ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็งทางจิตใจกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัส COVID–19 ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
คำสำคัญ:
ความเข้มแข็งทางจิตใจ, พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัส COVID–19บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็งทางจิตใจกับพฤติกรรมการป้องกัน การติดเชื้อไวรัส COVID–19 ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1–4 จำนวน 198คน โดยสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม พ.ศ. 2564 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความเข้มแข็งทางจิตใจของกรมสุขภาพจิต มีค่าความเชื่อมั่น 0.82 และ แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัส COVID–19 มีค่าความเชื่อมั่น 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วย สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็งทางจิตใจกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัส COVID–19 โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลมีความเข้มแข็งทางจิตใจอยู่ในเกณฑ์ปกติ ( = 59.83, S.D = 0.84) พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัส COVID–19 รวมทุกด้านอยู่ในระดับดี (
= 4.25, S.D = 0.84) และความ เข้มแข็งทางจิตใจมีความสัมพันธ์ทางบวกขนาดปานกลางกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัส COVID–19 อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.448, p < 0.001) ดังนั้น หากนักศึกษามีความเข้มแข็งทางจิตใจที่ดี มีการรับรู้ความ สามารถทางอารมณ์และจิตใจของตนเอง มีสุขภาพจิตที่ดี จะมีความสามารถจัดการกับปัญหาสถานการณ์และมี พฤติกรรมการป้องกันตนเองในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID–19 ได้อย่างเหมาะสม
References
ศิริพร คาวานิลและณรงค์ศักดิ์หนูสอน. ขยะมูลฝอย: ในช่วงสถานการณ์COVID–19เป็นอย่างไร.ว.พยาบาลสาธารณสุข 2563;34(2):144–157.
พระมหาจักรพล สิริธโร. การศึกษาในยุค New Normal. Journal of Modern Learning Development 2564;6(6):346–356.
ธานินทร์อินทรวิเศษ,ธนวัฒน์เจริญษาและพิชญาภา ยวงสร้อย.ภาพสะท้อนการศึกษาไทย หลังภาวะโควิด 2019. ว. การบริหารนิติบุคคล 2564;7(4):323–333.
วิทยา วาโย, อภิรดีเจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์และจรรยา คนใหญ่. การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID–19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. ว. ศูนย์อนามัยที่9 2563;14(34):285–298.
ฉัตรสุมน พฤติภิญโญ.มาตรการการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค การแพร่ระบาดของโควิด–19. ว. กฎหมายและนโยบาย สาธารณสุข 2563;6(2):468–469.
กฤชกันทรสุวรรณพันธุ์, เสาวลักษณ์ศรีดาเกษ,ลาพึง วอนอก,สุพัฒน์อาสนะ, วรรณศรีแววงาม, กุลธิดา กิ่งสวัสดิ์, และคนอื่นๆ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดต่อการระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID–19) ของนักศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก. ว. วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563;14(2):143–146.
พีระนันท์จีระยิ่งมงคล, อัจฉราพรรณ วงษ์น้อย, บุญตา สุขวดี, สถิรกานต์ทั่วจบ และธัญญรัศม์ดวงคำ. ประสบการณ์การถูกกักตัวเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนา(โควิด–19) ของนักศึกษาพยาบาล. ว. วิจัยการพยาบาลและสุขภาพ 2564; 22(1):110–124.
พิมพิมล วงศ์ไชย, บัวบาน ยะนา และพินทอง ปินใจ. โควิด–19: ผลกระทบต่อสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลและแนวทางการช่วยเหลือ.ว.สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯสาขาภาคเหนือ 2564;27(2):105–114.
พัชรินทร์ นินทจันทร์. ความเเข็งแกร่งในชีวิตและความเครียดของนักศึกษาพยาบาลโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี. ว. การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2561;25(1):2–3.
Yamane T. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publications; 1973.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินพลังสุขภาพจิต. นนทบุรี: สำนักพัฒนาสุขภาพจิต; 2552.
Grotberg E. A guide to promoting resilience in children : strengthening the human spirit– Early Childhood Development:Practice & Reflections Number 8. Netherlands: Bernard Van Leer Foundation; 1995.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวปฏิบัติสําหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 ประเทศไทย. นนทบุรี: กรมอนามัย; 2563.
ธวัชชัย ยืนยาว, ไวยพร พรมวงค์และกัลยารัตน์คาดสนิท. ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่2019(COVID–19) ของนักศึกษาพยาบาลในเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ว. การแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี2564;29(2):210–211.
ธนพรแย้มศรี, ชนัญชิดาดุษฎีทูลศิริและยุวดีสีลัคนาวีระ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเครือข่ายภาคตะวันออก เฉียงเหนือ. ว. การพยาบาลและการดูเเลสุขภาพ 2560;35(2):158–168.11.
นฤภัค ฤธาทิพย์และสตรีรัตน์รุจิระชาคร. การศึกษาผลโปรแกรมการพัฒนาความเข้มแข็งทางใจในวัยรุ่นโดยใช้คู่มือสร้างสรรค์พลังใจให้วัยทีน. ว. โรงพยาบาลสกลนคร 2565;25(2):54–61.
สมจิตร์นคราพาณิช, รัตนา พึ่งเสมา. ปัจจัยทำนายพลังสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลช้ันปีที่1 วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย. ว. การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2564;35(1):139–140.
Werner EE. Resilience research past, present, and Future. In: Peter RD, Leadbeater B, McMahon RJ. editors. Resiliencein childern, families, communities linking context to practice and policy. New York: Kluwer Acadeic/plenum; 1995. p. 3–11.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง