การสอบสวนผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรคแต่กำเนิด ตำบลทุ่งมะพร้าว อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา วันที่ 4 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2557
คำสำคัญ:
Congenital Tuberculosis, Quantiferron TB-Gold, Acid fast bacilliบทคัดย่อ
การสอบสวนผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรคแต่กำเนิด เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ และรักษาผู้สัมผัสใกล้ชิด ศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงทั้งด้านบุคคลและสิ่งแวดล้อม และควบคุมป้องกันการแพร่กระจายโรคเนื่องจาก วันที่ 2 มกราคม 2557 งานระบาดวิทยาโรงพยาบาลพังงา ได้รับรายงานจากหอผู้ป่วยหนัก พบผู้ป่วยวัณโรคเสมหะพบเชื้อ 1 ราย เป็นเด็กไทย เพศหญิง อายุ 28 วัน เข้ารับการรักษาโดยใส่ท่อช่วยหายใจ จึงออกสอบสวนโรค ร่วมกับทีม SRRT โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอินทนิน และ SRRT สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แพทย์ พยาบาล บิดา มารดา และผู้สัมผัสร่วมบ้าน ทบทวนเวชระเบียนและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมโดยเก็บเสมหะตรวจหา AFB เอกซเรย์ทรวงอกที่โรงพยาบาลพังงา เก็บตัวอย่างเลือดของมารดาผู้ป่วยส่งตรวจโดย วิธี ELISA ด้วยชุดตรวจ Quantiferron TB-Gold ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลการศึกษาพบผู้ป่วยยืนยันวัณโรคเสมหะพบเชื้อ 1 ราย โดยผลการตรวจเสมหะจากท่อหลอดลมคอ พบเชื้อ AFB1เป็นเวลา 3 วัน ร่วมกับมีผลเอกซเรย์ปอดผิดปกติที่เข้าได้กับวัณโรค reticulonodular infiltration (Right>Left) และตรวจเลือดพบค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ บ่งชี้ว่ามีพยาธิสภาพของโรคเกิดขึ้นที่เซลล์ตับร่วมด้วยการเพาะเชื้อจากเลือด ปัสสาวะ และน้ำไขสันหลัง น้ำล้างกระเพาะอาหารเพื่อหาเชื้อวัณโรค ไม่พบความผิดปกติ การทดสอบอื่นๆ เป็นลบทั้งหมด และตรวจระบบอื่นปกติ ได้รับการวินิจฉัย Congenital tuberculosis ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและยาต้านวัณโรค Category 1 สอบสวนผู้สัมผัสร่วมบ้าน 4 ราย พบ 1 ราย มีการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง (Latent tuberculosis infection) คือ มารดาผู้ป่วย โดยมีผลเอกซเรย์ปอดพบรอยโรคที่ปอดส่วนล่างทั้งสองข้าง Right lower lobe Infiltration with bilateral pleural effusion ร่วมกับมีผลตรวจเลือดให้ผลบวก โดยวิธี ELISA ด้วยชุดตรวจ Quantiferron TB - Gold ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยวัณโรคเยื่อหุ้มปอดและยาต้านวัณโรค Category1 สิ่งแวดล้อมบ้านผู้ป่วยค่อนข้างสะอาดเป็นระเบียบ ติดตามสังเกตอาการผู้สัมผัสร่วมบ้านไม่พบผู้ป่วยสงสัยวัณโรคเพิ่มเติม พฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดโรคในผู้ป่วยครั้งนี้ น่าจะเกิดจากการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงของมารดาในระยะตั้งครรภ์และมีการถ่ายทอดเชื้อทางกระแสเลือดจากแม่สู่ลูก มาตรการควบคุมโรคและเฝ้าระวังโรคที่ดำเนินการแล้ว คือ การแยกผู้ป่วย การทำการ รักษาโดยเน้นให้ผู้ป่วยกินยาต่อเนื่อง ให้กำลังใจและจัดสิ่งแวดล้อมในบ้าน ข้อเสนอแนะในการดูแลรักษาวัณโรครายใหม่ชนิดเสมหะ พบเชื้อ ทุกรายควรมีการตรวจคัดกรองในผู้สัมผัสร่วมบ้านในหญิงระยะตั้งครรภ์ทุกราย เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยและรักษาทันที โดยเน้นการกินยาต่อหน้า (DOTS) เพื่อเพิ่มอัตราการรักษาหายขาดของผู้ป่วยและลดการแพร่เชื้อวัณโรคสู่ชุมชน
References
ทวี โชติพิทยสุนนท์. วัณโรคในเด็ก ปัญหาในการวินิจฉัย. ใน อังกูร เดพานิช, รังสิมา โล่ห์เลขา, วีระชัย วัฒนวีระเดช, ทวี โชติพิทยสุ นนท์ บรรณาธิการ. Update on Pediatric infectious Disease 2007. กรุงเทพมหาคร; บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด; 2550:131-41.
กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรค แห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอน ดีไซน์; 2549.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยาม โรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย. กระทรวงสาธารณสุข.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ; องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546.
พิรั่งกูร เกิดพานิช, เพณนินาร์ โอเบอร์ดอร์เฟอร์, กุลกัญญา โชค ไพบูลย์กิจ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการวินิจฉัยและการรักษาวัณโรคระยะแฝงในเด็ก.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค; 2553.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สมาคมปราบ วัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชปถัมภ์. สมาคมอุรเวชชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาวัณโรคในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2555. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ; โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย ; 2555.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2014 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ