Development of Health Literacy and Health Behaviors in Rational Drug Use among Village Health Volunteers, That Phanom District, Nakhon Phanom Province
Keywords:
Health literacy, Health behaviors, Rational drug use, Village health volunteersAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและ พฤติกรรมสุขภาพด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ก่อนและหลังการ อบรม ในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จำนวน 50 คน เครื่องมือวิจัยประยุกต์ใช้แบบสอบถามที่พัฒนาโดยกอง สุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข การรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการอบรม อสม. มีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในระดับดี ( = 135.40, S.D. = 17.09) หลังการอบรม อสม. มีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดีมาก ( = 145.14, S.D. = 19.89) ซึ่งสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ก่อนการอบรม อสม. มีคะแนน เฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในระดับดี ( = 9.92, S.D. = 1.98) หลังการอบรม อสม. มี คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในระดับดีมาก ( = 11.46, S.D = 1.05) ซึ่งสูงกว่าก่อน อบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่าโปรแกรมสุขศึกษานี้สามารถเพิ่มความรอบรู้และพฤติกรรมสุขภาพ ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของ อสม.ได้ จึงควรแนะนำให้ใช้กับกลุ่มประชากรอื่นต่อไป
References
Conference of Experts on the Rational Use of Drugs. The rational use of drugs: report of the Conference of Experts 25–29 November 1985 [Internet]. Nairobi: World Health Organization;1987[cited2022 October1]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/37174
Holloway K, Dijk LV. The World Medicines Situation 2011, rational use of medicines. [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2011 [cited 2022 October 1]. Available from: https://www.scirp.org/(S(351jmbntvnsjt1aadkposzje))/reference/ReferencesPapers.aspx?ReferenceID=1081052
กาญจนา เสียงใส ลีลาวดีศรีสอน และนริศรา พรมบุตร. การพัฒนาแนวทางเพื่อลดการจำหน่ายยาผิดกฎหมายของร้านชำในอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. ว. เภสัชกรรมไทย 2564;14(1):62–9.
สำนักการบริหารสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. การพัฒนาระบบสุขภาพ (Service plan) สาขาพัฒนาระบบบริการ ให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล (Service plan: Ratinal drug use). นนทบุรี: กลุ่มงานพัฒนาระบบสนับสนุนบริการ สำนักบริหารการสาธารณสุขสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข 2559.
สมหญิง พุ่มทอง, พักตร์วิภา สุวรรณพรหม, ศิริตรีสุทธจิตต์, นภาภรณ์ภูริปัญญวานิช, นิยดา เกียรตยิ่ง อังศุลี. สถานการณ์การใช้และกระจายยาปฏิชีวนะในชุมชนของไทย: ปัญหาซับซ้อนที่ต้องจัดการแบบบูรณาการ. ว. วิชาการสาธารณสุข 2563;29(พิเศษ):s72–s81.
Khamsarn S, Nampoonsak Y, Busamaro S, Tangkoskul T, Seenama C, Rattanaumpawan P, et al. Epidemiology of Antibiotic Use and Antimicrobial Resistance in Selected Communities in Thailand. J Med Assoc Thai 2016;99(3):270–5.
World Health Organization. Health promotion glossary [Intermet]. Geneva: World Health Organization; 1998 [cited 2022 October 15]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/WHO–HPR–HEP–98.1
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. กลยุทธ์การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิชย์ (กรุงเทพ); 2561.
พฤหัสกัญยา บุญลบ, นวพรรธน์ดีประเสริฐวรกร, อนุรักษ์มีอิ่ม, เจริญ ทุนชัย, พระครูโอภาสกาจนธรรม. การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้าน (อสม.) ในเขตเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. ว. สิรินธรปริทรรศน์2563;21(2):197–205.
วรวิทย์นุ่มดี. พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. ว. มหาจุฬานาครทรรศน์2563;7(7):213–28.
กฤษฎากร เจริญสุข. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลเมืองสิงห์บุรีจังหวัดสิงห์บุรี. ว. โรงพยาบาลสิงห์บุรี2564;30(1):72–90.
อำนวยเนียมหมื่นไวย์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านนักจัดการสุขภาพชุมชน อำเภอบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา.ว.วิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา2561;4(2):78–92.
ศุทธินี วัฒนกูล, ศศิธร ชิดนายี, พิเชษฐ์แซ่โซว, ดำริห์ทริยะ, ศิวิไล ปันวารินทร์, พรฤดี นิธิรัตน. ความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. ว. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2563;12(2):72–82.
กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค. รายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาประจำปีงบประมาณ 2565. นครพนม: โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม; 2565.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy: HL) เรื่อง การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2562.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง