การสำรวจประชากรสุนัขจรจัด ความรู้และทัศนคติของประชาชน ระดับท้องถิ่น ในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เดือนกุมภาพันธ์ 2557

ผู้แต่ง

  • วรามล ใช้พานิช สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี
  • ลิสา ร้อยกรอง สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดราชบุรี
  • มนัสชัย วัฒนกุล สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี
  • ทรงวุฒิ บุญงาม สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

สุนัขจรจัด, โรคพิษสุนัขบ้า, ปัญหาสุนัขจรจัด

บทคัดย่อ

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงสูง สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนซึ่งหากแสดงอาการของโรคแล้วไม่สามารถรักษาได้ สาเหตุหลักการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย คือ สุนัขจรจัด และประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตนหลังถูกสุนัขกัด ดังนั้น สำนักงานปศุสัตว์อำเภอโพธาราม สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี จึงได้ร่วมกันศึกษาเครื่องมือการสำรวจประชากรสุนัขจรจัดระดับท้องถิ่นในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี และความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า ปัญหาและทัศนคติของ ประชาชนที่เกี่ยวข้องกับสุนัขจรจัดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ทำการเก็บข้อมูลจำนวนประชากรสุนัขและคำนวณด้วยวิธีการ capture-recapture ตามสูตรของ Chapman Estimator (CR) พบว่ามีจำนวนสุนัขจรจัด 110.49 ตัว จาก 11 จุดการสำรวจ ขณะที่ผู้ให้อาหารให้ข้อมูลว่ามีจำนวน 107 ตัว เมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากทั้ง 2 วิธี ด้วย paired t-test analysis ได้ค่า P=0.616 (95%CI -1.61-1.01) บ่งชี้ ได้ว่าการใช้วิธี CR นี้สามารถสำรวจประชากรสุนัขจรจัดในพื้นที่ได้ค่าใกล้เคียงจำนวนสุนัขที่ได้จากผู้ให้อาหาร จากสำรวจแบบสอบถามประชาชนในพื้นที่ 190 คน ด้านความรู้และทัศนคติต่อโรคพิษสุนัขบ้า และสุนัขจรจัด พบว่าสิ่งที่ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจอย่างดี คือ การควบคุมปริมาณสุนัขโดยการฉีดยาคุมและทำหมันร้อยละ 96.32 ชนิดของสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคพิษสุนัขบ้าร้อยละ 88.95 ระยะเวลาการกักสุนัขดูอาการกรณีสงสัยโรคพิษสุนัขบ้าร้อยละ 78.42 และ ทราบว่าการแหย่หรือรบกวนสุนัขบ่อย ๆ จะไม่ทำให้สุนัขเชื่องร้อยละ 62.63 สิ่งที่ประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจ คือ ช่วงอายุที่สัตว์ เลี้ยงสามารถให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าครั้งแรกร้อยละ 84.21 การปฏิบัติตนเบื้องต้นหลังถูกสุนัขกัดร้อยละ 71.05 การเกิดโรคที่ไม่สัมพันธ์กับฤดูกาลร้อยละ 67.37 เข้าใจอาการสัตว์ติดเชื้อจะดุร้าย นิสัยเปลี่ยนร้อยละ 98.95 แต่ไม่เข้าใจอาการสัตว์ติดเชื้อที่อาจมีอาการซึม หลบตามมุมมีดร้อยละ 46.32 ทัศนคติของประชาชนในพื้นที่ คือ สุนัขจรจัดก่อความสกปรกร้อยละ 93.68 ส่งเสียงดังร้อยละ 85.79 กลิ่นเหม็นร้อยละ 78.95 เป็นพาหะนำโรคร้อยละ 91.58 แต่ยินดีให้ความช่วยเหลือด้านการบริจาคเงินช่วยเหลือบุคคลหรือองค์กรที่ดูแลสุนัขจรจัด ร้อยละ 73.16 ด้านการจัดหาอาหาร ร้อยละ 54.2 ด้านการจัดหาที่พัก ร้อยละ 52.11 ไม่เห็นด้วยกับการทำที่พักสุนัขจรจัดที่วัดร้อยละ 91.58 องค์กรที่ควรมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ การจัดการสุนัขจรจัด คือ สำนักงานสาธารณสุขร้อยละ 95.26 กรมปศุสัตว์ร้อยละ 88.42 และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 82.11

References

World Health Organization. WHO Expert Consultation on Rabies: first report. Geneva: World Health Organization; 2005. p. 20-3.

Jackson AC, Warrell MJ, Rupprecht CE, Hildegund CJ Ertl, Dietzschold B, O’Reilly M, et al. Management of Rabies in Humans. Clinical Infectious Diseases 2003; 36:60-3.

Kasempimolporn S, Jitapunkul S, Sitprija V. Moving towards the elimination of rabies in Thailand. J Med Assoc Thai 2008;91(3):433-7.

กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์การกําจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปภายใน พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2552.

World Organization for Animal Health. Stray dog population control. Terrestrial Animal Health Code. 2010 [cited 2014 March 20]. Available from URL: http://web.oie.int/eng/normes/mcode/en_chapitre_1.7.7.htm

Chapman DG. Some Properties of the Hypergeometric Distribution with Applications to Zoological Censuses. California, University of California Publication in Statistics, 1951. p. 131-60.

Cameron AR. Survey Toolbox for Livestock Diseases-A Practical Manual and Software Package for Active Surveillance in Developing Countries. Australian Centre for International Agricultural Research 1999; 183-7.

Kato M, Yamamoto H, Inukai Y, Kira S. Survey of the Stray Dog Population and the Health Education Program on the Preventive of Dog Bites and DogAcquired Infection: A comparative Study in Nepal and Okayama Prefecture, Japan. Acta Med Okayama 2003;57(5):261-6.

นวลพรรณ หนังสือ. การประยุกต์ใช้วิธี Capture-Recapture เพื่อประมาณขนาดประชากรในงานด้านระบาดวิทยา. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2548;15:56-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-13

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ

Similar Articles

You may also start an advanced similarity search for this article.