Promoting breastfeeding in sick newborns arrangement integration breastfeeding instruction in the Bachelor of Nursing Program
Keywords:
Breast feeding, Sick newborn, Nursingcompetencies, EntrustableprofessionalactivitiesAbstract
องค์การอนามัยโลกได้ให้ความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลูกควรได้รับนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน ประเทศไทยได้มีการรณรงค์การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน และให้ลูกได้รับนมแม่ อย่างต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี ในทารกปกติและทารกป่วย ทารกป่วยมักจะต้องแยกจากแม่ภายหลังคลอด เพื่อเข้ารับ การรักษาที่หอผู้ป่วยทารกแรกเกิด อาจทำให้ทารกไม่ได้รับนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดหรือต่อเนื่องจนอายุ 6 เดือน การส่งเสริม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกแรกเกิดป่วยให้ประสบผลสำเร็จต้องมีการเสริมสร้างทัศนคติ และค่านิยมของการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน แม้ลูกจะเจ็บป่วยแม่ก็ยังสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ เด็กป่วยต้องได้รับการเลี้ยง ดูด้วยนมแม่อย่างถูกต้องทัดเทียมกับเด็กปกติ การนำบันได 10 ขั้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกป่วยของ Prof. Diane L. Spatz มาเป็นต้นแบบในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกป่วย พยาบาลเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญในการส่ง เสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สภาการพยาบาลกำหนดสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในระดับปริญญาตรี ต้อง มีสมรรถนะการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในการดูแลมารดาตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด การส่งเสริม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การบูรณาการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต จึงมีความสำคัญ เพื่อเตรียมความพร้อมของบัณฑิตพยาบาล นำความรู้ความสามารถไปปฏิบัติการพยาบาลได้ ดังนั้นบทความนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อทบทวนการจัดการเรียนการสอนเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยใช้แนวคิดความเชื่อมั่นและ ความไว้วางใจให้ปฏิบัติทักษะวิชาชีพ ( Entrustable Professional Activities) เพื่อให้พยาบาลวิชาชีพสามารถปฏิบัติ งานในความรับผิดชอบได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้องและปลอดภัย
References
World Health Organization. Breastfeeding [Internet]. 2021 [Cited 2023 Feb 20]. Available from: https://www.who.int/health–topics/breastfeeding#tab=tab_1
UNICEF. Infant and young child feeding [Internet]. 2021 [Cited 2022 Nov 22]. Avalable from: https://www.data.unicef.org/topic/nutrition/infant–and–young–child–feeding/
Unicef. Breastfeeding: A Key to Sustainable Development [Internet]. 2016 [Cited 2023 March 21]. Available from: http://www.worldbreastfeedingweek.org/pdf/Breastfeedingand SDGsMessaging%20WBW2016%20Shared.pdf
Pengchan W. Driving the Policy of Breastfeeding in Thailand [Internet]. 2017 [Cited 2023 February 12]. Available from: http://www.hp.anamai.moph.go.th/article_attach.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติประเทศไทย. โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2562. รายงานผลฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2563.
World Health Organization. Preterm birth [Internet]. 2018 [Cited 2023 Jan 2]. Available from: https://www.who.int/news–room/fact–sheets/detail/preterm–birth
ThaiHealth Official. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในเด็กป่วย [Internet]. 2014. [Cited 2022 Nov 20]. Available from: https://www.thaihealth.or.th/เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในเด/
Spatz DL. Ten steps for promoting and protecting breastfeeding for vulnerable infants. J Perinat Neonatal Nurs 2004;18(4):285–396.
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. บันได 10 ขั้นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในเด็กทารกและเด็กป่วย [Internet]. 2022 [Cited 2022 November 20]. Available from: https://www.childrenhospital.go.th/8824
อาภาวรรณ โสภณธรรมรักษ์. บทสรุปบันได 10 ขั้นในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่เจ็บป่วย [Internet].2013 [Cited 2022 Nov 20]. Avalable from: https://www.gotoknow.org/posts/549960
ชรากร อ่อนทอง, และจรรยา จิระประดิษฐา. ผลลัพธ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ว. โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2564:2(1):22–35.
สายสินธ์กอมณี, เยาวเรศ เอื้อารเลิศ, เกียรติกุล เพียงจันทร์, ธนันพร ตรีบุตดี, กัญจน์รัตน์สุวรรณโกฏและดรุยาลักษม์สายแวว. ผลการใช้Ten Steps ต่อการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกป่วย กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วย กุมารเวชกรรมสาย 2 โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์: การศึกษาวิจัยนำร่อง.
ว. วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์2561;2(1):82–98.
สำนักข่าวสร้างสุข. การรณรงค์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่100% ช่วง6เดือนแรก สร้างภูมิคุ้มกันดี. [Internet]. 2022. [Cited 2023 Mar 20]. Available from: https://www.thaihealth.or.th/รณรงค์เลี้ยงลูกด้วยนมแ–2/
สภาการพยาบาล. การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต [Internet]. 2018. [Cited 2023 Feb 20]. Available from: https://www.tnmc.or.th/news/191
Bramley A, Forsyth A, and McKenna L. Design, implementation and evaluation of novel work–basedclinicalassessment tool: An e–portfolio with embedded EntrustableProfessionalActivities. Nurse Education Today 2021;107:105101.
ภณิภารัศมิ์ ธรรมโยธินกุล, จุฑามาศ คุประตกุล, และฟ้าใส เรืองสารกุล. แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตามแนวคิด Entrusable Professioanl Acitivities (EPA) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.western.ac.th/pages/nsw–portfolio–knowledge–management
Cate OT, Chen HC, Hoff RL, Peters H, Bok H, Vander S. Curriculum development for the workplace using entrustable professional activities (EPAs): AMEE Guide No.99. Med Teach 2015;37(11):983–1002.
สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล, วรนุช ไชยวาน, รวีวรรณ เผ่ากัณหา, อัญชลีอ้วนแก้ว, และณัฏฐากุล บึงมุม. แนวคิดความไว้วางใจให้ปฏิบัติทักษะวิชาชีพในการศึกษาการพยาบาล. ว. วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2565;33(1):264–274.
ทยุตา อินทร์แก้ว, อินทิรา ปากันทะ. การสอบสมรรถนะปฏิบัติการทางคลินิก: การประยุกต์ใช้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาล. ว. การพยาบาลและสุขภาพ 2560;11(3):1–7.
HosseiniSA, Fatehi N, Eslamaian J, Zamani M. Reviewingthe nursingstudents’ view toward OSCE test. Iran J Nurs Midwifery Res 2011;16(4):318–20.
สำลี สาลีกุล และกฤษณำพร ทิพย์กาญจนเรขา. การประเมินทักษะทางคลินิกแบบ OSCE สำหรับนักศึกษาพยาบาล The Objective Structured Clinical Examination (OSCE) to Evaluate Clinical Skills of Nursing Students. ว. วิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2562;35(2).38–43.
นิจวรรณ วีรวัฒโนดม, บังอร ศิริสกุลไพศาล, ธัญญวลัย ชัยรัตน์และพัชรินทร์บางท่าไม้. การประเมินทักษะปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้Objective Structured Clinical Examination (OSCE). ว. วิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2563;36(1):238–245.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง