Development of Care Model for the Elderly with Diabetes Mellitus, Banmuang District, Sakhon Nakhon Province

Authors

  • Pantawee Khamsao Phra Ajan Mun Bhuridatto Hospital
  • Walaiporn Kulwong Phra Ajan Mun Bhuridatto Hospital
  • Boonyoung Khanthahat Phra Ajan Mun Bhuridatto Hospital

Keywords:

Care model development, Elderly with Diabetes Mellitus

Abstract

             การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานรวมถึงการพัฒนารูปแบบ การดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานและศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ผู้เข้าร่วมการวิจัยประกอบด้วย 1) เจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการสุขภาพโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 15 คน 2) ผู้สูง อายุโรคเบาหวาน 342 คน และ 3) ผู้สูงอายุโรคเบาหวานและผู้ดูแลกลุ่มละ 25 คน ดำเนินการศึกษา 3 ระยะ คือ ระยะ ที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานและระยะ ที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบวัด พฤติกรรมการดูแลตนเอง แบบวัดความรู้ในการดูแลตนเอง และแบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ paired sample t–test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

              ผลการศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานพบว่า โรงพยาบาลพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จัดทีมสหสาขา วิชาชีพออกไปตรวจรักษาที่ รพ.สต. ทุกเดือน ผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนได้รับการดูแลต่อเนื่องในโรงพยาบาล พฤติกรรมการ ดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานพบว่า ยังปฏิบัติตัวไม่เหมาะสม 3 ด้าน คือ การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์ และความเครียด การควบคุมระดับน้ำตาลยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายและมีภาวะแทรกซ้อนคือ โรคไตเรื้อรัง เท้าเป็นแผล และเบาหวานขึ้นตา รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การประเมินผู้สูงอายุโรคเบาหวาน 2) นำครอบครัวหรือผู้ดูแลร่วมในกิจกรรม 3) ให้คำแนะนำผู้ป่วยตามปัญหาและ ความต้องการ 4) การใช้นวัตกรรมกราฟน้ำตาลที่ดูผ่านโทรศัพท์ได้และการติดตามก่อนวันนัดผ่าน Line notify และ โทรศัพท์ 5) การปรับแผนการรักษาโดยแพทย์ และ 6) การติดตามเยี่ยมบ้าน หลังการใช้รูปแบบฯ พบว่า ผู้สูงอายุ โรคเบาหวานมีความรู้ในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้สูงอายุโรคเบาหวานมีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ ในระดับมากที่สุดและ ผู้ดูแลมีความพึงพอใจในระดับมาก

Author Biographies

Pantawee Khamsao, Phra Ajan Mun Bhuridatto Hospital

* Medical Physician (Senior Professional Level), Phra Ajan Mun Bhuridatto Hospital

Walaiporn Kulwong, Phra Ajan Mun Bhuridatto Hospital

Registered Nurse (Senior Professional Level), Nursing Department, Phra Ajan Mun Bhuridatto
Hospital

Boonyoung Khanthahat , Phra Ajan Mun Bhuridatto Hospital

Registered Nurse (Professional Level), Primary and Holistic Care Department, Phra Ajan Mun
Bhuridatto Hospital

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์สํานักงานสถิติแห่งชาติ; 2565.

ปณิตา ลิมปะวัฒนะ. กลุ่มอาการสูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่2. ขอนแก่น: คลังนานานาวิทยา; 2561.

United Nations. Asia–Pacific Report on Population Ageing 2022 Trends, policies and good practices regarding olderpersons andpopulation ageing [internet].2022. [cited2023Jan 15]. Available from: https:// /www.unescap.org/sites/default/d8files/event–documents/AP–Ageing–

–report.pdf

World Health Organization. Diabetes [internet]. 2023. [Cited 2023 May 9]. Available from: https://www.who.int/news–room/fact–sheets/detail/diabetes

International Diabetes Federation. Diabetes Atlas 8th edition[internet]. 2017 [Cited 2022 Dec 19]. Available from: https://www.diabetesatlas.org/upload/resources/previous/files/8/IDF_DA_8e–EN–final.pdf

Kristianingrum ND, Wiarsih W, Nursasi AY. Perceived family support among older persons in diabetes mellitus self–management. BMC Geriatrics 2018;18(Suppl):304.

World Health Organization. Aging and Health. [internet]. 2022. [cited 2023 Jan 6]. Available from: https://www.who.int/news–room/fact–sheets/detail/ageing–and–health

วิชัย เทียนถาวร. ระบบการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงในประเทศไทย: นโยบายสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี; 2543.

อติญาณ์ ศรเกษตริน,รุ่งนภาจันทรา,รสติกร ขวัญชุม,ลัดดา เรืองด้วง. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส. ของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน (อสม.) ต.คลองฉนาก อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี. ว. เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้2560;4(1):253–264.

กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการคัดกรองประเมินผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก; 2564.

ชูศรี วงษ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่10. นนทบุรี: ไทยเนรมิตกิจ; 2550.

Baptista DR, Wiens A,Pontarolo R, RegisL, Christine TR, Correr CJ. The chronic care model for type 2 diabetes: a systematic review. Diabetology& Metabolic Syndrome 2016;8(7):1–7.

Bongaerts BWC, Müssig K, Wens J,Lang C,SchwarzP, Roden M, Rathmann W. Effectiveness of chronic care models for the management of type2diabetes mellitus in Europe: asystematic review and meta–analysis. BMJ Open 2017;7(3):013076.

สุนิสา คำประสิทธิ์. ผลการพัฒนาศักยภาพครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นโรคเบาหวานชนิดที่2โดยใช้กระบวนการพยาบาลครอบครัวและการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. ว.ชัยภูมิเวชสาร 2561;38(3):39–49.

ธนพงศ์พันธ์พวงทวี, ดวงกมล ปิ่นเฉลียว, ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มีภาวะพึ่งพิงโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. ว. วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563;3(2):222–230.

พิสิษฐ์พิริยาพรรณ, เวธกา กลิ่นวิชิต, ผกาพรรณ ดินชูไท, สุริยา โปร่งน้ำใจ, เพ็ชรงาม ไชยวานิช. พัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน. ว. สาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2561;13(1);45–55.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการการดำเนินงานด้นโรคไม่ติดต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/media–detail.php?id =14109&tid=&gid=1

–015–005

ศักดิ์ชาย เพ็ชรตรา. การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองด้านสุขภาพของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานในจังหวัดชัยภูมิ.[อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://publication.npru.ac.th/bitstream/123456789/1784/1/npru–283.pdf

Greenwood DA, GeePM, Fatkin KJ, and Peeples M A. Systematic review of review sevaluating technology–enabled diabetes self–management education and support. J Diabetes Sci 2017;11(5):1015–27.

ภาวิณี แพงสุข, เอื้อจิต สุขพูล, ชลดา กิ่งมาลา, วัชรี วงค์หวังมั่น, ธวัชชัย ยืนยาว. ผลของนวัตกรรมช้อน สามสีต่อความรู้และพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. ว. พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2563;30(1):57–68.

ชานนท์ เชาวะรรมรงสกุล. การพัฒนารูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลสีดา. ว. ศูนย์อนามัยที่9 2563;9(14):314–329.

ไกรพิชิต ปรุงฆ้อง. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลพังโคน จังหวัดสกลนคร.ว. โรงพยาบาลสกลนคร2563;23(3):14–26.

Downloads

Published

2024-06-26

How to Cite

1.
Khamsao P, Kulwong W, Khanthahat B. Development of Care Model for the Elderly with Diabetes Mellitus, Banmuang District, Sakhon Nakhon Province. J Sakon Nak Hosp [Internet]. 2024 Jun. 26 [cited 2024 Sep. 19];26(2):14-27. Available from: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/JSakonNakHosp/article/view/2784

Issue

Section

Original article