ระบาดวิทยาไข้หวัดใหญ่จากระบบเฝ้าระวังเฉพาะพื้นที่โรงพยาบาลเครือข่าย เฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ ระหว่างปี พ.ศ. 2560–2564
คำสำคัญ:
โรคไข้หวัดใหญ่, การเฝ้าระวังเฉพาะพื้นที่, การเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ, ระบาดวิทยา, ปัจจัยเสี่ยง, ประเทศไทยบทคัดย่อ
บทนํา : โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลันที่สำคัญ ดังนั้นระบบเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพจึงมีความจำเป็น เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมตลอดเวลา กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้ดำเนินการเฝ้าระวังเชื้อก่อโรคระบบทางเดินหายใจทางห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาลเครือข่ายขึ้น เพื่อติดตามสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่ และเพื่อตรวจจับและตอบโต้ต่อโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ
วิธีการศึกษา : ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยใช้ข้อมูลการ เฝ้าระวังเชื้อก่อโรคไข้หวัดใหญ่ทางห้องปฏิบัติการ ระหว่างปี พ.ศ. 2560–2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม STATA และใช้การทดสอบ Binary Logistic Regression เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการตรวจพบสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่
ผลการศึกษา : ปี พ.ศ. 2560–2564 มีตัวอย่างส่งตรวจ 18,190 ราย พบสารพันธุกรรมเชื้อไข้หวัดใหญ่ 3,574 ราย (ร้อยละ 19.65)
จากข้อมูลผู้ป่วย 9,465 ราย พบส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 0–4 ปี (ร้อยละ 32.67) อาการที่พบส่วนใหญ่ คือ ไข้ ไอ และมีน้ำมูกหรือ คัดจมูก คิดเป็นร้อยละ 84.12, 83.22 และ 68.98 ตามลำดับ ปัจจัยที่พบความสัมพันธ์ต่อการตรวจพบสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ กลุ่มอายุ สัญชาติ อาชีพ มีประวัติการดูแลหรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่หรือปอดอักเสบ และเป็นผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่/ปอดอักเสบที่เข้ารับการรักษาเป็นกลุ่มก้อน
อภิปรายผล : โรคไข้หวัดใหญ่พบได้ในทุกกลุ่มอายุ และพบได้ตลอดทั้งปี บางกลุ่มอายุ อาชีพ และผู้มีโอกาสสูงต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ เช่น การดูแลหรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยมักจะมีโอกาสติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้มากกว่ากลุ่มอื่น ดังนั้น การป้องกันระดับบุคคล เช่น การใส่หน้ากากอนามัย การล้างมือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยหรือสถานที่ที่มีคนหมู่มาก ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากโรคไข้หวัดใหญ่ และโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ได้ ส่วนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ช่วยลดความรุนแรงของโรคและโอกาสการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้
References
Department of Disease Control (TH). Influenza [Internet]. Nonthaburi: Department of disease control; 2019 [cited 2023 Sep 4]. Available from: https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=13
World Health Organization. Influenza (Seasonal) [Internet]. Geneva. World Health Organization; 2018 [cited 2023 Sep 4]. Available from: https://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/influenza-(seasonal)
Division of Epidemiology, Department of Disease Control (TH). Annual epidemiological surveillance Report 2019, Influenza. Nonthaburi: Department of Disease Control; 2019.
Division of Epidemiology, Department of Disease Control (TH). Annual epidemiological surveillance Report 2020, Influenza. Nonthaburi: Division of Epidemiology, Department of Disease Control; 2020.
Division of Epidemiology, Department of Disease Control (TH). Performance of the surveillance program for influenza-like pathogens. Nonthaburi: Division of Epidemiology, Department of Disease Control; 2016. 46 p.
Division of Epidemiology, Department of Disease Control (TH). Results of laboratory surveillance of pathogens and epidemiological factors in patients with Encephalitis, Hand, foot, and mouth disease, and influenza like illness in 2017. Nonthaburi: Division of Epidemiology, Department of Disease Control; 2018. 48 p.
World Health Organization, Global Influenza Programme. WHO surveillance case definitions for ILI and SARI; 2014 [cited 2023 Sep 4]. Available from: https://www.who.int/teams/global-influenza-program me/surveillance-and-monitoring/case-definitions-for-ili-and-sari
Centers for Disease Control and Prevention. How Flu Viruses Can Change: “Drift” and “Shift”; 2022 [cited 2023 Sep 4]. Available from: https://www.cdc.gov/flu/about/viruses/change.htm
Moa A, Trent M, Menzies R. Moa, A. Severity of the 2019 influenza season in Australia-a comparison between 2017 and 2019 H3N2 influenza seasons. Global Biosecurity. 2019;1(1). DOI: 10.31646/gbio.47
Anice CL, Samira M, John S, Peter P. Influenza virus transmission is dependent on relative humidity and temperature. PLoS Pathogens. 2007;3(10):1470–6.
Young G, Peng X, Rebeza A, Bermejo S, De C, Sharma L, et al. Rapid decline of seasonal influenza during the outbreak of COVID-19. ERJ Open Res. 2020 Aug 17;6(3):00296-2020. DOI: 10.1183/23120541.00296-2020. PMID: 32832527; PMCID: PMC7430143.
World Health Organization. Episode #59-Flu & COVID-19; 2021 [cited 2023 Aug 25]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/media-resources/science-in-5/episode-59---flu-covid-19
Centers for Disease Control and Prevention. Similarities and Differences between Flu and COVID-19; 2022 [cited 2023 Sep 4]. Available from: https://www.cdc.gov/flu/symptoms/flu-vs-covid19.htm
Thanaphatsiriyakul P. Comparison of symptoms of influenza type A strains H1 (2009) in the year 2014–2015. Region 11 Medical Journal. 2017;31:6.
Torén K, Albin M, Bergström T, Alderling M, Schioler L, Åberg M. Occupational risks for infection with influenza A and B: a national case-control study covering 1 July 2006–31 December 2019. Occupational and environmental medicine. 2023; 80(7);377–83. https://doi.org/10.1136/oemed-2022-108755
Sara M, Erik N, Joshua JR. The effects of employment on influenza rates. Economics & Human Biology. 2019;34:286–95.
World Health Organization. Global Influenza Programme, Vaccines; [cited 2023 Sep 4]. Available from: https://www.who.int/teams/global-influenza-programme/vaccines?gclid=Cj0KCQjw4s-kBhDqARIsAN-ipH2SWkuV_jq2oHb72R0h9JpGDLo326DOJc0sUdM2n6GLNSSyoaZpA1caAnMTEALw_wcB
Centers for Disease Control and Prevention. Healthy Habits to Help Protect Against Flu; 2021 [cited 2023 Sep 4]. Available from: https://www.cdc.gov/flu/prevent/actions-prevent-flu.htm
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ