ตารางชีพแบบย่อของประชากรอำเภอหนองฮีและอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ปี พ.ศ. 2554 - 2557

ผู้แต่ง

  • อนุพงศ์ สิริรุ่งเรือง กลุ่มวิจัยและพัฒนานักระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • พงศ์ธร ชาติพิทักษ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 ราชบุรี
  • วัชระ เอี่ยมรัศมีกุล โรงพยาบาลพนมไพร อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด
  • ยงเจือ เหล่าศิริถาวร กลุ่มวิจัยและพัฒนานักระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • ชุลีพร จิระพงษา ศูนย์ความร่วมมือ ไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ตารางชีพ, อายุคาดเฉลี่ย, ระดับอำเภอ, ร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

ตารางชีพและอายุคาดเฉลี่ยเป็นดัชนีชี้วัดทางสุขภาพที่ใช้ ประกอบการวางแผนและติดตามผลการดำเนินงานทางสาธารณสุข ทั้งนี้สร้างตารางชีพสำหรับประชากรขนาดเล็กในประเทศไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก คณะผู้ศึกษามีความสนใจที่จะสร้างตาราง ชีพของประชากรของอำเภอพนมไพรและหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด และเพื่อสังเกตความแตกต่างของตารางชีพและอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดระหว่างฐานข้อมูลประชากรของสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดร้อยเอ็ด (สสจ.ร้อยเอ็ด) กับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง ทำการศึกษาโดยใช้ฐานข้อมูลประชากรจาก สสจ. ร้อยเอ็ด และทะเบียนราษฎร์รายปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 - 2557 ในการสร้างตารางชีพตามวิธีการของคู่มือการสร้างตารางชีพระดับจังหวัด (ปี พ.ศ. 2546) และคำนวณความคลาดเคลื่อนของอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกคลอดตามวิธีการของ Chiang หลังจากนั้นนำข้อมูลในตารางชีพและอายุคาดเฉลี่ยที่ได้มาเปรียบเทียบกันระหว่างสองฐานข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า จำนวนประชากรของทั้งสองอำเภออยู่ระหว่าง 78,191 - 98,150 คน มีจำนวนผู้เสียชีวิตอยู่ระหว่างปีละ 504 - 791 คน อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดในเพศชายอยู่ระหว่าง 66.9 - 78.6 ปี (ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 66.9 - 70.3 ปี, ข้อมูลจากกรมการปกครอง 69.5 - 78.6 ปี) อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดในเพศหญิงอยู่ระหว่าง 71.6 - 82.1 ปี (ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 75.1 - 79.3 ปี, ข้อมูลจากกรมการปกครอง 71.6 - 82.1 ปี) ประชากรวัยทำงานของฐานข้อมูล สสจ.ร้อยเอ็ด มีจำนวนน้อยกว่าฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ และพบว่าความแตกต่างในข้อมูลความน่าจะเป็นของการตายระหว่างสองฐานข้อมูลเป็นสาเหตุทำให้เกิดความแตกต่างกัน ของอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด สรุปผลการศึกษา เราสามารถสร้างตารางชีพได้จากฐานข้อมูลในระดับอำเภอ แต่ลักษณะประชากร และข้อมูลการตายจะมีความแตกต่างกันจากวิธีการเก็บข้อมูลได้ ซึ่งทำให้การคำนวณหาค่าอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดมีค่าแตกต่างกัน จึงควรมีการศึกษาถึงความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลจำนวนประชากรและข้อมูลการตาย และติดตามการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลประชากรโดยใช้ตารางชีพในประชากรดังกล่าวต่อไป

References

Barbara T, Allan B. Life expectancy at birth: methodological options for small populations; national statistics methodological series No.33. Norwich: Her Majesty's Stationery Office (HMSO); 2003.

Cai Y. National, provincial, prefectural and county life tables for china based on the 2000 civil registration. Seattle: Centre for Studies in Demography & Ecology, University of Washington; 2005.

Martel L, Provost M, Lebel A, Coulombe S, Sherk A. Methods for constructing life tables for Canada, provinces and territories. Statistics Canada; 2008.

Hartmann M. Demographic methods for the statistical office. Orebro: Statistics Sweden, research and development department; 2009.

Arias E. United States life tables by Hispanic origin. Vital Health Stat. Washington: U.S. Government Printing Office; 2010. p. 1-33.

Stephens AS, Purdie S, Yang B, Moore H. Life expectancy estimation in small administrative areas with non-uniform population sizes: application to Australian New South Wales local government areas. BMJ Open 2013; 3(12): e003710.

ปราโมทย์ ประสาทกุล, ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์, อุทัยทิพย์ รักจรรยาบรรณ, นวรัตน์ เพ็ชรเจริญ. คู่มือการสร้างตารางชีพระดับจังหวัด. กรุงเทพ มหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง; 2545.

Chiang CL. Variance and covariance of life table functions estimated from a sample of deaths. Vital Health Stat. Washington: U.S. Government Printing Office; 1967.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร. ตารางชีพรายจังหวัดของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร. สำนักงาน; 2546. หน้า 88.

World Health Organization. Life expectancy data by country [Internet]. 2014 [cited 2015 Feb 18]. Available from: http://apps.who.int/gho/data/node.main.688?lang=en

Department of Economic and Social Affairs, Population Division, United Nations. World population prospects: the 2012 revision, volume I: comprehensive tables. New York; 2013.

Luy M, Minagawa Y. Gender gaps - life expectancy and proportion of life in poor health. Health Rep 2014;25(12):12-9.

สำนักสถิติพยากรณ์, สำนักงานสถิติแห่งชาติ. อัตราการตาย ต่อ ประชากร (100,000 คน) จำแนกตามสาเหตุการตาย และเพศ จังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2549 - 2556 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 18 ก.พ. 2557. เข้าถึงได้จาก http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/tables/44500_RoiEt/040211-rates-49-56.xls

นพวรรณ อัศวรัตน์. ส่วนที่ 7 การบริโภคยาสูบ. ใน: นวรัตน์ เพ็ชร เจริญ, ศุภวรรณ มโนสุนทร, สาลินี เซ็นเสถียร, บรรณาธิการ. รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ พ.ศ.2553. นนทบุรี: สำนักกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหาร ผ่านศึก ในพระบรมราชปถัมภ์; 2554. หน้า 333-70.

Eayres D, Williams ES. Evaluation of methodologies for small area life expectancy estimation. J Epidemiol Community Health. 2004;58(3):243-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-18

How to Cite

สิริรุ่งเรือง อ., ชาติพิทักษ์ พ., เอี่ยมรัศมีกุล ว., เหล่าศิริถาวร ย., & จิระพงษา ช. (2024). ตารางชีพแบบย่อของประชากรอำเภอหนองฮีและอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ปี พ.ศ. 2554 - 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 46(24), 369–376. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1871

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ