ความครอบคลุมของการรายงานผู้ป่วยวัณโรคชาวไทยและต่างด้าว และสถานการณ์ของวัณโรคในชาวไทยและต่างด้าว จังหวัดน่าน ปีงบประมาณ 2550-2558

ผู้แต่ง

  • นริศ บุญธนภัทร โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • อภิญญา เชื้อสุวรรณ โรงพยาบาลน่าน จังหวัดน่าน
  • ชุลีพร จิระพงษา โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

ความครอบคลุม, ระบาดวิทยา, วัณโรค, จังหวัดน่าน

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญสำหรับประเทศ ในแถบลุ่มแม่น้ำโขงซึ่งมีความชุกของโรคสูง จังหวัดน่านมีชายแดน ติดกับประเทศลาวและมีนโยบายผลักดันและไม่ขึ้นทะเบียนผู้ป่วย วัณโรคชาวลาวที่เข้ามารับการรักษาจากการค้นหาผู้ป่วยวัณโรค ต่างด้าวที่เข้ารับการรักษาในจังหวัดน่าน จากฐานข้อมูลสำนักวัณโรค ปี 2558 มีรายงานเพียง 1 ราย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความครอบคลุมของรายงานผู้ป่วยวัณโรคชาวไทยและต่างด้าว และศึกษาระบาดวิทยาของวัณโรคชาวไทยและต่างด้าวในจังหวัดน่าน ในปีงบประมาณ 2550-2558
วิธีการศึกษา: ประเมินความครอบคลุมโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากระบบรายงานวัณโรคจังหวัดน่าน (TBCM ) ระบบรายงานวัณโรค ระดับชาติ (BTB) เทียบกับฐานข้อมูลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคของแต่ละโรงพยาบาลในจังหวัดน่าน (ICD-10) และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรายงานผู้ป่วยโดยใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปรที่สำคัญที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาถึงระบาดวิทยาในแง่ข้อมูลประชากรชนิดของวัณโรค ข้อมูลการติดเชื้อ HIV วัณโรคดื้อยา รวมถึงผลการรักษา
ผลการศึกษา: ความครอบคลุมของการรายงานผู้ป่วยวัณโรค ต่างด้าวในฐานข้อมูล TBCM และ BTB เทียบกับฐานข้อมูล ICD-10 เท่ากับร้อยละ 9.56 และ 13.57 ตามลำดับ โดยตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 พบผู้ป่วยถูกรายงานใน TBCM เพียง 1 รายในขณะที่ชาวไทย มีความครอบคลุมร้อยละ 63.7 เมื่อศึกษาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการรายงานพบผู้ป่วยที่มีถิ่นอาศัยในจังหวัดน่านได้รับการรายงานในฐานข้อมูล TBCM มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและอุบัติการณ์ ของวัณโรคชาวไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นเดียวกับอัตราการรักษาสำเร็จที่มีแนวโน้มต่ำลงและอัตราการเสียชีวิตขณะรักษาสูงขึ้น
สรุปและวิจารณ์: ความครอบคลุมการรายงานผู้ป่วยวัณโรคต่างด้าวต่ำมาก สืบเนื่องจากนโยบายไม่ขึ้นทะเบียนและปัญหาวัณโรคยังคงเป็นปัญหาสำคัญในจังหวัดน่าน ดังนั้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรปรับปรุงหรือเพิ่มช่องทางการรายงานวัณโรคต่างด้าวที่ไม่ได้ขึ้น ทะเบียนให้มีค่าความครอบคลุมมากขึ้น และการวินิจฉัยที่รวดเร็วการรักษาที่ได้มาตรฐาน ตลอดถึงการดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่มีโรคร่วมที่ได้มาตรฐานจะช่วยลดอุบัติการณ์และอัตราการเสียชีวิตผู้ป่วย วัณโรคในจังหวัดน่านได้

References

Division of Tuberculosis Elimination, Center for Disease Control and Prevention. TB Elimination Infection Control in Health-Care Settings [Internet]. 2012 [cited 2016 Mar 20]. Available from: www.cdc.gov/tb/publications/factsheets/prevention /ichcs.pdf

World Health Organization. Addressing Poverty in TB Control-Options for National TB Control Programmes [Internet]. Geneva. 2005 [cited 2016 Mar 20]. Available from: http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/43256/1/WHO_HTM_TB_2005.352.pdf

World Health Organization. WHO Glocal tuberculosis report 2015. Vol. 1. Geneva; 2015. 4. World Health Organization Thailand. Forum on international migration and health in Thailand: status and challenges to controlling TB [Internet]. Bangkok; 2013. Available from: http://www.searo.who.int/thailand/news/final_report_tb_review.pdf

กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน. สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาความร่วมมือของ เครือข่ายในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่ชาย คนไทย-ลาว (Twin City). 2556. (อัดสำเนา) 6. สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. ระบบบันทึกข้อมูลวัณโรครอบ 3 เดือน [อินเตอร์เน็ต). 2557 [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2559]. Available from: http://www.tbthailand.org/data

นันทพร เมฆสวัสดิชัย. ความสำคัญของการบันทึกข้อมูลวัณโรค ที่ถูกต้องและการนำไปใช้ประโยชน์. สำนักงานป้องกันควบคุม โรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี; 2013.

Morales-garcia C, Rodrigo T, Garcia-clemente MM, Munoz A, Bermudez P, Casas F, et al. Factors associated with unreported tuberculosis cases in Spanish hospitals [Internet]. BMC Infect Dis.2015;4- 11. Available from: http://dx.doi.org/10.1186/s12879-015-1047-0

Lai S, Wangteeraprasert T, Sermkaew T, Nararak O, Binsard S, Phanawadee M, et al. Evaluation of Three Main Tuberculosis Case Reporting Systems in Satun Province, Thailand, 2011. Outbreak Surveill Investig Rep. 201437(3):16-23. 10. สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. ผลการดำเนินงานควบคุมวัณโรค ประเทศไทย ปีงบประมาณ 2552-2558. 2559.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. ผลการดำเนินงานควบคุมวัณโรค ประเทศไทย ปีงบประมาณ 2552-2558. 2559.

Anunothong S, Thammavijaya P, Sangsawang C Rs. Epidemiology of Tuberculosis in Eight Provinces, the Upper North Region of Thailand during Fiscal Year 2009-2013. Wkly Epidemiol Surveill Rep. 2015;46(29):449-56.

Gayoso-pasion MG. TB Reduction Among Non-Thai Migrants Year 3 Annual Report. Bangkok; 2010.

พัฒนา โพธิ์แก้ว, อภิญญา เชื้อสุวรรณ, วรรัตน์ อิ่มสงวน, นภาวรรณ ศุกรภาส, สุดานี บูรณเบ็ญจเสถียร, วิรัช กลิ่นบัวแย้ม และคณะ. การศึกษาสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน. วารสารทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤติ 2556;34(2):51-62.

World Health Organization. The End TB Strategy. Geneva; 2014.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-01

How to Cite

บุญธนภัทร น., เชื้อสุวรรณ อ., & จิระพงษา ช. (2024). ความครอบคลุมของการรายงานผู้ป่วยวัณโรคชาวไทยและต่างด้าว และสถานการณ์ของวัณโรคในชาวไทยและต่างด้าว จังหวัดน่าน ปีงบประมาณ 2550-2558. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 48(13), 193–201. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/2217

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ

Similar Articles

You may also start an advanced similarity search for this article.