Establishment and Management Model of the Restaurant for Health Promotion in Borommarajjonnee College of Nursing, Nakhon Phanom, Nakhon Phanom University
Keywords:
Model development, Restaurant management, Healthy foodAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research: PAR) มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการก่อตั้งและการจัดการร้านอาหารเพื่อสุขภาพของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะผู้วิจัย โภชนากร ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร (chef) ตัวแทนอาจารย์ ตัวแทน เจ้าหน้าที่ ตัวแทนนักศึกษา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข การท่องเที่ยว พานิชย์จังหวัด ผู้ประกอบการร้านอาหาร และประชาชน ทั่วไป เข้าร่วมโครงการวิจัยด้วยความสมัครใจ รวมทั้งหมด 79 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การ สังเกต และการระดมสมอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ความถี่ และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการก่อตั้งและการจัดการร้านอาหารเพื่อสุขภาพของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม ที่พัฒนาขึ้น คือ เซเว่น เอส โมเดล (7’S model) ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ วัตถุประสงค์ (Subject) การตลาดเชิงสังคม (Social Marketing) ระบบการบริหารจัดการ (Management system) อาคาร สถานที่ (Surrounding system) วัตถุดิบและรายการอาหาร (Substances) การปรุงอาหาร (Cooking style) และการควบคุม คุณภาพ (Quality control system)
ข้อเสนอแนะ คณะผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจังหวัด ได้แก่ ฝ่ายคุ้มครอง ผู้บริโภคสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด การท่องเที่ยว พานิชย์จังหวัด ควรดำเนินการก่อตั้งและจัดการร้านอาหารเพื่อ สุขภาพให้เป็นรูปธรรม ร่วมกับใช้คู่มือการใช้รูปแบบการก่อตั้งและการจัดการร้านอาหารเพื่อสุขภาพของวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนีนครพนมเป็นแนวทางในการดำเนินการต่อไป
References
Thomas QD, Kotecki EJ. Physical activity and health: An interactive approach. 2nd ed. Sudbury: Jones and Bartlett; 2007.
มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่33 เรื่องที่ 7 อาหาร กับโรคเรื้อรัง [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=33&chap=7&page=chap7.htm
บุษบา ทองอุปการ. อาหารท้องถิ่น: ความมั่นคงทางอาหารในมิติวัฒนธรรม กรณีศึกษาชุมชนบ้านตลิ่งแดงจังหวัดกาญจนบุรี. ว. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์2561;5(พิเศษ):107–119.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมกลุ่มโรค NCDs [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/
microsite/categories/5/ncds/2/173/176–กลุ่มโรค+NCDs.html
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ไดมอนด์อิน บิสสิเนส เวิร์ด; 2539.
Kotler P. Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation, and Control. 9th ed, Upper Saddle River: Prentice Hall; 1997.
กองโรคไม่ติดต่อ. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 13 สิงหาคม 2562]; เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission3
บุญฑริกา ตั้งอุดมศิริ. กลยุทธ์ในการสื่อสารการตลาดดิจิทัลสำหรับธุรกิจร้านอาหารเคลื่อนที่(Food Truck) กรณีศึกษาร้าน Answer Cheeze (แอนเซอร์ชีส) [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2560.
จีรยุทธ กังแฮและคณะ. การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคเพื่อสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม; 2551.
เกอ ซ่ง. คุณภาพอาหาร คุณภาพการบริการสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และความใส่ใจในสุขภาพที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารไทยของนักท่องเที่ยวชาวจีนในกรุงเทพมหานคร. [การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2560.
สุรินทร์ มากไมตรี. พฤติกรรมการบริโภคอาหารให้ปลอดภัยจากสารพิษ.ว.วิชาการนายเรืออากาศ 2561;14(1):118–129.
ชัชวาล หลิวเจริญ และณิชชา โชคพิทักษ์กุล. แนวทางการสื่อสารสุขภาพด้วยการส่งเสริมการบริโภคอาหารคลีน: ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทัศนคติและความตั้งใจซื้อ. BU ACADEMIC REVIEW 2016;15(2):17–28.
มติชนออนไลน์. อย.–ปคบ.บุกจับแหล่งผลิตไส้กรอกพิษ เจ้าของรับใส่สารกันบูดเกิน สั่งปิด รง.เอาผิด 3 กระทง[อินเทอร์เน็ต].2562[เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.matichon.co.th/local/quality–life/news_3163908
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง