การบริหารจัดการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า: กรณีนำลูกสุนัขสัมผัสเชื้อเข้าในพื้นที่จังหวัด เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2554 ภายใต้เครือข่ายสุขภาพหนึ่งเดียว

ผู้แต่ง

  • มงคล ศรีจันทร์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่
  • สมพร พรวิเศษศิริกุล สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่
  • พฤทธิพล สุขป้อม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
  • ปราณี รอดเทียน สำนักงานปศุสัตว์เขต 5 จังหวัดเชียงใหม่
  • อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

สอบสวนโรค, โรคพิษสุนัขบ้า, ลูกสุนัขสัมผัสเชื้อ, เครือข่ายสุขภาพหนึ่งเดียว

บทคัดย่อ

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ได้รับแจ้งจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคเหนือตอนบน จังหวัดลำปางว่า ผลการตรวจหัวสุนัขหนึ่งตัวอย่างของอำเภอเมืองเชียงใหม่ ให้ผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้า ทีมเครือข่ายสุขภาพหนึ่งเดียว ได้ดำเนินการสอบสวน เพื่อหาสาเหตุแหล่งที่มาของการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า การค้นหาผู้สัมผัสโรคและสัตว์ที่สัมผัสโรค ร่วมวางแนวทางมาตรการควบคุมป้องกันเฝ้าระวังโรค ภายใต้การบริหารจัดการของเครือข่ายสุขภาพหนึ่งเดียว จากการสอบสวนพบว่า การเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในจังหวัดเชียงใหม่ครั้งนี้ มีสาเหตุจากการเคลื่อนย้ายลูกสุนัขที่สัมผัสเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ามาจากเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ช่วงเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ปี พ.ศ. 2554 การควบคุมโรคดำเนินการโดยแบ่งพื้นที่การจัดการออกเป็นสามระดับความเสี่ยง คือ สูง กลาง และต่ำ กำหนดตามระยะรัศมีรอบจุดเกิดโรคไม่เกิน 1, 1-3 และ 3-5 กิโลเมตรตามลำดับ ดำเนินการสร้างภูมิคุ้มโรคและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในแต่ละพื้นที่ตามความเหมาะสม สามารถควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญ คือ ไม่มีผู้ป่วยตายด้วยโรคพิษสุนัขบ้าจากผู้สัมผัส/ถูกกัดทั้งหมด 22 รายนั้น พบจำนวน 12 รายได้รับการตรวจและพบระดับภูมิคุ้มกันหลังรับวัคซีน (0.58 - 118.90 IU/ml สามารถป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทั้งหมดทุกราย ซึ่งผู้สัมผัส/ถูกกัดส่วนใหญ่เป็นอาสาสมัครชาวต่างประเทศ ส่วนในสัตว์พบว่าสุนัขที่มีอายุน้อยมีการตอบสนองต่ำต่อการฉีดวัคซีนเพียงครั้งเดียว การบริหารจัดการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าที่มีประสิทธิภาพ ควรประกอบไปด้วยการบูรณาการเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ควบคุมการเคลื่อนย้ายสุนัขอย่างเข้มงวดและจริงจัง การชันสูตรโรคในสัตว์ที่สงสัยว่าจะเป็นโรคพิษสุนัขข้าอย่างรวดเร็ว สร้างภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้าสูงสุด ครอบคลุมประชากรสุนัขและแมวในพื้นที่ โดยเฉพาะการฉีดวัคซีนกระตุ้นในสัตว์อายุน้อยกว่า 3 เดือน ตลอดทั้งการค้นหาสัตว์ผู้สัมผัสเชื้อให้ทั่วถึง และปฏิบัติตาม เวชปฏิบัติที่ครบถ้วน

References

สิริกร เค้าภูไทย. เตือนภัยโรคพิษสุนัขบ้า. สำนักพัฒนาระบบ ข้อมูลข่ายสาสุขภาพ; 2555. [สืบคันวันที่ 29 ธันวาคม 2555]. เข้าถึงได้จาก http://www.hiso.or.th/hiso/tonkit /tonkits_9.php

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าสหัสวรรษใหม่ของการสาธารณสุขและการจัดการโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย. การสัมมนาวิชาการของกรมควบคุมโรค ประจำปี 2544.

ปราณี พาณิชย์พงษ์. การควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของกรมปศุสัตว์. โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2546. หน้า 72-9.

สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ. โรคที่สำคัญในสัตว์โรคพิษสุนัขบ้า. 2556. [สืบค้นวันที่ 19 มิถุนายน 2557]. เข้าถึงได้จาก http://niah.dld.go.th/th/AnimalDisease/indexAnimalDisease.html

กรมควบคุมโรคและกรมปศุสัตว์. แผนยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปภายใน พ.ศ. 2563 (ค.ศ.2020). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ; 2552.

Puanghat A, Hoonsuwan W. Rabies Situation in Thailand. J Med Assoc Thai 2005; 88:1319 -22.

สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์. แบบฟอร์มการสอบสวนโรคพิษสุนัขบ้า; 2555. [สืบค้นวันที่ 25 มีนาคม 2555]. เข้าถึงได้จาก http://dcontrol.dld.go.th/th/index.php/download.html?start=30

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. แนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้า และคำถามที่พบบ่อย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2555. หน้า 12 - 23.

OIE. Rabies. 2013 [cited 2014 June 3]. Available from: http://www.oie.int/fileadmin/Home/fr/Health_ standards/tahm/2.01.13_RABIES.pdf

Kaplan MM, Koprowski H. Laboratory Techniques in Rabies. 3rd ed. Geneva: World Health Organization; 1973. p. 71-119.

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่. สรุปผลการปฏิบัติงานของกลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ ประจำปีงบประมาณ 2554; 2555. หน้า 15 - 20.

Lackay SN, Kuang Y, Fu ZF. Rabies in small animals. Vet Clin North Am Small Anim Pract 2008;38(4):851-6.

ธีรพงศ์ ยืนยงโอฬาร. ระบาดวิทยาโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2549-2554. 2556 [สืบค้นวันที่ 24 กรกฎาคม 2556]. เข้าถึงได้จาก http://dcontrol.dld.go.th/index.php/km/resease/2503-document-2549- 2554.html

Re-infected Rabies; 2006. [cited 2014 June 3]. Available from: http://www.defra.gov.uk/animaldiseases/a-z/rabies/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-10

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ