การสอบสวนโรคทริคิโนซิส อำเภองาว จังหวัดลำปาง เดือนสิงหาคม 2557
คำสำคัญ:
โรคทริคิโนชิส, เนื้อสุกร, หลัก 5 ประการสู่อาหารปลอดภัยขององค์การอนามัยโลกบทคัดย่อ
เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2557 สำนักระบาดวิทยา ได้รับแจ้งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปางว่า มีโรคอาหารเป็นพิษสงสัยเป็นการระบาดของโรคทริคิโนชิส ในพื้นที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง จึงแจ้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของสำนักระบาดวิทยา เพื่อร่วมสอบสวนโรคยืนยันการวินิจฉัย และการระบาดของโรคอธิบายลักษณะทางระบาดวิทยาของโรค ค้นหาสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งเสนอแนวทางในการควบคุมป้องกันโรค ทำการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยทบทวนข้อมูลผู้ป่วยที่มารับการรักษา จาก ICD 10 ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม โดยใช้นิยามผู้ป่วย หมายถึง ผู้ที่มีอาการอย่างน้อย 2 อาการ จากอาการ ไข้ เปลือกตาหรือใบหน้าบวม และปวดกล้ามเนื้อ ร่วมกับมีประวัติกินเนื้อสุกรพันธุ์พื้นเมือง และเป็นชาวบ้านที่อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านบ้านบ่อสี่เหลี่ยม อำเภองาว จังหวัด ลำปาง ระหว่างเดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2557 เก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการและสำรวจสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษา พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 30 ราย เส้นโค้งการระบาด (Epidemic curve) พบเป็น แหล่งโรคร่วม มีค่ามัธยฐานของระยะฟักตัว 5 สัปดาห์ ผู้ป่วยมีประวัติเสี่ยงจากพฤติกรรมกินเนื้อสุกร สุก ๆ ดิบๆ (ร้อยละ 83.33) ตรวจพบพยาธิ Trichinella spp. ในกล้ามเนื้อผู้ป่วย 1 ราย และใน เนื้อหมูที่บริโภคในหมู่บ้าน 2 ตัวอย่าง และพบแอนติบอดีต่อพยาธิฯ จากซีรั่มผู้ป่วย 9 ราย ซีรั่มสุนัข 5 ตัว สุกรพันธุ์พื้นเมือง และแมว อย่างละ 1 ตัว ตามลำดับ สรุปผลการศึกษายืนยันว่า การระบาดครั้งนี้เป็นการระบาดของโรคทริคิโนชิส ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบพยาธิในกล้ามเนื้อผู้ป่วย 1 ราย โดยมี สุกร สุนัข และแมว เป็นรังโรค ปัจจัยเสี่ยงเกิดจากการกินเนื้อสุกรสุก ๆ ดิบ ๆ เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขควรให้สุขศึกษาแก่ประชาชนตามหลัก 5 ประการสู่อาหารปลอดภัยขององค์การอนามัยโลก เพื่อป้องกันการระบาดของโรคในอนาคต
References
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546.
จันทพร ทานนท์, ธีรศักดิ์ ชักนำ. โรคทริคิโนซิส (Trichinosis). ใน ภาสกร อัครเสวี, บรรณาธิการ. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย; 2554. หน้า 59.
ธีรศักดิ์ ชักนำ. โรคทริคิโนซิส (Trichinosis). ใน ภาสกรอัครสวี, บรรณาธิการ.สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2554. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2555. หน้า 53.
ธีรศักดิ์ ชักนำ. โรคทริคิโนชิส (Trichinosis). ใน ภาสกร อัครเสวี, บรรณาธิการ.สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2555 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556. หน้า 72-3.
ธีรศักดิ์ ชักนำ. โรคทริคิโนซิส (Trichinosis). ใน ธนรักษ์ ผลิพัฒน์, บรรณาธิการ. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2556. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย; 2557. หน้า 68-9.
นฤมล ศิลารักษ์. รายงานการสอบสวนโรคทริคิโนชิส อำเภอ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย วันที่ 21 - 24 เมษายน 2535. รายงานการเฝ้าระวังโรคประจำสัปดาห์ 2535323:534-5.
อุบล เพ็ชรายุทธ, ราณี เชาวนปรีชา, เพลินจันทร์ เรืองวิรุฬ, สุธาสินี พารัตน์, พิศิษฐ์ พวงมาก, คนึงนิตย์ บุญมี. รายงานการ สอบสวนโรคทริคิโนชิส บ้านห้วยน้อยกา หมู่ 1 ตำบลม่วงเจ็ด ต้น อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์. รายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำสัปดาห์ 2539;27:37-51.
สถาบันพัฒนานักระบาดวิทยา กองระบาดวิทยา กระทรวง สาธารณสุข. รายงานเบื้องต้นผลการสอบสวนของโรคทริคิโนซิส จังหวัดเชียงราย. ร้ายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำ สัปดาห์ 2545;33(4):46-7.
วีรยุทธ ชัยพรสุไพศาล และคณะ. รายงานการสอบสวนโรคทริคิโนชิส (Trichinosis) จังหวัดเชียงราย. รายงานสถานการณ์การ เฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยาเร่งด่วน 2545;5(42):671-2.
สถาบันพัฒนานักระบาดวิทยา กองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. รายงานเบื้องต้นผลการสอบสวนของโรคทริคิโนซิส จังหวัดพะเยา. รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2545;33:47-8.
สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. รายงานการสอบสวนโรคเบื้องต้นกรณีโรคทริคิโนซิส จากจังหวัดหนองบัวลำภู และหนองคาย, รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2547;35(22):369-71.
เชาวลิต คุ้มจุ้ย, มุทิตะ ชลามาตย์, การุณ ชนะชัย, ชวณี สิน ทวงศานนท์, ประวิทย์ ชุมเกษียร. การระบาดของโรคทริคิโนชิสในจังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. 2549. รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2551;39:57-61.
พิสิษฐวุฒิ อยุทธ์ และ คณะ. การระบาดของโรคทริคิโนชิส อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เดือนมีนาคม 2552. รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2554;42:564-6.
ชรินทร์ ดีปินตา และคณะ. การสอบสวนการระบาดของโรคทริโนซิส อำเภอปัว จังหวัดน่าน 2555. รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2556;44(8):113-8.
HR Gamble, AS Bessonov, K Cuperlovic, AA Gajadhar, F van Knapen, K Noeckler, et al. International Commission on Trichinellosis: Recommendation on methods for the control of Trichinella in domestic and wild animals intended for human consumption. Veterinary Parasitology 2000;93:393-408.
World Health Organization. Five Keys to safer food manual [อินเทอร์เน็ต]. เจนีวา: องค์การอนามัยโลก; 2006 [สืบค้นวันที่ 14 ตุลาคม 2557]. เข้าถึงได้จาก http://www.who.int/foodsafety/publications/consumer/manual_ keys.pdf
P Cowen, RA Pacer, PN van Peteghem and JF Fetrow. Management factors affecting trichinosis seropositiveity among 91 North Carolina swine farms. Preventive Veterinary Medicine 1990;9:165-72
HR Gamble, RC Bragy, LL Bulaga, CL Berthoud, WG Smith, LA Detweiler, et al. Prevelance and risk association for Trichinella infection in domestic pigs in the northeastern United States. Veterinary Parasitology 1999;82:59-69.72
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ประกาศกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เรื่อง มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกรของประเทศไทย พ.ศ. 2542. [สืบคันวันที่ 20 ตุลาคม 2557]. เข้าถึงได้จาก http://www.moac.go.th.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2014 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ