การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A (H3NX) ตามหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเรือนจำแห่งหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พีริยะ วตะกูลสิน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก กรมควบคุมโรค
  • ธนัญญา สุทธวงค์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก กรมควบคุมโรค
  • วาทิน โคกทอง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก กรมควบคุมโรค
  • พายัพ แสงทอง โรงพยาบาลวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
  • มานพ อยู่รัตน์ โรงพยาบาลวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
  • วัชรินทร์ วิรมย์เจียม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก
  • พัชร์พิบูล เสมาทอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก
  • สีใส ยี่สุ่นแสง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

ไข้หวัดใหญ่ชนิด A, H3NX, เรือนจำ, ระบาดซ้ำ, หลังจากการระบาด, โรคโควิด 19

บทคัดย่อ

บทนำ: วันที่ 21 ตุลาคม 2565 ทีมตระหนักรู้สถานการณ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก ได้รับแจ้งว่าพบกลุ่มก้อนผู้ป่วยสงสัยโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 200 ราย ในเรือนจำแห่งหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเรือนจำแห่งนี้เคยเกิดการระบาดครั้งใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ในปี พ.ศ. 2561 และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (COVID-19) ประมาณ 1 เดือนก่อน ทีมสอบสวนโรคร่วมจึงดำเนินการสอบสวนโรคเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ อธิบายลักษณะทางระบาดวิทยาของผู้ป่วย ศึกษากิจกรรมและพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการระบาด เปรียบเทียบมาตรการที่เปลี่ยนแปลงไปจากการระบาดครั้งก่อน และดำเนินการป้องกันควบคุมการระบาด
วิธีการศึกษา: ทีมสอบสวนโรคทำการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยทบทวนสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ก่อนหน้าการระบาด และค้นหาผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่เพิ่มเติมในเรือนจำ ทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต และเก็บตัวอย่าง Nasopharyngeal swab และ Throat swab จากผู้ป่วยที่เข้านิยามและยังมีอาการอยู่ ส่งตรวจ Real-time RT-PCR for respiratory virus รวมถึงสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่และอาสาเรือนจำเกี่ยวกับกิจกรรมเสี่ยง สังเกตพฤติกรรมเสี่ยงต่อการระบาด และสัมภาษณ์เกี่ยวกับมาตรการที่เกิดขึ้นหลังจากการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในปี พ.ศ. 2561 และโรคโควิด 19 ในปี พ.ศ. 2565
ผลการศึกษา: จำนวนผู้ติดเชื้อโรคโควิด 19 และอัตราผลบวก (Positive rate) ของ COVID-19 Antigen test kit ลดลงก่อนจะพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่เข้านิยามจำนวน 280 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 11.3% เป็นผู้ต้องขังชายทั้งหมด ผลสุ่มตรวจทางห้องปฏิบัติการ 13 ตัวอย่าง พบเชื้อ Influenza A (H3NX) ทั้งหมด แต่ไม่พบเชื้อ SARS-CoV-2 ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจำนวน 6 ราย และเสียชีวิต 1 ราย มีมัธยฐานของอายุ 31 ปี (ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ 13 ปี) ผู้ป่วยกระจายในทุกแดน การระบาดเริ่มต้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2565 และวันที่พบผู้ป่วยสูงสุดระหว่างการระบาดครั้งนี้ คือ 20 ตุลาคม 2565 ซึ่งห่างจากวันที่พบผู้ป่วยสูงสุดของโรคโควิด 19 ประมาณ 1 เดือน ก่อนหน้าการระบาด เรือนจำจัดกิจกรรมรวมกลุ่มโดยไม่ได้คัดกรองซึ่งคาดว่าเป็นสาเหตุของการแพร่กระจาย ภายหลังการระบาดใหญ่หลายครั้ง พบว่ามีมาตรการใช้แก้วประจำตัว เคร่งครัดในการสวมหน้ากากอนามัย พัฒนาเทคโนโลยีการเยี่ยมญาติผ่าน Application พัฒนาระบบข้อมูล และมีการนำระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) มาใช้
สรุปผลและข้อเสนอแนะ: พบการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A (H3NX) จำนวน 280 ราย ในเรือนจำแห่งหนึ่ง จังหวัดพิษณุโลกหลังจากการระบาดของโรคโควิด 19 ผู้ป่วยกระจายในทุกแดน สันนิษฐานสาเหตุของการระบาด คือ การจัดกิจกรรมรวมกันโดยไม่ได้คัดกรอง โดยหลังเกิดการระบาดในอดีต แม้มีการพัฒนามาตรการเป็นที่ประจักษ์แล้ว แต่ควรพัฒนาต่อยอดเรื่องการคัดกรองและการแยกกักผู้ป่วยตามสถานการณ์ต่าง ๆ และทดสอบปฏิบัติจริง

References

World Health Organization. Influenza seasonal: Overview, Symptoms and Treatment [Internet]. [cited 2023 Mar 1]. Available from: https://www. who.int/health-topics/influenza-seasonal#tab=tab_1

Vaccine Preventable Diseases Unit, Division of Communicable Diseases, Department of Disease Control [Internet]. Free influenza campaign for 7 high risk groups in Thailand. 2022 [cited 2023 Mar 1]. Available from: https://ddc.moph.go.th/brc/ news.php?news=24962&deptcode=brc

Chan CP, Wong NS, Leung CC, Lee SS. Positive impact of measures against COVID-19 on reducing influenza in the Northern Hemisphere. J Travel Med. 2020 Dec 23;27(8):taaa087. doi:10.1093/jtm/ taaa087. PMID: 32463445; PMCID: PMC7313776.

Kim J, Gomez Gomez RE, Hong K, Yum S, Jang J, Chun BC. Changing influenza activity in the Southern hemisphere countries during the COVID-19 pandemic. Int J Infect Dis. 2021;108:109–11.

Lee SS, Viboud C, Petersen E. Understanding the rebound of influenza in the post COVID-19 pandemic period holds important clues for epidemiology and control. Int J Infect Dis. 2022; 122: 1002–4.

Suttawong T, Srisupap W, Sangsiri R, Watakulsin P, Puaime K, Suami C, et al. Outbreak investigation of influenza A/H1N1 in a prison in Pitsanuloke Province, Thailand, July–September 2018. Weekly Epidemiological Surveillance Report. 2019;50:341–9.

Division of Epidemiology, Department of Disease Control. Case definition for Communicable Diseases Surveillance, Thailand, 2020. Nonthaburi: Division of Epidemiology, Department of Disease Control; 2020.

Phitsanulok Prison [Internet]. Phitsanulok Prison: General information. [cited 2023 Mar 1]. Available from: http://www.phitsanulok-prison.com/

Binswanger IA, Blatchford PJ, Forsyth SJ, Stern MF, Kinner SA. Epidemiology of infectious disease–related death after release from prison, Washington State, United States, and Queensland, Australia: A cohort study. Public Health Rep. 2016;131(4):574–82.

Frieden TR, Lee CT, Bochner AF, Buissonniere M, McClelland A. 7–1–7: an organising principle, target, and accountability metric to make the world safer from pandemics. Lancet. 2021;398(10300):638–40.

Maruschak LM, Sabol WJ, Potter RH, Reid LC, Cramer EW. Pandemic influenza and jail facilities and populations. Am J Public Health. 2009;99(Suppl 2): S339–44.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-18

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ