Depression among Nursing Students and Related Factors In the Situation of the COVID–19 Pandemic
Keywords:
Nursing students, Factors, depressionAbstract
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและคุกคามกับการ ดำเนินชีวิต อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าที่ส่งผลกระทบทั้งต่อตัวบุคคลและครอบครัว นักศึกษาพยาบาลเป็นวัยรุ่นที่เสี่ยง ต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า ส่งผลกระทบต่อการเรียนและอาจจะนำสู่การฆ่าตัวตายได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด–19 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1–4 จำนวน 67 คน คัดเลือกแบบเจาะจง ระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไป 2) แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า 2Q 3) แบบคัดกรอง ภาวะซึมเศร้า PHQ9 4) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม
5) ปัจจัยด้านความฉลาดทางสังคม และ 6) ปัจจัยด้านความเครียด เกี่ยวกับการเรียน ตรวจสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าระหว่าง 0.8 – 0.9 วิเคราะห์ข้อมูล ทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีภาวะซึมเศร้ามากที่สุด คือ ร้อยละ 38.81 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาล พบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคมและปัจจัยด้านความ ฉลาดทางสังคม มีความสัมพันธ์ต่ำมากกับภาวะซึมเศร้าอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.22, p = 0.70 และ r = 0.16, p = 0.21) และปัจจัยด้านความเครียดมีความสัมพันธ์ต่ำมากกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(r = 0.29, p = 0.02)
ข้อเสนอแนะ นักศึกษาพยาบาลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าควรทำการสนทนากลุ่มและทำกิจกรรม กลุ่มเพื่อหาแนวทางการช่วยเหลือที่ชัดเจนและติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. เช็ค 9สัญญาณซึมเศร้าแค่ไหน ถึงเป็นโรคซึมเศร้า [อินเทอร์เน็ต].2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/test/
World Health Organization [WHO]. [Intenet]. 2022 [2022 June 28]. Available from: https://www.who.int.health-topics/depression#tab=tab_1
อภิชญา ฉกาจธรรม. เจาะลึกข้อมูลสหรัฐอเมริกา ประเทศที่มีอัตราโรคซึมเศร้าสูงอันดับ 2 ของโลก [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.brandinside.asia/mental–health–business–in–usa/
MGR online. โรคซึมเศร้าวิกฤตคร่าชีวิตคนไทยเข้าไม่ถึงการรักษาฆ่าตัวตายสําเร็จสูง. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mgronline.com/daily/detail/965000001909
ธนพล บรรดาศักดิ์, นฤมล จันทรเกษม, อลิษา ทรัพย์สังข์, วรรณา ชัยชนะรุ่งเรือง. การป้องกันภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาล. ว. วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2564;13(1):62–70.
กมลนัทธ์คล่องดี, และสุรชัย เฉนียง.ปัจจัยทํานายภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม. ว. พยาบาลตำรวจ 2564;13(1):148–157.
สายสมร เฉลยกิตติ, จินตนา อาจสันเที๊ยะ, และมักเดลนา สุภาพร ดาวดี. ผลกระทบโรคระบาด COVID–19: การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล. ว. วิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2563;36(2):255–262.
อภิญญา อิงอาจ, ณัฐพร กาญจนภูมิ, และพรพรรณ เชยจิตร. ความกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี.ว. บริหารธรุกิจเทคโนโลยีมหานคร2563;17(2):94–113.
โชติกา หาญมนตรี, ณิชากร กันเนียม, อัจฉรา ทุมเที่ยง, อาภัสรา ผลเลิศ, นงค์นภัส คำจันทร์, อรจิราสุขบรรเทิง, และคนอื่น ๆ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของครอบครัวนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่4 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด–19. ว. การพยาบาลและสุขภาพ สสอท. 2564;3(3):
–16.
อัจฉรา คามะทิตย์, ํ และกิตติพร เนาว์สุวรรณ. อิทธิพลด้านจิตสังคมที่ส่งผลต่อความเหนื่อยล้าในการเรียนของนักศึกษาพยาบาลสถาบันพระบรมมราชชนกในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19. ว. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์2565;14(2):56–76.
ดวงใจ วัฒนศิลป์. การป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น: จากหลักฐานเชิงประจักษ์สู่การปฏิบัติ. ว. คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา 2562;24(1):1–10.
รัตนา มาฆะสวัสดิ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดปทุมธานี. ว. ศูนย์อนามัยที่9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2564;15(38):528–539.
ลักษิกา พิสุทธิไพศาล, และจารุพร ตั้งพัฒนกิจ. การเกิดภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นใน จังหวัดชลบุรี. ว. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2564;12(1):46–65.
กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, เสาวลักษณ์ศรีดาเกษ, ลำพึง วอนอก, สุพัฒน์อาสนะ, วรรณศรีแววงาม, กุลธิดา กิ่งสวัสดิ์, และคนอื่นๆ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดต่อการระบาด ของโรคติดเชื้อไวรสัโคโรนา 2019 (COVID–19) ของนักศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก.
ว. วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563;14(2):138–148.
สายฝน สีนอเพีย, และรุจิรา ดวงสงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ว. วิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2564;14(3):10–23.
ทัชชา สรุิโย. ผลของโปรแกรมการให้คําปรึกษากลุ่มต่อการเสริมสร้างความฉลาดทางสังคม ในวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า. [ปริญญานิพนธ์ศศ.ม. จิตวิทยาประยุกต์– แขนงวิชาจิตวิทยาการให้คําปรึกษา]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยศรีนครินทรวิโรฒ; 2559.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแบบประเมินคัดกรองผู้ที่มีปัญหาพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mhso.dmh.go.th/fileupload/202301161330193317.pdf
Beck AT. Depression: Clinical experimental and theoretical aspects. New York: Hoeber Medical Division; 1967.
สุพัตรา รุ่งรัตน์, ซูลฟีกอร์มาโซ, และยุทธนา กาเด็ม. กระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์ โควิด–19 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา. ว. สังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2564;6(2):160–174.
ดวงใจ วัฒนสินธุ์, สิริพิมพ์ ชูปาน, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, ศิริวัลห์ วัฒนสินธุ์, และรัศมิ์สุนันท์ จันทรภักดี. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาทางสังคมต่อภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาล. ว. การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2563;34(1):86–102.
คัมภีรพรรณ สาชิน, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, และดวงใจ วัฒนสินธุ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชน. ว. วิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2562;35(3):98–111.
พนารัตน์ ศาสนะสุพินธ์. บทบาทพยาบาลชุมชนในการป้องกัน COVID–19 ในกลุ่มผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทของอีสานไทย. ว. โรงพยาบาลสกลนคร 2563;23(2):160–171.
ปิยะพงษ์พาพิทักษ์. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า ภายหลังหลอดเลือดสมองตีบ ในโรงพยาบาลสกลนคร. ว. โรงพยาบาลสกลนคร 2563;23(3):51–66.
ดวงใจ วัฒนสินธุ์, และสิริพิมพ์ชูปาน. ปัจจัยทำนายความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาล. ว. การพยาบาลและการศึกษา 2562;12(1):72–87.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง