Development of a Program to Enhance Competency for Caring Hematological Cancer Patients Receiving Chemotherapy of Professional Nurses Who Have Worked for Less than 5 Years and Never Received Training in Nursing for Patients Receiving Cancer Chemotherapy,
Keywords:
Development program for professional nurse competency, Hematologic malignancy patient receiving chemotherapy, Competency of professional nurseAbstract
งานวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติ งานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรคเลือด ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ พยาบาลผู้รับการพัฒนาสมรรถนะที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย อายุรกรรมโรคเลือดไม่เกิน 5 ปี 7 คน และพยาบาลพี่เลี้ยง 3 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ โปรแกรมเพิ่มสมรรถนะพยาบาล วิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรคเลือด มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 0.93 และเครื่องมือใน การเก็บรวบรวม ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด มีค่า CVI เท่ากับ 0.97 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และแบบสังเกตทักษะการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระบบ โลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด มีค่า CVI เท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนา วิเคราะห์เปรียบเทียบ สมรรถนะก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมโดยสถิติ Wilcoxon signed rank test และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมเพิ่มสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมี บำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น ประกอบด้วยกระบวนการพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผน (Planning) วิเคราะห์ สถานการณ์ปัจจุบันโดยการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า พยาบาลไม่ผ่านการอบรมเฉพาะทางการบริหารยาเคมี บำบัด และไม่มีรูปแบบการนิเทศที่ชัดเจน ได้รับการสอนเฉพาะในช่วงที่ปฏิบัติงาน ไม่มีแบบแผนการสอนที่ชัดเจน จาก นั้นระดมสมองออกแบบโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะ ซึ่งประกอบด้วยการอบรมภาคทฤษฎี 6 วัน การสาธิตและการฝึกปฏิบัติ จริง 5 วัน 2) นำโปรแกรมไปปฏิบัติ (Action) 3) การประเมินผล (Observation) พบว่า พยาบาลมีสมรรถนะภายหลัง เข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.018) และภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมพยาบาล มีทักษะการปฏิบัติอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 2.74 S.D. = 0.26) และ 4) การสะท้อนข้อมูล (Reflection) อภิปรายผลลัพธ์ และร่วมกันพัฒนาโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาได้รับยาเคมีบำบัดที่ใช้ ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรคเลือด โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
References
Bray F, Laversanne M, Weiderpass E, Soerjomataram I. The ever–increasing importance of cancer as a leading cause of premature death worldwide. Cancer 2021;127(16):3029–30.
องค์การอนามัยโลก. 5 อันดับโรคมะเร็งพบมากในไทย และ 7 สัญญาณเตือนที่ต้องรู้[อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 12 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thestandard.co/who–unveil–cancer–rate–_2020
กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข.แผนยุทธศาสตร์สถาบันมะเร็งแห่งชาติพ.ศ.2562–2565[อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 3 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nci.go.th/th/Today/download/แผนยุทธศาสตร์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ%20พ.ศ.% 202560–2564
ชมรมโรคมัยอิโลมาแห่งประเทศไทย. คู่มือผู้ป่วยโรคมัลติเพิล มัยอิโลมา [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaicancersociety.com/mm–hub/mm/
โรงพยาบาลขอนแก่น. งานสถิติและเวชระเบียน โรงพยาบาลขอนแก่น ปีพ.ศ. 2562–2564. ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น; 2564.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ[อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nci.go.th/th/File_download/D_index/แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ.pdf
ธัญญาเรศ สถาพร. คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ณ คลินิกโลหิตวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์[วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
เฉลิมชัย เลิศอนันต์สิทธิ์. ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงในผู้ป่วยมะเร็ง สำหรับนักศึกษาแพทย์แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป และบุคคลที่สนใจ. ว. การแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์บุรีรัมย์2565;37(3):689–693.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. คู่มือมาตรฐานการทำงานเกี่ยวกับยาเคมีบำบัดและการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยา. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2560.
นุจรี สันติสำราญวิไล และสุชาดา รัชชุกูล. การศึกษาสมรรถนะของพยาบาลผู้ปฏิบัติการให้ยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลสังกัดรัฐ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2553
Kemmis S, Mc Taggart R. The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University press; 1992.
กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น. มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง ที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565). ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น; 2563.
Likert R. A Technique for the Measurement of Attitudes [Dissertation]. New York: Columbia University; 1932.
เบ็ญจพร ไพบูลย์พลาย้อย. ผลของโปรแกรมการนิเทศการพยาบาลแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วยต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2558.
บัญญัติผ่านจังหาร. การพัฒนารูปแบบการนิเทศงานการพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี. ว. โรงพยาบาลสกลนคร 2565;25(3):70–84.
อารีย์เสถียรวงศา. การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชุมพร. ว. วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563;14(2):114–124.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง