ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวก่อนและหลังการรักษา ในผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ

ผู้แต่ง

  • ชนะชัย จันทรคิด โรงพยาบาลพุทธโสธร

คำสำคัญ:

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน, ไทรอยด์เป็นพิษ, อ้วน, ดัชนีมวลกาย

บทคัดย่อ

            ภาวะไทรอยด์เป็นพิษส่งผลให้น้ำหนักลดลง ซึ่งพบได้บ่อย แต่ไม่ใช่ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษทั้งหมดที่มีนน้ำหนักตัวลดลง จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า มีผู้ป่วยร้อยละ 5 – 10 มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ก่อนได้รับการรักษา การศึกษานี้ต้องการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวของผู้ป่วยก่อนและหลังได้รับการรักษา โดยศึกษาชนิดย้อนหลังในผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลพุทธโสธร ลงรหัสวินิจฉัยโรค E05 ถึง E07 ตั้งแต่ 1 มิถุนายน
พ.ศ. 2561 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi–square, Student’s t–test และ logistic regression analysis

ผู้ป่วยจากการศึกษานี้จำนวน 233 คน มีน้ำหนักเมื่อเริ่มต้นรักษาเฉลี่ย 60.44 ± 0.79 กิโลกรัม ดัชนีมวลกายเมื่อเริ่มรักษาเฉลี่ย 23.58 ± 0.28 กิโลกรัม/เมตร2 ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ตั้งแต่แรกและมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเมื่อสิ้นสุดการรักษา โดยจะเพิ่มขึ้นมากในกลุ่มดัชนีมวลกายน้อย ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มของดัชนีมวลกาย คือ ผู้ป่วยที่
อายุน้อยกว่า 45 ปีเมื่อเริ่มรักษา (p = 0.0399) ดัชนีมวลกายที่น้อยกว่า 25 กิโลกรัม/เมตร2 เมื่อเริ่มต้นรักษา (p = 0.0193) ผู้ป่วยที่เกิดไทรอยด์ต่ำหลังการรักษามีดัชนีมวลกายที่เพิ่มขึ้นมากกว่าผู้ป่วยไม่เกิดไทรอยด์ต่ำ(p = 0.0069) เมื่อวิเคราะห์โดยใช้logistic regression analysis พบว่า ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษชนิด Graves’ disease มีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวและดัชนีมวลกายมากกว่าไทรอยด์เป็นพิษชนิดอื่น (p = 0.0193 และ p = 0.016 ตามลำดับ) จากการศึกษาจะช่วยนำมาเป็นแนวทางในการเฝ้าระวัง ติดตาม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคเพื่อไม่ให้เกิดภาวะอ้วนหลัง
การรักษาไทรอยด์เป็นพิษ

Author Biography

ชนะชัย จันทรคิด, โรงพยาบาลพุทธโสธร

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร

References

Bahn RS, Burch HB, Cooper DS, Garber JR, Greenlee MC, Klein I, et al. Hyperthyroidism and other causes of thyrotoxicosis: Management guidelines of the American thyroid association and American association of clinical endocrinologists. Endocr Pract 2011;17(3):456–520.

Terry F, Davies PL, Bahn RS, Melmed S, Polonsky KS, Larsen PR. Hyperthyroid disorders. In: William Textbook of Endocrinology. Kronenberg HM; Philadelphia, PA: Elsevier; 2016; p. 369–415.

Smith TJ, Hegedüs L. Graves’ disease. N Engl J Med 2016;375(16):1552–65.

Lewis E, Braverman D. Werner and Ingbar’s The Thyroid a Fundamental and Clinical Text. Lippincott Williams & Wilkins; 2013.

Snabboon T, Sridama V, Sunthornyothin S, Suwanwalaikorn S, Vongthavaravat V. A more appropriatealgorithm of thyroidfunction test in diagnosisof hyperthyroidism for Thaipatients. J Med Assoc Thai 2004;87(Suppl2):S19–21.

Shigemasa C, Abe K, TaniguchiS, Mitani Y, Ueda Y, Adachi T.Lower serum freethyroxine(T4) levels in painless thyroiditis compared with Graves’ disease despite similar serum total T4 levels. J Clin Enocrinol 1987;65(2):359–63.

Sriphrapradang C, Bhasipol A. Differentiating Graves’disease from subacute thyroiditisusing ratio of rerum free triiodothyronine to free thyroxine. Ann Med Surg (Lond) 2016;10:69–72.

The Western Pacific Region. World Health Organization. International Associates for the study of obesity. International Obesity Task Force. The Asia–Pacific Perspective: redefining obesity and its treatment. Melbourne: Health Communications Australia; 2000.

Lung B. Clinical guidelines on the identification, evaluation and treatment of overweight and obesity in adults. Bethesda, MD: US Department of Health and Human Services; 1998.

CrookJ, MurrayPC, Wayne EJ.Statistical methodsappliedtothediagnosisof thyrotoxicosis. Quarterly Journal of Medicine 1959;28(110):211–34.

Garney C, Hall R, Harper M, Owen SG, Roth M, Smart GA. Newcastle thyrotoxicosis index. Lancet 1970;2(7686):1275–8.

Rathi MS, Miles JN, Jennings PE. Weight gain during the treatment of thyrotoxicosis using conventional thyrostatic treatment. J Endocrinol Invest 2008;31:505–8.

Franklyn JA, Daykin J, Drolc Z, Farmer M, Sheppard MC. Long–term follow–up of treatment of thyrotoxicosis by three different methods. Clin Endocrinol (Oxf) 1991;34(1):71–6.

Dale J, Daykin J, Holder R, Sheppard MC, Franklyn JA. Weight gain following treatment of hyperthyroidism. Clin Endocrinol (Oxf) 2001;55:233–9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

1.
จันทรคิด ช. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวก่อนและหลังการรักษา ในผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ. J Sakon Nak Hosp [อินเทอร์เน็ต]. 30 เมษายน 2024 [อ้างถึง 4 เมษายน 2025];27(1):27-35. available at: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/JSakonNakHosp/article/view/1291

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ