การศึกษาทบทวนอาการไม่พึงประสงค์ภายหลัได้รับวัคซีนป้องกันโรควัณโรค ในโรงพยาบาล 4 แห่ง ปี พ.ศ. 2551 - 2555
คำสำคัญ:
วัคซีนป้องกันวัณโรค, อาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบ, ระบบเฝ้าระวังเชิงรับ, กำกับติดตามความปลอดภัยของวัคซีนบทคัดย่อ
การใช้วัคซีนป้องกันวัณโรค (Bacillus Calmette-Guerin: BCG) เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญเพื่อป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในเด็กทารกและเด็กเล็ก โดยทั่วไปวัคซีนทุกชนิดนั้นมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง แต่ก็อาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนนั้นๆ ได้ ในเดือนพฤษภาคม 2555 สำนักระบาดวิทยาได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานครว่าสังเกตพบเด็กป่วยด้วยอาการ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (lymphadenitis) ภายหลังได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรค มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นผิดปกติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา สำนักระบาดวิทยาจึงได้ดำเนินการค้นหาผู้ป่วยอาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบภายหลังได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรคในโรงพยาบาล 4 แห่ง โดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในตามการวินิจฉัยรหัส ICD-10 TM จากผู้มารับบริการการรักษาที่โรงพยาบาลระหว่างปี พ.ศ. 2551 - 2555 และวิเคราะห์รายงานผู้ป่วยในระบบเฝ้าระวังอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่รายงานมายังสำนักระบาด วิทยาในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อนำข้อมูลที่ได้เสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยของการใช้วัคซีนป้องกันวัณโรคและการเฝ้าระวัง จากการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยอาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบภายหลังได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรคมากกว่าการรายงานในระบบเฝ้าระวังเชิงรับ 20 เท่า อัตราการเกิดอาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบมากกว่าอัตราที่จะเกิดได้ (expected rate) ในโรงพยาบาลหนึ่งแห่งในขณะที่ระบบเฝ้าระวังเชิงรับยังไม่สามารถตรวจจับความผิดปกติได้ ดังนั้นเพื่อให้ทราบสถานการณ์ความผิดปกติ และเกิดการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยของวัคซีน จึงควรพัฒนาระบบเฝ้าระวังเชิงรับให้สามารถตรวจจับความผิดปกติได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการวัคซีนและหน่วยงานที่กำกับติดตามความปลอดภัยของวัคซีน ควรมีการทบทวนหรือศึกษาข้อมูล ย้อนหลังหรือศึกษาไปข้างหน้าให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอาการภายหลังได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรค ให้กว้างขวางและลงลึกถึงสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เพื่อการกำหนดมาตรการการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังต่อไป
References
World Health Organization. Tuberculosis [internet]. 2013 [cited 2013 December 15]. Available from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs104/en/
Center for Disease Control. Tuberculosis (TB) [internet]. 2013 [cited 2013 December 15]. Available from: http://www.cdc.gov/tb/
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2556. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2556. หน้า 16-7.
World Health Organization. Tuberculosis [internet]. 2013 [cited 2013 December 15]. Available from: http://www.who.int/immunization/diseases/tuberculosis/en/
พิรังกูร เกิดพานิช. วัคซีนป้องกันวัณโรค. ใน: โอฬาร พรหมาลิขิต, อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์ และอุษา ทิสยากร, บรรณาธิการ. วัคซีน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท นพชัยการพิมพ์ จำกัด; 2554. หน้า 295-316.
สถานเสาวภา สภากาชาด. วัคซีนบีซีจี [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นวันที่ 17 พฤศจิกายน 2556]. เข้าถึงได้จาก http://www.saovabha.com/th/product_vaccine.asp?nTopic=1
Jamison D, Breman J, Measham A, Alleyne G, Claeson M, Evans D, et al. The World Bank Group. Disease Control Priorities in Developing Countries, Second Edition. 2006.
World Health Organization. Information Sheet Observed Rate of Adverse Reactions Bacille Calmette-Guerin (BCG) vaccine [internet]. 2013 [cite 2013 December 15]. Available from: http://www.who.int/vaccine_safety/initiative/tools/BCG_Vaccine_rates_information_sheet.pdf?ua=1
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. ตำราวัคชีนและการสร้าง เสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2556. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2556. หน้า 14-6.
Lotte A, Wasz-Hockert, Poisson N, et al. Second IUATLD study on complications induced by intradermal BCG - vaccination. Bulletin of the International Union against Tuberculosis and Lung Diseases 1988;63:47–59.
Milstien JB, Gibson JJ. Quality control of BCG vaccine by WHO: a review of factors that may influence vaccine effectiveness and safety. Bulletin of the World Health Organization 1990;68:93–108.
World Health Organization. Supplementary Information on Vaccine Safety: Part 2: Background Rates of Adverse Events Following Immunization. Geneva: 2000.
World Health Organization. Immunization safety surveillance: Guidelines for managers of immunization programmes on reporting and investigating adverse events following immunization. Manila: Regional Office for the Western Pacific; 1999. p 9-11.
Lotte A, Wasz-Hockert O, Poisson N, Dumitrescu N, Verron M, Couvet E. BCG Complications: estimates of risks among vaccinated subjects and statistical analysis of their main characteristics. Advance Tuberculosis Research 1984;21:107-93.
Ahmad F, Abu Zeid, Muna M Dahabreh. Bacille Calmette-Guerin Lymphadenitis: A single Center Experience. Journal of the Royal Medical Services 2010;4:64-7.
Mostafa B, Jamshid A. Post BCG Lymphadenitis in Vaccinated Infants in Yazd, Iran. Iran Journal Pediatric 2008;18:351-6.
De Souza GR, Sant’Anna CC, Lapa e Silva, Mano DB, Bethiem NM. Intradermal BCG Vaccination complication analysis of 51 cases. Tubercle 1983; 64(1):23-7.
Goraya JS, Virdi VS, Bacilli calmette - Guerin lymphadenitis. Postgraduate Medical Journal London 2002;78:327-9.
Caglayan S, Yegin O, Kayran K, et al. Is medical therapy effective for regional lymphadenitis following BCG vaccination? American Journal Disease in Children 1987;141:1213–4
The Advisory Council for the Elimination of Tuberculosis and the Advisory Committee on Immunization Practices. The role of BCG vaccine in the prevention and control of tuberculosis in the United State. MMWR Recommendation Report 1996; 45:1-18.
Teo SS, Smeulders N, Shingadia D. BCG Vaccine associated Suppurative Lymphadenitis. Vaccine 2005; 23:2676-9.
National Center for Biotechnology Information. Adverse events following BCG vaccination [Internet]. 2013 [cited 2013 December 20]. Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15686221
Kemp EB, Belshe RB, Hoft DF. Immune response stimulated by percutaneous and intradermal Bacilli Calmette - Guerin. Journal of Infectious Disease 1996;174:113-9.
Dommergues MA, Rocque F de La, Guy C, Lecuyer A, Jacquet A, Guerin N, et al. Local and regional adverse reaction to BCG-SSI vaccination: A 12 months cohort follow up study. Vaccine 2009; 27:6967-73.
ฉันทพัทธ์ พฤกษะวัน. การศึกษาเชิงพรรณนาการเกิดอาการ ภายหลังการได้วัคซีน BCG ในผู้ป่วยที่มารับการรักษาใน โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ปี พ.ศ. 2555. (เอกสารอัดสําเนา)
World Health Organization. Surveillance of adverse events following immunization: Field Guide for managers of immunization programmes. Geneva; 1997.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2014 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ