การสอบสวนอาหารเป็นพิษจากเชื้อ Salmonella group B ในค่ายสานฝันฉันจะเป็นหมอ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง วันที่ 8 - 10 ตุลาคม 2556
คำสำคัญ:
อาหารเป็นพิษ, การระบาด, Salmonella group B, ค่ายนักเรียนบทคัดย่อ
วันที่ 9 ตุลาคม 2556 งานเวชกรรมสังคมได้รับแจ้งจาก แพทย์ห้องตรวจอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีนครินทร์ว่า มีผู้ป่วยสงสัยโรคอาหารเป็นพิษ 4 ราย ที่มาเข้าค่ายสานฝันฉันจะเป็นหมอมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว โรงพยาบาลศรีนครินทร์ออกสอบสวนระหว่างวันที่ 8 -10 ตุลาคม 2556 เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค ศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของการเกิดโรคในด้านบุคคล เวลาและสถานที่ ระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการควบคุมโรค ทำศึกษาแบบระบาดวิทยาเชิงพรรณนา และเชิงวิเคราะห์ แบบ Case control study ค้นหาผู้ป่วยตามนิยาม สัมภาษณ์ประวัติอาหาร เก็บตัวอย่างเพื่อตรวจเพาะเชื้อ สังเกตสุขลักษณะของผู้ประกอบอาหาร และสถานที่ประกอบอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาความสัมพันธ์ของอาหารแต่ละชนิดกับการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ โดยใช้อัตราความเสี่ยงสัมพันธ์ Odds ratio และค่าความเชื่อมั่น 95%CI และ P- value ผลการศึกษาพบการระบาดของโรคอาหาร เป็นพิษในนักเรียนที่เข้าค่ายสานฝันฉันจะเป็นหมอจริง โดยมีนักเรียนและอาจารย์มีอาการป่วยเข้าได้ตามนิยามทั้งหมด 39 ราย อัตราป่วยร้อยละ 15.17 เพศหญิงร้อยละ 76.92 พิสัยของอายุ เท่ากับ 17 - 56 ปี อาการแสดงทางคลินิกของผู้ป่วยส่วนใหญ่ พบว่า มีอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง ปวดศีรษะ ปวดมวนท้อง มีไข้ และคลื่นไส้ (ร้อยละ 82.05, 69.23, 66.66, 48.72, 38.46 และ 28.72 ตามลำดับ) ลักษณะการกระจายเป็นแหล่งโรคร่วม โดยผู้ป่วยรายแรกเริ่มมีอาการหลังรับประทานกลางวันของวันที่ 8 ตุลาคม 2556 ประมาณ 2 ชั่วโมง และรายสุดท้ายหลังรับประทานอาหารกลางวัน 25 ชั่วโมง ระยะฟักตัวเฉลี่ย 13 ชั่วโมง จากการศึกษาเชิงวิเคราะห์ พบว่าข้าวมันไก่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากที่สุด (OR = 12.76, 95%CI 1.75-260.03) ผลเพาะเชื้อจากอุจจาระผู้ป่วย 4 ราย พบเชื้อ Salmonella group B จำนวน 3 ราย และเชื้อ Salmonella spp. จำนวน 1 ราย อาหารไม่มีเหลือให้เก็บส่งตรวจเพาะเชื้อ ผลการเพาะเชื้อจากผู้ประกอบอาหารและภาชนะไม่พบเชื้อ สถานที่ประกอบอาหาร และขั้นตอนการ ประกอบอาหารไม่ถูกสุขหลักมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร มีการปนเปื้อนโดยไม่ได้มีการแยกเขียงที่ใช้หันอาหารปรุงสุกและดิบ จึงได้ติดตาม ให้คำแนะนำกำกับให้ผู้ประกอบอาหารปฏิบัติตามมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร และติดตามการปฏิบัติ การปรุงอาหารแยกเขียงสำหรับอาหารดิบและอาหารที่ปรุงสุก เชื้อ Salmonella จะพบได้ในอาหารสดพวกเนื้อไก่ ไข่ ผักสด อาหารที่ผ่านความร้อนไม่เพียงพอ อาจเกิดการปนเปื้อนได้ในขบวนการจัดเตรียมล้าง อาหาร ภาชนะ ไม่สะอาด เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษในกลุ่มนักเรียนที่เข้าค่ายซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี ผู้จัดค่ายควรเลือกร้านอาหารที่ผ่านการอบรมหลักสุขาภิบาลอาหารสุขวิทยาเบื้องต้น และให้มีการประเมินมาตรฐานข้อกำหนดสุขาภิบาลอาหาร ณ สถานที่ปรุงอาหารในสัญญาจ้าง รวมทั้งให้ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดการเจ็บป่วยจากกรับประทานอาหารที่ทางร้านนำมาจำหน่ายหรือจัดให้ผู้ที่เข้าค่าย
References
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์องค์การ รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ.), 2547.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานทางระบาดวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์: กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข, 2542.
นงนุช มารินทร์, ศิวพร ขุมทอง, กู้ศักดิ์ บำรุงเสนา และคณะ. อาหารเป็นพิษจากเชื้อซัลโมเนลลาในตำบลแห่งหนึ่ง จังหวัดอุดรธานี สิงหาคม - กันยายน 2549. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2550338:773-7.
Angelotti R, Foter MJ, Lewis KH. Time-Temperature Effects on Salmonellae and Staphylococci in Food Il. Thermal Death Time Studies. Appl Microbiol 1961; 9(4):308-15.
หน่วยระบาดวิทยาโรคติดต่อ โรงพยาบาลศรีนครินทร์. รายงานการสอบสวนการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ ร้านอาหารบุฟเฟต์แห่งหนึ่ง หมู่ที่ 14 ตำบลในเมือง จ.ขอนแก่น. 2555.
ยุทธพงษ์ ศรีมงคล, สมเกียรติ ทองเล็ก, จุฑารัตน์ ศรีณภู, สถาพร เทียมพูล, บัญชาการ เหลาลา, เผด็จ ผกาศรี และคณะ. การสอบสวนการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษจากการรับประทานเนื้อหมูเปื้อนเชื้อ Salmonella group B อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว วันที่ 30 สิงหาคม - 4 กันยายน 2554. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2555;43: 161-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2014 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ