การจัดทำแผนรับมือการระบาดโรคไข้หวัดนก จากการซ้อมแผนปฏิบัติการภาคสนาม จังหวัดพังงา ปี พ.ศ. 2551 - 2556

ผู้แต่ง

  • วรยศ ผลแก้ว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา จังหวัดพังงา
  • วิศรุต จิระสุทัศน์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพังงา จังหวัดพังงา
  • พงนุช จตุราบัณฑิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา จังหวัดพังงา
  • สุดใจ จตุราบัณฑิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา จังหวัดพังงา
  • ธวัชชัย เปล้าคูหา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา จังหวัดพังงา
  • โอภาส คันธานนท์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา จังหวัดพังงา

คำสำคัญ:

การซ้อมแผนปฏิบัติการจริง, โรคไข้หวัดนก

บทคัดย่อ

การซ้อมแผนปฏิบัติการจริงภาคสนาม เพื่อจัดทำแผนรับมือการระบาดของโรคข้หวัดนกจังหวัดพังงา ปี พ.ศ. 2551-2556 เป็นการประเมินความก้าวหน้าในการดำเนินงาน (Formative Evaluation) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลศึกษารูปแบบความร่วมมือ และพัฒนาศักยภาพบุคลากรและความเข้มแข็งของหน่วยงานพหุภาคี ในการเตรียมความพร้อมรับมือการระบาดของโรคไข้หวัดนกในจังหวัดพังงา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551-2556 โดยรวบรวมผลการดำเนินการและรูปแบบ ในการซ้อมแผนปฏิบัติการจริงภาคสนามในแต่ละอำเภอ ซึ่งเป็นการสร้างสถานการณ์สมมติขึ้น โดยไม่แจ้งให้ผู้ทำการซ้อมแผนได้ทราบสถานการณ์ล่วงหน้า และให้มีการดำเนินกิจกรรมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติภาคสนามจริงตามสถานการณ์ที่กำหนดไว้ จากการประเมินผลด้วยการสังเกตการณ์ของผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เช่น แพทย์ พยาบาล สัตว์แพทย์ ฯลฯ ตามแนวทางในการป้องกันควบคุมโรคทั้งในคนและสัตว์ การรักษาพยาบาลผู้ป่วย ผู้สัมผัส พบว่าจุดเด่นในการซ้อมแผนฯ คือ 1) การเตรียมความพร้อมรับการระบาดของโรค ระบบสั่งการการกำกับดูแล 2) การเฝ้าระวังและสอบสวนโรค การประเมินความเสี่ยงในพื้นที่ทั้งในคนและสัตว์ 3) บุคลากรมีการพัฒนาทักษะ มีประสบการณ์ในการดำเนินการ การควบคุมการเคลื่อนย้าย และทำลายซากสัตว์ การประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้แก่ประชาชน การประกาศเป็นพื้นที่เสี่ยงภัย และจากการซ้อมแผนฯ พบจุดอ่อน คือ 1) ในด้านการสื่อสารในพื้นที่ เช่น ไม่มีคลื่นสัญญาณโทรศัพท์ และวิทยุสื่อสาร 2) ด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วย เช่น การทำความสะอาดรถส่งต่อผู้ป่วย และการจัดการวัสดุอุปกรณ์ที่ปนเปื้อนเชื้อหลังเสร็จสิ้นภารกิจ ซึ่งผล จากการซ้อมแผนฯ จึงสรุปเป็นแผนผังการดำเนินการเฝ้าระวังผู้ป่วย ผู้สงสัย ผู้สัมผัสสัตว์ปีกป่วยตาย ในระดับอำเภอ จังหวัดพังงา เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคทั้งในคนและสัตว์ นอกจากนั้นยังทำให้มีการประสานความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหน่วยงานหลักอย่างสาธารณสุขและปศุสัตว์ ในการแก้ไขจุดบกพร่องในการดำเนินการเพื่อเตรียมพร้อมรับกับโรคระบาดของโรคติดต่อระหว่างคนและสัตว์ต่อไป

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปบทเรียนการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกและการเตรียมความพร้อมรับการระบาด ใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ของกระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. 2547 - 2550). นนทบุรี: 2551. 246 หน้า.

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพังงา. โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมทั้งเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในระยะยาว. 2549. 25 หน้า. (เอกสารอัดสำเนา)

คณะกรรมการป้องกัน ควบคุม แก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก และการเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่. แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ปัญหาการระบาดของไข้หวัดใหญ่ (พ.ศ.2548-2550). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2548. 96 หน้า.

คณะกรรมการป้องกัน ควบคุม แก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก และการเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่. แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ปัญหา การระบาดของไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551 - 2553). พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2550. 111 หน้า.

กลุ่มพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา. ลักษณะประชากรจังหวัดพังงา ปี 2555. เอกสารอัดสำเนา. 2555. 89 หน้า .

กลุ่มพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพังงา. สรุปผลการปฏิบัติงานประจำปี 2555 สำนักงานปศุสัตว์ จังหวัดพังงา. 2556. 36 หน้า. (เอกสารอัดสำเนา)

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังเหตุการณ์ของ SRRT เครือข่ายระดับตำบล. พิมพ์ครั้ง ที่ 1. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2555. 174 หน้า.

คณะกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติงานโรคไข้หวัดนก. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรง พิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2548. 160 หน้า.

สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย และการดูแลรักษาผู้ป่วยไข้หวัดนก/ไข้หวัดใหญ่ ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร; 2551. 38 หน้า.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-10

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ