การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอด โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556

ผู้แต่ง

  • ปิยะณัฐ บุญประดิษฐ์ โรงพยาบาลราชบุรี กระทรวงสาธารณสุข
  • อร่าม เกตุมณี โรงพยาบาลราชบุรี กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การประเมิน, ระบบเฝ้าระวัง, วัณโรคปอด, ราชบุรี

บทคัดย่อ

วัณโรคปอดเป็นโรคติดต่อที่สำคัญและยังเป็นปัญหาสาธารณสุข รวมทั้งเป็นสาเหตุของการป่วยและการตายในหลายๆ ประเทศ ทั่วโลก จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่าผู้ป่วยวัณโรคปอดในโรงพยาบาลราชบุรี ในโปรแกรม HosXP ของปีงบประมาณ 2556 พบ 700 ราย แต่ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ลงทะเบียนในโปรแกรม TBCM 2010 มี 315 ราย ซึ่งแตกต่างกันมากกว่าสองเท่า จึงทำให้เกิดแนวคิดในการประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอดในโรงพยาบาลราชบุรีขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของระบบเฝ้าระวังเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยตามรหัส ICD 10 ที่เข้ามารับบริการที่มีอายุตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2556 จำนวน 447 ราย พบว่า ค่าความไว ร้อยละ 75.27 ค่าพยากรณ์บวกร้อยละ 75.29 ด้านความเป็น ตัวแทน เพศชายต่อเพศหญิง พบว่าใน TBCM 2010 เท่ากับ 2.56:1 ส่วนจากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยเท่ากับ 2.26:1 ด้านความถูกต้องมีการคลาดเคลื่อนของตัวแปรวันเริ่มให้ยาต้านวัณโรค และตัวแปรอายุ ร้อยละ 78.15 และ 95.83 ตามลำดับ ส่วนตัวแปรชื่อ นามสกุล เพศ และที่อยู่ มีความถูกต้อง ร้อยละ 100 ด้านความทันเวลา ร้อยละ 82.69 ความไวอยู่ในระดับที่พอใช้ และค่าพยากรณ์บวกอยู่ในระดับที่ดี เมื่อเทียบกับการประเมินระบบเฝ้าระวังผู้ป่วยวัณโรคปอด จังหวัดกำแพงเพชร ปี 2553 ซึ่งมีความไว ร้อยละ 84.2 และ ค่าพยากรณ์บวก ร้อยละ 16.6 ในด้านการยอมรับและการใช้ประโยชน์นั้น บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับอยู่ในเกณฑ์ที่ดีแต่ยังคงต้องปรับในเรื่องความยืดหยุ่น และความยากง่าย

References

ศรีประพา เนตรนิยม. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรค แห่งชาติ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย จำกัด; 2556.

สำนักวัณโรค (2556). มาตรการสำคัญและกิจกรรมการ ดำเนินงานตามจุดเน้นวัณโรค ปีงบประมาณ 2557 - 2561.

คำนวณ อึ้งชูศักดิ์. หลักวิชาการและการประยุกต์ระบาดวิทยา สำหรับผู้บริหารสาธารณสุข.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบัน พัฒนาการสาธารณสุขอาเชียน; 2549.

ธ นรักษ์ ผลิพัฒน์. แนวทางการประเมินระบบเฝ้าระวังทาง สาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธ.ค. 2556]. เข้าถึงได้จาก: http://team.sko.moph.go.th/index.php?option=com_myblog&show=2010-06-07-16-48-29.html

บุญนัฎ เลากะทองทิพย์, พิสุทธิ์ ชื่นจงกลสกุล, อุทัยพร อัครานุ ภาพพงศ์; สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 นครสวรรค์. การ ประเมินระบบเฝ้าระวังผู้ป่วยวัณโรค จังหวัดกำแพงเพชร.

สุริยะ คูหะรัตน์, บรรณาธิการ. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-16

How to Cite

บุญประดิษฐ์ ป., & เกตุมณี อ. (2024). การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอด โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 46(S1), S68-S75. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1837

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ