การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอด โรงพยาบาลบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564–2565
DOI:
https://doi.org/10.59096/wesr.v54i41.1273คำสำคัญ:
การประเมิน, ระบบเฝ้าระวัง, วัณโรคปอด, ฉะเชิงเทราบทคัดย่อ
ความเป็นมา : วัณโรคปอดเป็นโรคติดต่อที่สำคัญและเป็นปัญหาสาธารณสุขของโลก วัณโรคปอดเป็นโรคติดต่อที่มีอัตราป่วยเป็นอันดับ 5 ของอำเภอบางปะกงและมีอัตราการเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2565 ร้อยละ 16.22 ข้อมูลจากโปรแกรม HospXP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564–2565 พบผู้ป่วยวัณโรคปอด 133 ราย แต่มีผู้ป่วยวัณโรคปอดเพียง 89 ราย ที่ลงทะเบียนในโปรแกรมรายงานข้อมูลวัณโรคของประเทศไทย (National Tuberculosis Information Program: NTIP) ซึ่งข้อมูลจากสองฐานข้อมูลนี้แตกต่างกัน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอดทั้งในคุณลักษณะเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของโรงพยาบาลบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
วิธีการศึกษา : ทำการศึกษาแบบภาคตัดขวาง เพื่อประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในโรงพยาบาลบางปะกง ประชากรที่ทำการศึกษา คือ ผู้ป่วยที่มารับบริการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563–30 กันยายน 2565 แหล่งข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ผลการตรวจเสมหะ เวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับยา Rifampicin และรายงานผู้ป่วยในโปรแกรม NTIP รวมทั้งสัมภาษณ์บุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องจำนวน 18 ราย เพื่อประเมินคุณลักษณะเชิงคุณภาพของระบบเฝ้าระวังโรค โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด
ผลการศึกษา : จากการทบทวนข้อมูลผู้ป่วยที่ศึกษาจากฐานข้อมูลเวชระเบียนโรงพยาบาลบางปะกง มีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยตามรหัส ICD–10 ที่กำหนด 1,940 ราย ผลการตรวจเสมหะ 900 ราย และผู้ป่วยที่ได้รับยา Rifampicin 102 ราย พบเป็นผู้ป่วยวัณโรคที่เข้าได้กับนิยาม จำนวน 102 ราย โดยพบจากรหัสวินิจฉัยวัณโรค 78 ราย รหัสใกล้เคียง 24 ราย พบผู้ป่วยตามนิยามที่มีรายงานในโปรแกรม NTIP 89 ราย คิดเป็นค่าความไว ร้อยละ 87.25 และค่าพยากรณ์บวกร้อยละ 100 ผู้ป่วยที่ไม่ได้รายงานเข้าไปในโปรแกรม NTIP 13 ราย เป็นผู้ป่วยเอดส์ที่รักษาในคลินิก ARV และเป็นผู้ป่วยที่ไปรักษาตามสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าและสิทธิประกันสังคมที่จังหวัดอื่น ด้านความถูกต้องของตัวแปรในรายงาน ได้แก่ วันที่ขึ้นทะเบียน ที่อยู่ อายุ ชื่อ-สกุล-เพศ และความทันเวลามีความถูกต้อง ร้อยละ 88.76, 89.89, 98.88, 100 และ 97.75 ตามลำดับ ด้านความเป็นตัวแทนพบว่าข้อมูลทั้งสองระบบมีความใกล้เคียงกันและสามารถเป็นตัวแทนได้ บุคลากรผู้เกี่ยวข้องที่ให้สัมภาษณ์เห็นว่าระบบเฝ้าระวังวัณโรคมีประโยชน์ เป็นที่ยอมรับ มีความมั่นคง แต่ยังคงต้องปรับในเรื่องความยากง่าย เนื่องจากการรายงานข้อมูลมีหลายหน้าและต้องรายงานหลายโปรแกรม
อภิปรายผลการศึกษา : ระบบเฝ้าระวังผู้ป่วยวัณโรคปอดของโรงพยาบาลบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีความไวและค่าพยากรณ์บวกสูง มีความถูกต้องของการรายงานและความเป็นตัวแทน และการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่าเป็นที่ยอมรับ มีประโยชน์ มีความมั่นคง อย่างไรก็ตามควรมีตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วยวัณโรคจากโปรแกรม HosXP ก่อนนำเข้าสู่โปรแกรม NTIP เพื่อให้ข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มค่าความไว
References
World Health Organization. Global Tuberculosis report 2021. Geneva: World Health Organization; 2021.
Division of Tuberculosis, Department of Disease Control Thailand. National tuberculosis control programme guideline, Thailand 2021. Bangkok: Division of Tuberculosis; 2021. (in Thai)
Division of Tuberculosis, Department of Disease Control Thailand. National Tuberculosis Information Program [internet]. [cited 2023 Jun 20]. Available from https://ntip-ddc.moph.go.th/Downloads/UserManualNTIP19_10_20.pdf (in Thai)
Bangpakong Hospital, Chachoengsao Province Thailand. Information of tuberculosis patients in the Bangpakong Hospital, fiscal year 2020–2022. Chachoengsao: Chachoengsao Province Public Health Office; 2022. (in Thai)
Division of Epidemiology, Department of Disease Control Thailand. Case definition for communicable diseases surveillance, Thailand, 2020. Nonthaburi: Division of Epidemiology; 2020. (in Thai)
Rungruang C, Wongprasert P. Pulmonary tuberculosis surveillance evaluation at Klongluang Hospital, Pathum Thani Province, Thailand, Fiscal year 2017. Weekly Epidemiological Surveillance Report. 2019; 50: 457–63. (in Thai)
Wijitsetthakul S, Lengthong W. Evaluation of pulmonary tuberculosis surveillance system in adult patients aged 15–year–old up at Ratchaburi Hospital, Ratchaburi Province, Thailand, since October 1, 2017, to September 30, 2018. Weekly Epidemiological Surveillance Report. 2019; 50: 82–8. (in Thai)
Pawasuttikul C, Patanasakpinyo C, Subsin K. Evaluation of pulmonary tuberculosis surveillance system in healthcare personnel Sawanpracharak Hospital. Region 3 Medical and Public Health Journal. 2021; 18: 248–60.
Utaipiboon S, Kijcharoensap J. Evaluation of information systems and epidemiology of tuberculosis patients Chiang Kham Hospital, Phayao Province, Fiscal year 2001. Weekly Epidemiological Surveillance Report. 2003; 34: 693–9. (in Thai)
Boonpradit P, Ketmanee A. Pulmonary tuberculosis surveillance evaluation at Ratchaburi Hospital, Ratchaburi Province, Thailand, Fiscal year 2013. Weekly Epidemiological Surveillance Report. 2015; 46: S68–75. (in Thai)
Polachom T, Kawkean S. Tuberculosis surveillance evaluation at Kusuman Hospital, Sakon Nakhon Province, Thailand, Fiscal year 2017. Weekly Epidemiological Surveillance Report. 2019; 50: 429–37. (in Thai)
Puedkuntod P, Malatong P. Evaluation of tuberculosis surveillance at the border area of Buriram Province, Thailand, 2018. Weekly Epidemiological Surveillance Report. 2019; 50: 701–9. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ