การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก และโรคติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2555

ผู้แต่ง

  • สิริลักษณ์ รังษีวงศ์ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • ดารินทร์ อารีย์โชคชัย สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

Hand, foot and mouth disease, enterovirus, evaluation of surveillance, Thailand

บทคัดย่อ

โรคมือ เท้า ปาก และโรคติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร ถูกจัดให้เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ในปี พ.ศ. 2555 เกิดการระบาดในหลายประเทศ ทั้งประเทศไทย กัมพูชา และเวียดนาม ทำให้ประเทศไทยมีการปรับนิยามการเฝ้าระวังและแนวทางการสอบสวนโรคให้ครอบคลุมผู้ป่วยมากขึ้น สำนักระบาดวิทยาร่วมกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12 ดำเนินการประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก และโรคติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร เพื่อให้ทราบสถานการณ์และลักษณะทางระบาดวิทยาของผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก และโรคติดเชื้อไวรัสเอนเทอโรที่มารับกรรักษาที่โรงพยาบาล และทำให้ทราบขั้นตอนการรายงานจากโรงพยาบาล คุณลักษณะที่สำคัญของระบบเฝ้าระวัง เพื่อนำผลที่ได้ไปปรับปรุงระบบเฝ้าระวังให้ดียิ่งขึ้น ทำการศึกษาแบบภาคตัดขวาง คุณลักษณะของระบบเฝ้าระวังในเชิงปริมาณ ได้แก่ ความไว ค่าพยากรณ์วก ความถูกต้อง ความเป็นตัวแทน และความทันเวลา และคุณลักษณะเชิงคุณภาพ ได้แก่ การยอมรับ ความยากง่าย ความยืดหยุ่น ความยั่งยืน และการใช้ประโยชน์จากระบบเฝ้าระวัง โดยเลือกจังหวัดที่ทำการประเมินระบบฝ้าระวังฯ ตามพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคๆ ละ 1 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี ลพบุรี ระยอง กาญจนบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น ยโสธร กำแพงเพชร สุโขทัย ลำปาง นครศรีธรรมราช และสงขลา ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลและได้รับการวินิจฉัยโรคในรหัสการวินิจฉัย (ICD 10 - โTM) ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2555 ผลการศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณพบว่า ความไวของการรายงานร้อยละ 46.5 ค่าพยากรณ์บวกร้อยละ 88 ความทันเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยจนถึงส่งรายงานพบว่าส่วนใหญ่ทันเวลา ( - 3 วัน) ร้อยละ 86.0 สำหรับเชิงคุณภาพพบว่า มีแนวทางการดำเนินงานระบบฝ้าระวังชัดเจนเหมือนโรคอื่นๆ เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือในระบบเฝ้าระวังเป็นอย่างดี ระบบมีความง่ายไม่ซับซ้อน แต่หากมีการปรับรหัสการรายงานโรคหรือปรับโปรแกรมต้องอาศัยบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ทำให้การปรับเปลี่ยนระบบล่าช้า ผู้ป่วยบางส่วนไม่ได้รายงานเข้าสู่ระบบเฝ้าระวังฯ เนื่องจากการให้รหัสการวินิจฉัย (ICD 10 - TM) ผิดพลาดและการลงรหัสการวินิจฉัย (ICD 10 - TM) ในผู้ป่วยที่มารับกรรักษานอกเวลาราชการ รวมทั้งผู้ป่วยในล่าช้ามีการนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ สถานการณ์และแนวโน้มการเกิดโรค และการวางแผ่นการป้องกันควบคุมโรค ข้อเสนอแนะควรเพิ่มโรค severe enterovirus infection ในรายงาน 506 โดยอาจให้รายงานเป็นรหัสเดียวกับโรคมือ เท้า ปาก ควรมีการทบทวนนิยามการรายงานโรคมือ เท้า ปาก และโรคติดเชื้อไวรัสเอนเทอโรให้แก่ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจให้ถูกต้องตรงกัน เพื่อจะได้มีการรายงานเข้าสู่ระบบเฝ้าระวังครอบคลุมและถูกต้องต่อไป

References

สำนักระบาดวิทยา. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546.

Global Alert and Response. “Severe complications of hand, foot and mouth disease (HFMD) caused by EV- 71 in Cambodia – conclusion of the joint investigation”, World Health Organization, 2013-6- 28. [Cited 2013 June 28] Available from: http://www.who.int/csr/don/2012_07_13/en/7113.html

Thanhniennews [Internet]. HFMD in Vietnam plagued by most harmful virus strain. [updated 2012 June 01; cited 2013 June 28]. Available from: http://www.thanhniennews.com/health/hfmd-in-vietnam-plagued-by-most-harmful-virus-strain-7113.html

สำนักระบาดวิทยา. รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506 โรคมือ เท้า ปาก [อินเตอร์เน็ต). 2556 [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2556]. เข้าถึงได้จาก http:/www.boe.moph.go.th/

สำนักระบาดวิทยา. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนรายงานโรค และป้องกันควบคุมโรค กรณีสงสัยติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ที่มีอาการรุนแรง และการระบาดของโรค มือ เท้า ปาก สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (ปรับปรุง ณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2555). 2555 [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2556]. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/files/urgent/nawtangtan1.pdf

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12 และ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. รายงานการประเมินระบบเฝ้าระวัง โรคมือ เท้า ปาก และโรคติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร ประเทศไทย พ.ศ. 2555 [ออนไลน์). [สืบค้นวันที่ 28 มิถุนายน 2556]. เข้าถึงได้ จาก http:/www.boe.moph.go.th/

ธนรักษ์ ผลิพัฒน์. แนวทางการประเมินระบบเฝ้าระวังทางสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : สำนักระบาดวิทยา กรม ควบคุมโรค, 2551.

วิทยา วัฒนเรืองโกวิท, สมพร จันทร์แก้ว. การประเมินระบบการเฝ้าระวังของกลุ่มโรคไข้เลือดออก อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ปี พ.ศ. 2553. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2554; S53-6.

กรรณิกา สุวรรณา. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก จังหวัดนครศรีธรรมราช ปี พ.ศ. 2552. ร้ายงานเฝ้าระวังทาง ระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2554; 42: 36-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-10

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ