ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี และพฤติกรรมเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มสาวประเภทสอง ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561

ผู้แต่ง

  • สุปิยา จันทรมณี กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • ฐิติพงษ์ ยิ่งยง กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • นิรมล ปัญสุวรรณ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • วัชรพล สีนอ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • ไพโรจน์ จันทรมณี วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น จังหวัดตาก

คำสำคัญ:

สาวประเภทสอง, อัตราความชุกการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, การเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยง

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: จากการศึกษาปี พ.ศ. 2557 พบความสัมพันธ์การตดิ เชื้อเอชไอวีกับการใช้ยาเสพติดก่อนมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักใน กลุ่มสาวประเภทสอง (Transgender; TG) การทราบผลการติด เชื้อเอชไอวีเป็นบวกมาก่อน และกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 24 ปี เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลตรวจที่เป็นบวกอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ ดังนั้นจึงทำการศึกษาปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงที่มีความ- สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ใน กลุ่มสาวประเภทสองของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2561
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาภาคตัดขวางแบบสำรวจซ้ำ (Serial cross–sectional survey) และกลุ่มตัวอย่างมาจากกลุ่มประชากร เดิม (Same dynamic population) ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต และชลบุรี จังหวัดละ 150 คน รวม 600 คน โดยปรับปรุงจากฐานข้อมูลเดิม พร้อมทำแผนที่ และ ทำการคาดประมาณกลุ่มเป้าหมายตามแผนที่ เครื่องมือที่ใช้ในการ เฝ้าระวังฯ คือ Tablet Assisted Self–Interview (TASI) พร้อม เก็บตัวอย่างสารน้ำในช่องปากเพื่อตรวจหาการติดเชื้อ HIV สถิติที่ ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน Odds ratio (OR) และ Adjusted odds ratio (AOR)
ผลการศึกษา: กลุ่มสาวประเภทสอง จำนวน 600 คน อายุเฉลี่ย 26.97 ปี สถานภาพโสดร้อยละ 68.17 กรุงเทพมหานครมีความชุกของการติดเชื้อเอชไอวี สูงสุดร้อยละ 17.33 เมื่อทำการถ่วง น้ำหนักประชากรทั้ง 4 จังหวัด ความชุกของการติดเชื้อ ร้อยละ 10.99 จังหวัดชลบุรีมีการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ทาง ทวารหนักครั้งล่าสุดมากที่สุดร้อยละ 83.01 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี คือ การทราบผลการติดเชื้อเอชไอวีเป็นบวก มาก่อน และการใช้อินเทอร์เน็ตในการหาคู่นอนชายอย่างน้อย สัปดาห์ละครั้ง มีความสัมพันธ์กับการตรวจที่ให้เป็นบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ AOR 12.67 (95%CI 2.30–69.75) และ AOR 2.01 (95%CI 1.05–3.85) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยการกินยาป้องกันการติดเชื้อก่อนมีการสัมผัส (Pre-Exposure Prophylaxis: PrEP) พบว่าผู้ที่ไม่กินยามีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีเป็น 5.22 เท่าของผู้ที่ กินยา และผู้ที่มีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าเป็นโรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมามีโอกาสติดเชื้อเอชไอวี 1.87 เท่าของผู้ที่ไม่มีอาการ
สรุปและวิจารณ์: อัตราการติดเชื้อเอชไอวีสูงในกลุ่มสาวประเภทสอง มีการใช้ถุงยางอนามัยที่ต่ำ การใช้อินเทอร์เน็ตในการหาคู่นอนมี ความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า 25 ปี มีการติดเชื้อไม่ต่างจากกลุ่มที่อายุมากกว่า 25 ปี การกินยา PrEP สัมพันธ์กับการลดการติดเชื้อเอชไอวี แต่การรณรงค์ใช้ถุงยางอนามัยยังมีความจำเป็นและต้องใช้เป็นมาตรการควบคู่กันไปกับ การกินยา PrEP จะทำให้การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

Van Griensven F, Thanprasertsuk S, Jommaroeng R, et al. HIV prevalence and risk behavior among men who have sex with men in Bangkok, Thailand, 2003–2007. Disease Control Journal. 2004;1:27–36.

Van Griensven F, Thanprasertsuk S, Jommaroeng R, Mansergh G, Naorat S, Jenkins RA, et al. Evidence of a previously undocumented epidemic of HIV infection among men who have sex with men in Bangkok, Thailand. AIDS. 2005;19:521–6.

Varangrat A, Van Griensven F, Naorat S, et al. Key success factors for evaluating epidemic of HIV infection among men who have sex with men in Bangkok, Thailand 2003–2005. National Population Conference; 23–24 November 2006; Thai Population Association; 2006.

Centers for Disease Control and Prevention. Prevalence of HIV infection among populations of men who have sex with men, Thailand, 2003 and 2005. MMWR. 2006;31:844–8.

Jantaramanee S, Pansuwan N, Sangwanloy O, Jantaramanee P. The 2014 Surveillance Results of Associated Risk Behaviors and HIV Prevalence among Men Who Have Sex with Men 2007–2010. Nonthaburi: Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control; 2012.

Jantaramanee S, Jantaramanee P, Sangwanloy O. The 2012 Surveillance Results of Associated Risk Behaviors and HIV Prevalence among Transgender 2012. Nonthaburi: Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control; 2012.

Palipat T, Kladsawad K, et al. Prevention and Political on HIV infection among men who have sex with men in Thailand. Second Edition. Nonthaburi: Bureau of Epidemiology Department of Disease Control; 2008.

Kalton G, Anderson D. Sampling rare populations. Journal of Royal Stat Society. 1986; A149(1):65–82.

Steuve A, O’Donnell L, Duran R, Doval A, Blome J. Time-space sampling in minority communities: Results with young Latino men who have sex with men. American Journal of Public Health. 2001;91: 922–6.

Naorut S, Krujit S, Varangrut A. Venue-Day-Time Sampling Technique for evaluating HIV prevalence and risk behavior among men who have sex with men in Thailand. Weekly Epidemiological surveillance report. 2003; 1: 3–9.

Muhib F, Lin L, Steuve A, Miller R, Ford W, Johnson W, et al. A venue-based method for sampling hardto-reach population. Public Health Reports. 2001; 116:216–22.

Mansergh G, Naorat S, Jommaroeng R, Jenkins AR, Jeeyapant S, Kanggarnrua K, et al. Adaptation of venue-day-time sampling in Southeast Asia to access men who have sex with men for HIV assessment in Bangkok. Field Methods. 2006;18:135–52.

Jantaramanee S. HIV, Sexual Transmitted infection and Risk Behaviors among men who have sex with men surveillance guidance in 4 Provinces Thailand 2018. Nonthaburi: Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control; 2018.

Baral S, Poteat T, Stromdahl S, Wirtz A, Guadamuz T, Beyrer C, et al. Worldwide Burden of HIV in Transgender Women: A Systematic Review and Meta–Analysis. Lancet Infect Dis. 2013 Mar;13(3):214–22. doi: 10.1016/S1473-3099(12)70315-8.

Holt M, Newman C, Lancaster K, Smith A, Hughes S, Truong H, et al. HIV Pre-Exposure Prophylaxis and the 'Problems' of Reduced Condom Use and Sexually Transmitted Infections in Australia: A Critical Analysis from an Evidence-Making Intervention Perspective. Sociol Health Illn. 2019 Nov;41(8):1535–48. doi: 10.1111/1467-9566.12967.

Fonner V, Sarah L. Dalglish, Kevin R, et al. Values and Preferences on the Use of Oral Pre–exposure Prophylaxis (PrEP) for HIV Prevention Among Multiple Populations: A Systematic Review of the Literature. AIDS Behav. 2017; 21(5): 1325–35. doi: 10.1007/s10461-016-1627-z

MacPhail C, Scott J, Minichiello V. Technology, Normalisation and Male Sex Work. Cult Health Sex. 2015;17(4):483–95. doi: 10.1080/13691058.2014.951396.

Nguyen V, Greenwald R, Trottier H, Cadieux M, Goyette A, Beauchemin M, Charest L, Longpre D, Lavoie S, Tossa H, Thomas R, et al. Incidence of Sexually Transmitted Infections Before and After Preexposure Prophylaxis for HIV. AIDS. 2018 Feb 20; 32(4):523–30. doi: 10.1097/QAD.0000000000001718.

LeVasseur M, Goldstein N, Tabb L, Olivieri–Mui B, Welles S, et al. The Effect of PrEP on HIV Incidence Among Men Who Have Sex With Men in the Context of Condom Use, Treatment as Prevention, and Seroadaptive Practices. J Acquir Immune Defic Syndr. 2018 Jan 1;77(1):31–40. doi: 10.1097/QAI.0000000000001555.

World Health Organization. Consolidated Guidelines on HIV Prevention, Diagnosis, Treatment and Care for Key Populations. Geneva; 2014.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-09

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ