การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคบิดอมีบาในโรงพยาบาลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ปี พ.ศ. 2556

ผู้แต่ง

  • วิเศษ สิรินทรโสภณ โรงพยาบาลปาดังเบซาร์, สำนักงานสาธารณสุขสงขลา
  • อมร มะบูยา โรงพยาบาลปาดังเบซาร์, สำนักงานสาธารณสุขสงขลา

คำสำคัญ:

การประเมิน, ระบบเฝ้าระวัง, โรคบิดอมีบา, ปาดังเบซาร์, สงขลา

บทคัดย่อ

โรคบิด (Dysentery) เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ โรคบิดชิเกลลา (Shigellosis) หรือโรคบิดไม่มีตัว และโรคบิดอมีบา (Amebiasis) หรือโรคบิดมีตัว จากรายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506 ของโรงพยาบาลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ที่มารักษา ด้วยโรคบิดอมีบาในปี 2552 - 2556 มีอุบัติการณ์ของโรคมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเวชระเบียนจากโปรแกรม Hosxp ที่ถูกวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคบิดอมีบา พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยแตกต่างกัน นอกจากนั้น ในช่วง 5 ปีนี้มีเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลปาดังเบซาร์เองป่วยด้วยโรคนี้ 2 ราย ดังนั้น ทีมเฝ้าระวังโรคจึงมีความสนใจในการประเมินระบบเฝ้าระวังของโรคบิดอมีบาในโรงพยาบาลปาดังเบซาร์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาขั้นตอนการรายงานโรคบิดอมีบา ศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณและคุณภาพของระบบเฝ้าระวังโรคบิดอมีบา และให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบเฝ้าระวังโรคบิดอมีบา ผลการศึกษาพบเวชระเบียนที่ได้จากการคัดกรองด้วย ICD-10 รวมทั้งหมด 493 ราย แต่เข้านิยามโรคบิดอมีบาเพียง 67 ราย เป็นผู้ป่วยที่ถูกรายงานในระบบรายงาน 506 จำนวน 52 ราย มีความไวของระบบเฝ้าระวังร้อยละ 76.12 ส่วนค่าพยากรณ์บวกของระบบการเฝ้าระวังร้อยละ 98.02 ข้อมูลจากการรายงานสามารถเป็นตัวแทนของระบบเฝ้าระวังได้ดี ความทันเวลาของระบบเฝ้าระวังร้อยละ 100 และความถูกต้องของการบันทึกข้อมูลเฝ้าระวังร้อยละ 92.43 พบว่าในด้านการยอมรับในระบบเฝ้าระวังการใช้ประโยชน์ของระบบเฝ้าระวังความยากง่ายของระบบเฝ้าระวัง ความยืดหยุ่นของระบบเฝ้าระวังความมั่นคงของระบบเฝ้าระวังอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ยังคงต้องปรับในด้านการยอมรับในระบบเฝ้าระวังในเรื่องการวินิจฉัยโรคเมื่อผลตรวจอุจจาระพบเชื้อบิดอมีบาควรรายงานก่อนได้ ถึงแม้ว่าแพทย์จะยังไม่ให้การวินิจฉัย และเพิ่มความมั่นคงในระบบเฝ้าระวังโดยมีการรายงานสถานการณ์โรคให้กับผู้ปฏิบัติได้ทราบ

References

สุริยะ คูหะรัตน์, บรรณาธิการ. นิยามโรคติดต่อเชื้อประเทศไทย 2546. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546

ธนรักษ ผลิพัฒน. แนวทางการประเมินระบบเฝ้าระวังทางสาธารณสุข. พิมพครั้งที่ 3. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 2551.

คำนวณ อึ้งชูศักดิ์. หลักวิชาการและการประยุกต์ระบาดวิทยา สำหรับผู้บริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน; 2549.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-13

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ