พฤติกรรมความเอื้ออาทรในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
คำสำคัญ:
ความเอื้ออาทร, การดูแลผู้ป่วยวิกฤต, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมความเอื้ออาทรในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตของนักศึกษาพยาบาล โดยการประเมินตนเองของนักศึกษาและการประเมินของอาจารย์นิเทศ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี จำนวน 147 คน และอาจารย์นิเทศ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินพฤติกรรมความเอื้ออาทรในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความสอดคล้องของเนื้อหารายข้อเท่ากับ 0.67-1 ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของแบบประเมินพฤติกรรมความเอื้ออาทรในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตตามการประเมินของนักศึกษาและอาจารย์นิเทศ เท่ากับ 0.96 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยสถิติ Independent t- test
ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมความเอื้ออาทรในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตของนักศึกษาพยาบาลโดยการประเมินตนเองและการประเมินของอาจารย์นิเทศ ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และพบว่า พฤติกรรมความเอื้ออาทรในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตของนักศึกษาพยาบาลโดยการประเมินตนเองและการประเมินของอาจารย์นิเทศ โดยรวมไม่แตกต่างกัน (t = 1.80, p = 0.07) เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยการประเมินตนเองของนักศึกษามากกว่าการประเมินของอาจารย์นิเทศ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถ ด้านการสร้างความเชื่อมั่น และด้านความมุ่งมั่น ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ผลการวิจัยสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนพัฒนาการจัดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาล เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาในการดูแลผู้ป่วยให้คลอบคลุม
References
สีวลี ศรีวิไล. จริยศาสตร์สำหรับพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2553.
จินดามาศ โกศลชื่นวิจิตร. การดูแลอย่างเอื้ออาทร : หัวใจสำคัญของการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์. ว.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2556;29(2):134-141.
Watson J. Nursing human science and human care: A theory of nursing. Boston: Nation League for Nursing; 1999.
Watson, J. Nursing: The Philosophy and Science of Caring. Rev. ed. Boulder, CO: University Press of Colorado; 2008.
Roach MS. Caring: The human mode of being: A blueprint for the health professionals. 2nd ed. Canada: CH Press; 2002.
สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ, ชวนพิศ ทำนอง. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 8. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา; 2557.
Davidson JE, Powers K, Hedayat KM, Tieszen M, Kon AA, Shepard E, & Ghandi R. Clinical practice guidelines for support of the family in the patient-centered intensive care unit: American College of Critical Care Medicine Task Force 2004–2005. Critical care medicine 2007;35(2):605-622.
Hsieh JL, Kuo C, Tseng HF. Application and evaluation of a caring code in clinical nursing education. J Nurs Educ 2013;44(4):177-184.
ศติกาญน์ สกุลปัญญวัฒน์. พฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลที่สอนรายวิชาภาคปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานตามการรับรู้ของอาจารย์ผู้สอนกับนักศึกษาสถาบันการศึกษาเอกชน 2557. ว. เกื้อการุณย์ 2557; 21(ฉบับพิเศษ):108-123.
วรรวิษา สำราญเนตร, และนิตยา กออิสรานุภาพ. ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนแบบใช้สถานการณ์จำลองในการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม.
ว. โรงพยาบาลสกลนคร 2562;22(1):64-75.
มยุรี ลี่ทองอิน และ สิริมาศ ปิยะวัฒนพงศ์. ปัจจัยร่วมทำนายพฤติกรรมการพยาบาลเอื้ออาทรผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาลในวิชาปฏิบัติการพยาบาล. ว.การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2558;33(3):70-79.
ประกาศสภาการพยาบาล. สมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ [อินเทอรเน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2567] เข้าถึงได้จาก: https://www.tnmc.or.th/ images/userfiles/files/9999.pdf
Gould D & Fontenla M. Commitment to nursing: results of a qualitative interview study. J Nurs Manag 2006;14(3):213-221.
Bandura A. Social foundations of thought and action. Englewood Cliffs NJ; Prentice-Hall, Inc; 1986.
ทัศนีย์ ทิพย์สูงเนิน, วัลภา สบายยิ่ง, นิรนาท แสนสา และ จินดามาศ โกศลชื่นวิจิตร. โมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
ว. เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2563;7(1):16-31.
Gillespie M, & McFetridge B. Nurse education–the role of the nurse teacher. J Clin Nurs 2006;15(5):639-644.
Davis JR. Interdisciplinary Course and Team Teaching. Phoenix American Council Education and the Orys Press 1995;40(7):127-40.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง