การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเมลิออยโดสิส จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี พ.ศ. 2557

ผู้แต่ง

  • ฆาลิตา อานนท์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช กรมควบคุมโรค
  • พรทวี แคล้วอ้อม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช กรมควบคุมโรค
  • กรรณิกา สุวรรณา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช กรมควบคุมโรค
  • คนิสส นาคน้อย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • ยงเจือ เหล่าศิริถาวร สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

ระบบเฝ้าระวัง, เมลิออยโดสิส, การประเมิน, สุราษฎร์ธานี

บทคัดย่อ

การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเมลิออยโดสิส จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross Sectional Study) ทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative) และเชิงคุณภาพ (Qualitative) โดยมีวัตถุป ระสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของ ระบบฝ้าระวังโรคเมลิออยโดสิสในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2557 โดยแพทย์ให้การวินิจฉัยโรคที่มีรหัส ICD-10-TM ที่กำหนด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจง ความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวมระบบเฝ้าระวังโรคเมลิอยโดสิสจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีความครบถ้วนของการรายงานอยู่ในระดับพอใช้ (ร้อยละ 60.42) และมีค่าพยากรณ์บวกอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 85.29) หากจำแนกรายโรงพยาบาล พบว่า ร้อยละ 80 ของ โรงพยาบาลมีความครบถ้วนของการรายงานอยู่ในระดับควรปรับปรุง ได้แก่ โรงพยาบาลเกาะสมุย (ร้อยละ 43.75) โรงพยาบาลคีรีรัฐ นิคม (ร้อยละ 20.00) โรงพยาบาลพุนพินและโรงพยาบาลเคียนซา (ร้อยละ 0) ส่วนโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 87.50) ค่าพยากรณ์บวก พบว่า ร้อยละ 60 ของโรงพยาบาลมีค่าพยากรณ์บวกอยู่ในระดับดี ได้แก่ โรงพยาบาลคีรีรัฐนิคม (ร้อยละ 100) โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี (ร้อยละ 87.50) โรงพยาบาลเกาะสมุย (ร้อยละ 77.78) ส่วนโรงพยาบาลนพินและโรงพยาบาลเคียนชาไม่ สามารถประเมินได้ เนื่องจากไม่มีการรายงานผู้ป่วยเข้าในระบบรายงาน 506 ด้านความเป็นตัวแทน พบว่า ตัวแปรเพศ อายุ และวันเริ่ม ป่วย สามารถเป็นตัวแทนได้ ด้านความทันเวลา พบว่า มีรายงานทันเวลา ร้อยละ 26.47 และมีการรายงานล่าช้า ร้อยละ 73.53 ด้าน ความถูกต้อง พบว่า ตัวแปรประเภทผู้ป่วย เพศ เชื้อชาติ ที่อยู่ อายุ ถูกต้องมากกว่าร้อยละ 90 ส่วนตัวแปรวันเริ่มป่วยมีความถูกต้องน้อย คือ ร้อยละ 60 ในด้านผลการประเมินคุณลักษณะเชิงคุณภาพ พบว่า ขั้นตอนการปฏิบัติงานไม่ซับซ้อน บุคลากรที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญ และให้ความร่วมมือในระบบเฝ้าระวังผู้บริหารบางส่วนเห็นความสำคัญของระบบเฝ้าระวัง ต้นทุนการดำเนินการไม่สูงมาก และโรงพยาบาลส่วนใหญ่มีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเฝ้าระวัง ปัญหาที่พบ คือ บางโรงพยาบาลบุคลากรในแผนกผู้ป่วยนอกและใน ยังไม่ทราบว่าโรคเมลิออยโดสิสเป็นโรคที่ต้องรายงาน ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดควรจัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน ระบบเฝ้าระวังโรคเมออยโดสิสแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

References

Wiersinga WJ, Currie BJ, Peacock SJ. Melioidosis. The New England journal of medicine. 2012; 367: 1035-44.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ร้ายงานประจำปี 2555. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยโรคเมลิออยโดสิส คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2555.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช. รายงาน การเฝ้าระวังประจำปี 2557. นครศรีธรรมราช: สำนักงานป้องกัน ควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช; 2557.

สุริยะ คูหะรัตน์, บรรณาธิการ. นิยามโรคติดเชื้อในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์; 2546.

สมชายโชติ ปียวัชร์เวลา. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเมลิ ออยโดสิสในโรงพยาบาลเขียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ปี 2554- 2555. มหาสารคาม: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเชียงยืน; 2556.

วงษ์กลาง กุดวงษา. ความชุกและคุณภาพของระบบเฝ้าระวัง โรคเมลิออยโดสิสในจังหวัดมหาสารคาม ปี พ.ศ. 2552-2553. เอกสารประกอบการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา แห่งชาติ ครั้งที่ 25. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหา- วิทยาลัยศิลปากร; 2555. หน้า 1182-96.

Leelarasamee A, Chupaprawan C, Chenchittikul M, Udompanthurat S. Etiogies of Acute Undifferentiated Febrile Illness in Thailand. J Med Assoc Thai. 2004; 87: 464-72.

สำนักระบาดวิทยา. กาศึกษาระบบเฝ้าระวังอหิวาตกโรค จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 19-28 กรกฎาคม 2554; ใน การประชุมเชิงปฏิบัติการการประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก; 5 -6 มิถุนายน 2557; โรงแรมริชมอนด์. นนทบุรี: สำนัก ระบาดวิทยา; 2554. หน้า 31-42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-21

How to Cite

อานนท์ ฆ., แคล้วอ้อม พ., สุวรรณา ก., นาคน้อย ค., & เหล่าศิริถาวร ย. (2024). การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเมลิออยโดสิส จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี พ.ศ. 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 47(S1), S61-S66. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1959

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ