Factors Related to Self–protective Behaviors for Coronavirus Disease 2019 Infection Among Type 2 Diabetic Patients
Keywords:
COVID–19, Self–protective behaviors, Patient with type 2 diabetesAbstract
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด–19 ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการรับรู้ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด–19 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มารับการรักษาในหน่วยบริการของโรงพยาบาลมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามจำนวน 160 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามการรับรู้สุขภาพ และ 3) แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด–19 เก็บข้อมูลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด–19 ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการรับรู้ กับพฤติกรรมป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด–19 โดยการทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมโดยรวมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด–19 อยู่ในระดับสูง (x ̅ = 2.54, S.D. = 0.20) และ 2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด–19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ (p = 0.016) และอายุ (p = 0.025) ส่วนปัจจัยด้านการรับรู้ทุกด้าน ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด–19
References
กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. แนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา X2 2019 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1150920210610033910.pdf
กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด–19 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2564. [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19–dashboard/
ปิยนุช ปฏิภาณวัตร. ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. ว. สุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2565;7(1):64–71.
กระทรวงสาธารณสุข. ฐานข้อมูล Health Data Center [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก http://mkho.moph.go.th/mko/frontend
Becker MH. The health belief model and sick rolebehavior. Health Educ Monographs. 1974;2:409–417.
วิญญ์ทัญญู บุญทัน, พัชราภรณ์ ไหวคิด, วิภาพร สร้อยแสง, ชุติมา สร้อยนาค, ปริศนา อัครธนพล และ จริยวัตร คมพยัคฆ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อโคโรนา2019 (โควิด 19) ของผู้สูงอายุ. ว. พยาบาลต�ำรวจ 2563;12(2):323–337.
อภิวดี อินทเจริญ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุลและสุวรรณา ปัตตะพัฒน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. ว. สภาการพยาบาลสาธารณสุขชุมชน 2564;3(2):19–30.
จุฑาวรรณ ใจแสน. พฤติกรรมการป้องกัน COVID–19 ของพนักงานสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sat16/6114060102.pdf
ฮูดา แวหะยี. การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด–19). ว. วิชาการสาธารณสุขชุมชน 2563;6(4):158–168.
ณัฎฐวรรณ คำแสน. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโควิด–19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. ว. วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564;4(1):33–48.
พัชรวรรณ แก้วศรีงาม, มยุรี นิรัตธราดร และชดช้อย วัฒนะพัฒน์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน. ว. พยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2558;27(2):119–131.
ดวงหทัย แสงสว่าง, อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ และนิลาวรรณ งามขำ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปูใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ. ว. วไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ 2561;8(1):103–117.
กรชนก ม่วงศรี, ณัฐริกา ลาดคอมมอม, ปวีณา เทศนนท์ และประเสริฐ ประสมรักษ์. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองก่อนและหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรรัสโคโรนา (COVID–19) ของผู้ป่วยเบาหวานในพื้นที่ตำบลหมอม้า อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ. ว. วิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมขน 2564;4(1):1–10.
ธวัชชัย วรพงศธร, สุรีพันธุ์ วรพงศธร. การคำนวนขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัยโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปG*Power. ว. การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม2561;41(2):11–21.
ดรัญชนก พันธ์สุมา และพงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร 2564;36(5):597–604.
บงกช โมระสกุล และพรศิริ พันธสี. ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด–19 ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. ว. ศูนย์อนามัยที่ 9 2564;15(37):179–195.
Abdulah DM, Aziz Qazli SS, Suleman SK. Response of the public to preventive measures of coronavirus infection in Iraqi Kurdistan [Internet]. Disaster Med Public Health Prep; 2020 [cited 2021 Dec 28]. Available from: https://www.cambridge.org/core/services/aop–cambridge–core/content/view/EA92C663E4748DFD58499E8AB5B6B2D5/S1935789320002335a.pdf/response_of_the_public_topreventive_measures_of_coronavirus_infection_in_iraqi_kurdistan.pdf
ไกรพิชิต ปรุงฆ้อง. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 .ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลพังโคน จังหวัดสกลนคร. ว. โรงพยาบาลสกลนคร 2563;23(3):14–26.
ดวงใจ จิระสวัสดิ์ตระกูล. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการมาตรวจคัดกรองโรคเบาหวานของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ในศูนย์บริการสาธารณสุขนาเวง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. ว. โรงพยาบาลสกลนคร 2563;23(1):74–85.
อภิญญา บ้านกลาง, อุดดมลักษณ์ ดวงผุนมาตย์และปริศนา รถสีดา. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ว. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 2559;23(1):85–95.
สุภาภรณ์ ชูเชิดรัตนา, จารุเนตร ศรีคำสุข, ชญาณ์นันท์ ผาคำ,ธัญวรัตนม์ เทพอุดม, ปิยมน พวงคำ, พันทิภา หมื่นโกฏิดี และคนอื่นๆ. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด–19 ของพนักงานรักษาความปลอดภัย มหาวิทยาลัยนเรศวร. ว. การพยาบาลและสุขภาพ 2564;15(2):78–89.
ตวงพร กตัญญุตานนท์, ธนภรณ์ ทองศิริ, อารยา พิชิตชัยณรงค์,ธันยพร กิ่งดอกไม้, สุภาพ ธรรมกุล, ภาวลิน แสนคำรางและซัยนี่ ลิลก่อเด็ม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด–19 ของนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกีรติ. ว. วิทย. เทคโน.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 9 2564;7(1):8–20.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง