The Comparative Study on the Knowledge and Attitude of Relieving Pain in an Antepartum Period between Teaching by using the Multimedia and Usual Teaching for Pregnant Women at Nakhon Phanom Hospital

Authors

  • Piyanee Nukbun Metharath University, Pathum Thani Province
  • Faithong Sounngam Metharath University, Pathum Thani Province
  • Supathaporn Mahuwan Nakhon Phanom Hospital
  • Nittaya Kultangwattana Nakhon Phanom Hospital

Keywords:

Teaching multimedia, Alleviate pain through breathing

Abstract

              การให้สุขศึกษาโดยเตรียมความพร้อมก่อนคลอดในหญิงตั้งครรภ์เป็นการพัฒนาความรู้ ทัศนคติและความ สามารถดูแลตนเอง การวิจัยครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้ และทัศนคติด้านการบรรเทาความเจ็บปวดด้วยการ หายใจในหญิงตั้งครรภ์ระหว่างกลุ่มสอนสุขศึกษาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดระยะรอคลอด โดยเน้นย้ำเทคนิคผ่อนคลาย ความเจ็บปวดด้วยวิธีการหายใจ ผ่านทางสื่อมัลติมีเดีย กับกลุ่มควบคุมที่ได้รับความรู้ตามปกติ ตั้งแต่เดือนมีนาคม– พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 196 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 98 ราย และ กลุ่มศึกษา 98 ราย ผู้วิจัยพัฒนาเครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้ ทัศนคติ และสื่อการสอนแบบมัลติมีเดียเทคนิคผ่อนคลายความเจ็บปวดด้วยการหายใจ เครื่องมือวิจัยมีความเที่ยงตรง เชิงโครงสร้างโดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตั้งแต่ 0.39 ถึง 0.73 มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.78 และค่าความ เชื่อมั่นด้วยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.92 การเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลความรู้ และทัศนคติ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยสถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนความรู้ และทัศนคติด้วยสถิติทีแบบเป็นอิสระต่อกัน

               ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ และทัศนคติด้านเทคนิคบรรเทาความเจ็บปวดด้วยการหายใจในหญิงตั้งครรภ์มีความ แตกต่างกันระหว่างกลุ่มศึกษาที่ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนคลอดโดยการสอนสุขศึกษาจากเจ้าหน้าที่พยาบาล ผ่านการบรรยายและสาธิต ควบคู่กับการใช้สื่อการสอนแบบมัลติมีเดีย กับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการเตรียมความพร้อม ก่อนคลอดโดยการสอนสุขศึกษาตามปกติ เมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และทัศนคติ พบว่า กลุ่มศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Author Biographies

Piyanee Nukbun, Metharath University, Pathum Thani Province

Lecturer, School of Nursing, Metharath University, Pathum Thani Province

Faithong Sounngam, Metharath University, Pathum Thani Province

Lecturer, School of Nursing, Metharath University, Pathum Thani Province

Supathaporn Mahuwan, Nakhon Phanom Hospital

* Registered Nurse (Professional Level), Nakhon Phanom Hospital

Nittaya Kultangwattana, Nakhon Phanom Hospital

Registered Nurse (Professional Level), Nakhon Phanom Hospital

References

ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์, ปรัชญา หาดแก้ว, จันทรมาศ เสาวรส. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการ บรรเทาความปวดของมารดาครรภ์แรกในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว ด้วยวิธีการควบคุมการหายใจกับวิธีการอยู่ในท่าที่เหมาะสม. ว. วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี2557;25(2):14–25.

พรรษา โนนจุ้ย. การให้สุขศึกษา. ว. ศรีนครินทร์เวชสาร 2564;36(2):246–251.

งานห้องคลอด. สรุปรายงานสถิติห้องคลอด. นครพนม; โรงพยาบาล; 2565.

Zimmerman E, Woolf S, Haley A. Understanding the relationship between education and health: a review of the evidence and an examination of community perspectives. Popul Health Behav Soc Sci Insights AHRQ Publ 2015;15(2):347–84.

สุนันทา วงศ์จตุรภัทร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้เทคโนโลยีเคลื่อนที่เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต บนพื้นฐานการเรียนรู้ด้วยตนเองในยุควิถีใหม่.ว. ครุศาสตร์อุตสาหกรรม 2565;21(3):73–88.

ประเสริฐ เกิดมงคล, พิเชษฐ อุดมสมัคร, จันทนา ฤทธิ์สมบูรณ์. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์โควิด–19 ของนักเรียนระดับมัธยมในอำเภอแกลง จังหวัดระยอง. ว. วิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี2565;9(1):121–140.

Gagne R. The conditions of learning and theory of instruction Robert Gagné. New York, NY: Holt Rinehart ja Winston; 1985.

Krejcie R, Morgan D. Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement 1970;30(3):607–610.

กรมอนามัย. คู่มือการมีส่วนร่วมของสามีหรือญาติในการเฝ้าคลอด [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 8 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://thailand.unfpa.org/sites/default/files/pub–pdf/LaborPeriod.pdf

กรมอนามัย. คู่มือการฝากครรภ์สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2564.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่8 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. โรงเรียนพ่อแม่ฉบับคุณแม่ตั้งครรภ์. นครสวรรค์: แอ๊บบี้กราฟฟิค; 2556.

Rowinelli R, Hambleton R. On theuse of content specialists in the assessment of criterion–referenced test item validity. Dutch Journal for Educational Research 1977;2:49–60.

ปิยะนุช ขวัญเมือง, โสเพ็ญ ชูนวล, เบญญาภา ธิติมาพงษ์. ผลของโปรแกรมการเตรียมตัวเพื่อการคลอดร่วมกับการสนับสนุนในระยะคลอดอย่างต่อเนื่องต่อความปวดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก.ว. พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2563;30(3):115–127.

Vanduhe V, Nat M, Hasan F. Continuance intentions to use gamification for training in higher education: Integrating the technology acceptance model (TAM), Social motivation, and task technology fit (TTF). IEEE Access 2020;8:21473–21484.

สมจิตร ชัยยะสมุทร,วลัยนารีพรมลา.แนวทางการพัฒนาความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน จังหวัดปทุมธานี. ว. บัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2560;15(2):111–123.

มลิวัลย์ บุตรดำ, วลัยลักษณ์สุวรรณภักดี, อรวรรณ ฤทธิ์มนตร, ทัศณีย์หนูนารถ, จตุพร ตันตะโนกิจ. ประสิทธิผลของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง วิธีการลดปวดในระยะรอคลอด. ว. โรงพยาบาลสกลนคร 2563;24(2):13–25.

Downloads

Published

2024-06-25

How to Cite

1.
Nukbun P, Sounngam F, Mahuwan S, Kultangwattana N. The Comparative Study on the Knowledge and Attitude of Relieving Pain in an Antepartum Period between Teaching by using the Multimedia and Usual Teaching for Pregnant Women at Nakhon Phanom Hospital. J Sakon Nak Hosp [Internet]. 2024 Jun. 25 [cited 2024 Dec. 23];26(1):78-8. Available from: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/JSakonNakHosp/article/view/2774

Issue

Section

Original article