภาคม 2555 แยกเป็นสัดส่วนชายต่อหญิงเท่ากับ 4 ต่อ 1 (16 ต่อ 4 ราย) อายุ เฉลี่ย 50.5 ปี (ช่วงอายุ 24 - 72 ปี) มีอาการปวดกล้ามเนื้อมากที่สุด ร้อยละ 95 อาการถ่ายเหลวเป็นน้ำ ร้อยละ 80 ไข้ ร้อยละ 75 ตาบวมหน้าบวม ร้อยละ 70 ผลการศึกษาบ่งว่าปัจจัยก่อโรคน่าจะเกิดจากการรับประทานลาบหรือส้าจากเนื้อสุกรดิบ ซึ่งเนื้อสุกรดังกล่าวได้มาจากการนำสุกรที่มีลักษณะผิดปกติมาซำแหละแบ่งขาย กันเองในหมู่บ้านโดยไม่ผ่านการตรวจของปศุสัตว์ ทีมสอบสวนได้ เสนอแนะให้มีการรณรงค์ให้ประชาชนบริโภคอาหารที่ปรุงสุกด้วยความร้อน พร้อมให้ข้อมูลเกี่ยวกับอันตราย และความรุนแรงของโรคที่จะเกิดจากการกินอาหารดิบ หรือ ดิบ ๆ สุก ๆ พร้อมประสาน หน่วยงานปศุสัตว์เพื่อเฝ้าระวังโรคและกำหนดให้มีการการตรวจ เนื้อสัตว์หลังการฆ่าเร่งรัดให้มีการบังคับใช้กฎหมายห้ามฆ่าและชำแหละสัตว์แบ่งขายในชุมชน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-05

How to Cite

ดีปินตา ช., พรหมไขยวงค์ ป., ปัทมวัฒน์ เ., เมฆแสน น., ปัทมวัฒน์ ส., ศิริมาตย์ ม., & สลีอ่อน ธ. (2024). การสอบสวนการระบาดของโรคทรินสิส อำเภอปัว จังหวัดน่าน เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2555. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 44(8), 113–128. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/2939

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ