การสอบสวนการระบาดของโรคคอตีบ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เดือนสิงหาคม - กันยายน 2556

ผู้แต่ง

  • นภัทร วัชราภรณ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ศิริมา ธนานันท์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • พัชรี รอดสวัสดิ์ ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 17 ประชานิเวศน์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
  • พิมพ์จิกานต์ ม่วงศรี กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
  • โรม บัวทอง สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

คอตีบ, ระบาด, นักเรียน, ชุมชน, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

กรุงเทพมหานคร ปลอดโรคคอตีบมานาน 6 ปี ก่อนที่จะมี รายงานการระบาดของโรคคอตีบครั้งนี้ในเขตจตุจักร เมื่อเดือนสิงหาคม 2556 โดยการสอบสวนการระบาดดำเนินการระหว่าง วันที่ 27 สิงหาคม - 18 กันยายน 2556 มีวัตถุประสงค์ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมเพื่อประเมินขอบเขตการระบาด และดำเนินมาตรการควบคุมโรคประกอบด้วยการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา การศึกษาทางห้องปฏิบัติการสำรวจสภาพแวดล้อมที่บ้าน ชุมชน โรงเรียน การค้นหาผู้ป่วยและผู้สัมผัส เก็บข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องโดยการสัมภาษณ์ ทบทวนเวชระเบียน และบันทึกลงในแบบสอบสวน ผลการสอบสวนพบผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย เป็นเด็กหญิงสัญชาติไทย อายุ 2 ปี 4 เดือน เสียชีวิตจากการติดเชื้อ Corynebacterium diphtheriae ชนิดสร้าง toxin มีพาหะที่พบในครอบครัวและชุมชนรวม 7 ราย ทั้งหมดเป็นเด็กมีอายุระหว่าง 4 - 10 ปี ผู้ป่วยและพาหะ 3 ราย เป็นพี่น้องกัน พักอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน ส่วนพาหะอีก 1 ราย เป็นญาติและเป็นเพื่อนเล่นด้วยกัน ในจำนวนพาหะ 4 รายนี้ มีอยู่ 3 รายที่มีประวัติไม่ได้รับวัคซีน DPT, OPV โดยมีเพียง 1 รายที่ได้รับวัคซีนครบ ส่วนพาหะที่เหลืออีก 3 รายเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดกับพาหะที่อยู่ในชุมชนเดียวกันกับผู้ป่วย และมีประวัติการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ จากการสำรวจอย่างเร็วเรื่องความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนโรคคอตีบในเด็ก 83 คน ในพื้นที่ที่พบการระบาด พบว่า เด็กได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ 23 คน คิดเป็นความครอบคลุมเท่ากับร้อยละ 72.29 มาตรการสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของโรคคอตีบครั้งนี้ ได้แก่ การให้ความรู้แก่ ครู นักเรียนและผู้ปกครองในโรงเรียนที่พบผู้ป่วยจำนวน 3 โรงเรียน พร้อมทั้งฉีดวัคนป้องกันโรคคอตีบให้กับเด็กทั้งหมด 1,430 ราย ภายในเวลาเพียง 2สัปดาห์ ภายหลังจากพบผู้ป่วยรายแรก ส่งผลทำให้การระบาดสงบลงและไม่พบผู้ป่วยรุ่นที่ 2 ในพื้นที่

References

กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. รายงานการเฝ้า ระวังโรคคอตีบในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2541-2555. (เอกสาร อัดสำเนา)

สำนักระบาดวิทยา. แนวทางการดำเนินงานเมื่อพบผู้ป่วยสงสัยคอตีบ และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ฉบับปรับแก้ไขตุลาคม 2556 [อินเตอร์เน็ต]. 2556 [สืบค้นวันที่ 25 มกราคม 25571. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/getFile.php?fid=358

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ. หลักสูตรเชิงปฏิบัติการสำหรับเจ้าหน้าที่สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค. นนทบุรี: บริษัทเลคแอนด์ ฟาวด์เทน พริ้นติ้ง จำกัด; 2555.

สิริลักษณ์ รังษีวงศ์, พจมาน ศิริอารยาภรณ์. สถานการณ์การระบาดของโรคคอตีบ ปี พ.ศ. 2555 และข้อเสนอแนะ. รายงานการเฝ้าระวังทาง ระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2556;44:1-8.

อุทิศศักดิ์ หริรัตนกุล, จริยา นราธิปภัทร. การสอบสวนการระบาดของโรคคอตีบ จังหวัดนราธิวาส เดือนตุลาคม 2553 - มีนาคม 2554. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2555:43:65-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-12

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ