การสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษในพื้นที่ตำบลบ้านซ่าน อำเภอศรีสำโรง สุโขทัย วันที่ 14 มิถุนายน - 14 กรกฎาคม 2555
คำสำคัญ:
อาหารเป็นพิษบทคัดย่อ
หลังจากที่ SRRT สวรรคโลก ได้รับแจ้งเรื่องเด็กนักเรียน ของโรงเรียน ก ที่เข้าค่ายเยาวชนต้านยาเสพติด มีอาการป่วยคล้าย อาหารเป็นพิษจำนวน 10 ราย จึงได้เข้าทำการสอบสวนด้วยวิธีการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา (Descriptive study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุ ปัจจัยการเกิดโรค และดำเนินการ ควบคุมโรค ได้ทำการรวบรวมข้อมูลและสัมภาษณ์ ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม โดยกำหนดนิยาม ผู้ป่วย หมายถึง นักเรียน บุคลากรในโรงเรียน ก หรือประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านซ่าน ที่ป่วยด้วย 2 อาการขึ้นไป ดังนี้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว หรือ ไข้ ระหว่าง วันที่ 14 มิถุนายน - 14 กรกฎาคม 2555 ทำการเก็บตัวอย่าง อาหารที่สงสัยส่งตรวจ สำรวจด้านสิ่งแวดล้อม ในโรงเรียน ก และ หมู่บ้าน และทำการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ (Cohort study) ในกลุ่มนักเรียนโรงเรียน ก ผลการศึกษา พบผู้ป่วยจำนวน 102 ราย จำแนกเป็นในชุมชน มีผู้ป่วย 16 ราย (ร้อยละ 15.79) และในโรงเรียน ก 86 คน (ร้อยละ 84.21) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการอาเจียนมากที่สุด ร้อยละ 91.17 รองลงมา ปวดท้อง ปวดศีรษะ ถ่ายเหลว และข้ ตามลำดับ ลักษณะการเกิดโรคแบบมีแหล่งโรคร่วม (Common source) อัตราป่วยสูงสุดในนักเรียนชั้นประถมที่ 5 (attack rate - 0.46) ไม่พบมีการป่วยในกลุ่มของครู นักการ และแม่ครัว ปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วยพบว่า การดื่มน้ำเย็นจากตู้ทำความเย็นมีความเสี่ยงต่อการป่วย (RR = 4.04 และ 95%CI = 2.40-6.80 ) ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันเชื้อก่อโรค คือ อาหาร, น้ำก๊อก, น้ำประปา และทำ rectal swab ในเด็กนักเรียน จำนวน 60 ตัวอย่าง ส่งตรวจหาเชื้อก่อโรคพบเชื้อ Shigella group B 1 ตัวอย่าง ในเด็กนักเรียนป่วยที่เข้าค่ายเยาวชนฯ และ เชื้อ Shigella group C 1 ตัวอย่าง ในเด็กนักเรียนป่วยที่ไม่ได้เข้าค่ายเยาวชนฯ และจากการตรวจสอบน้ำประปาและน้ำก๊อก โรงเรียนที่รับมาจากประปาหมู่บ้านหน่วยจ่ายที่ 1 ไม่พบการตกค้างของสารคลอรีน จึงสรุปว่าอาหารเป็นพิษในครั้งนี้ไม่สามารถระบุเชื้อก่อโรคได้แน่ชัด แต่ปัจจัยส่งเสริมน่าจะเกิดจากการบริโภคน้ำดื่มที่ไม่ได้มาตรฐาน
References
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานทางระบาดวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2542.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก. 2547.
ไพบูลย์ โล่สุนทร ระบาดวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร; โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
นฤมน คงทนและคณะ. ภัยในอาหาร. กรุงเทพมหานคร: สถาบันอาหาร; 13-15.
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข. คู่มือเรื่องมาตรฐานอนามัยสิ่งแวดล้อม (ด้านอากาศ น้ำ ดิน เสียง ความสั่นสะเทือน ความร้อน และความเข้มแสงสว่าง). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2552.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2013 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ