การประเมินระบบเฝ้าระวังกลุ่มโรคติดเชื้อเดงกี จังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ. 2555
คำสำคัญ:
ประเมินระบบเฝ้าระวัง, ไข้เลือดออก, จังหวัดนครปฐมบทคัดย่อ
โรคติดเชื้อเดงกี ได้แก่ ไข้เดงกีและไข้เลือดออกเดงกี จัดเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทยและ จังหวัดนครปฐม ถึงแม้ว่าที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขจะหาแนวทางยุทธศาสตร์ มาตรการ และวิธีการต่าง ๆ มาควบคุมโรค แต่ยังพบอัตราป่วยสูงทุกปี จังหวัดนครปฐมพบอัตราป่วยสูงทุกปี มีข้อสงสัยว่าความถูกต้องแม่นยำของระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกว่า ถูกต้องจริงหรือไม่ จึงมีการประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกทั้งในคุณลักษณะเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนการพัฒนาระบบข้อมูลการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก และนำไปกำหนดนโยบายและดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งวิธีการศึกษาและขั้นตอนการดำเนินงานมีการประชุมทีมงานวางแผนการรวบรวมข้อมูล ทำการศึกษาเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์ สอบถามและสังเกตขั้นตอนการทำงานส่วนเชิงปริมาณ โดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้านิยามการเฝ้าระวังที่เข้ารับ การรักษา ผลการศึกษาพบว่าทั้งในคุณลักษณะเชิงคุณภาพ พบว่าจังหวัดนครปฐมมีแนวทางปฏิบัติการเฝ้าระวังโรคและรายงานโรคที่การกำหนดขั้นตอนชัดเจน การรับแจ้งข่าวผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีการแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง การวินิจฉัยของแพทย์จะได้จากการซักประวัติอาการการสังเกตเป็นหลัก ร่วมกับผลการตรวจนับความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดเป็นแนวทางสำคัญ มีผู้ป่วยจำนวนน้อยรายที่จะได้รับการตรวจ tourniquet test ส่วนผลการศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณพบว่าความไวเมื่อใช้นิยามการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกของสำนักระบาดวิทยาสูง (ร้อยละ 94. 24) หากใช้นิยามตามการวินิจฉัยโดยแพทย์มีความไวสูง (ร้อยละ 96.29) หากพิจารณาในภาพรวมพบว่า ระบบการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกของจังหวัดนครปฐมอยู่ในเกณฑ์ดี ระบบสามารถตรวจจับ และเตือนภัยได้เร็ว ซึ่งจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงต่อการควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทันท่วงที
References
ศิริเพ็ญ กัลป์ยาณรุจ , สุจิตรา นิมมานนิตย์ และคณะ. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคข้เลือดออกในระดับโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป. สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์กรมการ แพทย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2548.
ดรุณี โพธิ์ศรี. รายงานการพัฒนางานระบาดวิทยาและบันทึกกิจกรรมด้านการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) สถิติ ข้อมูล โรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา จังหวัดนครปฐม ปี 2551-2552. จังหวัดนครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์, 2552.
ธนรักษ์ ผลิพัฒน์. แนวทางการประเมินระบบเฝ้าระวังทางสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : สำนักระบาดวิทยา กรม ควบคุมโรค, 2551.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. นิยามโรคติดเชื้อ ประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและ พัสดุภัณฑ์; 2546.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2014 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ