การศึกษาประสิทธิผลของการใช้ยาด๊อกไซคลินในการป้องกันการเกิดโรคเลปโตสไปโรซีสของประชาชน จังหวัดน่าน ภายหลังการเกิดน้ำท่วมใหญ่ เดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2554

ผู้แต่ง

  • ดิเรก สุดแดน โรงพยาบาลท่าวังผา
  • ปิยะ ศิริลักษณ์ สำนักงานสาธารณสุขน่าน
  • มนูศิลป์ ศิริมาตย์ สำนักงานสาธารณสุขน่าน
  • กัลลยานี ดวงฉวี ภาควิชาพยาธิชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ประวิทย์ ชุมเกษียร สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • ธีรศักดิ์ ชักนำ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

เลปโตสไปโรซีส, น่าน, น้ำท่วม, ยาด๊อกชิไซคลิน

บทคัดย่อ

โรคเลปโตสไปโรชีส เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญโรคหนึ่ง จากข้อมูลทางด้านระบาดวิทยาของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2553 พบผู้ป่วย 4,944 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 7.76 ต่อประชากรแสนคน และอัตราตายเท่ากับ 0.09 ต่อประชากรแสนคน โรคนี้เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนมักเกิดภายหลังจากน้ำท่วม ซึ่งในปี 2554 จังหวัดน่านเกิดภาวะน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 10 ปีถึง 2 ครั้ง คือ เดือน มิถุนายนและสิงหาคม พื้นที่ที่น้ำท่วมสูง ได้แก่ อำเภอท่าวังผาปัว ทุ่งช้าง เชียงกลาง ภูเพียง เมือง และเวียงสา ซึ่งมีประชากร 396,612 คน ภายหลังจากภาวะน้ำท่วมพบว่าเกิดการระบาดของโรคเลปโตสไปโรซีส มีอัตราป่วยสูงขึ้นเป็น 2 เท่าคือ 14.2 ต่อประชากรแสนคน และพบว่ามีการใช้ยาด๊อกชิไซคลิน (Doxycycline) เพื่อป้องกันโรคในหลายพื้นที่ จึงทำให้พบผู้ป่วยทั้งในกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับยา Doxycycline ผู้วิจัยจึงได้เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและเก็บสิ่งส่งตรวจแล้วนำมาวิเคราะห์ในประเด็นที่เกี่ยวกับการใช้ยา Doxycycline ขนาด 200 mรู ต่อสัปดาห์ว่าจะสามารถลดอัตราการเกิดโรค และหรือช่วยลดความรุนแรงของโรคได้หรือไม่ เพื่อนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์หากเกิดภาวะน้ำท่วมใหญ่ครั้งต่อไป การศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบ Unmatched case control study อัตราส่วน Case : Control เท่ากับ 1 : 2 เป็นการศึกษาประสิทธิผลของการใช้ยา Doxycycline ในการป้องกันโรคเลปโตสไปโรชีส ภายหลังเกิดน้ำท่วมใหญ่ในจังหวัดน่านระหว่างเดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2554 พบว่ามีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 901 คน แต่เมื่อใช้เงื่อนไขคัดกรองในการศึกษา คือ ต้องเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์น้ำท่วมหรือเป็นผู้ช่วยเหลือที่อาศัยอยู่ใน 7 อำเภอดังกล่าว มีอายุ 12 - 70 ปี และไม่มีโรคประจำตัวอื่น พบว่ามีผู้เข้าเกณฑ์จำนวน 152 คน เป็นผู้รับประทานยาอกซิไซคลินขนาด 200 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์ จำนวน 50 คน ไม่ได้รับประทานยาจำนวน 102 คนสัดส่วนเพศชายต่อหญิง เท่ากับ 1.3:1 (85:67) ในกลุ่มได้รับยา มีอายุเฉลี่ย 45 ปี และกลุ่มไม่รับยาอายุเฉลี่ย 48 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม (ร้อยละ 86.57) อาการแสดงที่พบเป็นอาการหลัก คือ มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย และปวดกล้ามเนื้อน่องรุนแรงคิดเป็น ร้อยละ 73.3, 71.1, 64.5, 47.5 ตามลำดับ อัตราการเกิดโรคของผู้ที่ได้รับยาด๊อกชิไซคลินไม่ได้แตกต่างกับกลุ่มที่ไม่ได้รับประทานยาแต่อย่างใด อัตราการเกิดโรคในกลุ่มรับยาร้อยละ 4.0 และกลุ่มไม่รับยาร้อยละ 2.95 ค่า OR = 1.34 (95% CI 0.23 - 5.32) ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์ทางนัยสถิติแต่อย่างใด แต่ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ ความรุนแรงของโรค โดยกลุ่มที่ไม่ได้รับยามีความรุนแรงของโรคมากกว่าถึง 2.33 เท่า (95% CI 1.71 - 20.47) สรุปพบว่าการให้ยาต๊อกชิไซคลินเพื่อป้องกันโรคในพื้นที่หลังน้ำท่วมไม่ได้ป้องกันการเกิดโรค (ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ) เพราะอัตราการเกิดโรคไม่ได้ลดลง แต่การได้รับยาอกชิไซคลิน สามารถลดความรุนแรงของโรคได้อย่างชัดเจน ดังนั้นคนในกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น ทีมที่เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยควรได้รับยาป้องกัน ระหว่างการเข้าไปทำงานในพื้นที่โดยรับประทานยาอกชิไซคลิน ขนาด 200 มิลลิกรัมสัปดาห์ละครั้ง ประมาณ 3 สัปดาห์

References

ดิเรก สุดแดน, ถนอม น้อยหมอ, วราลักษณ ตังคณะกุล, มนูศิลป ศิริมาตย, ไพบูลย ทนันไชย, สลักจิต ชุติพงษวิเวท และคณะ. การ ระบาดครั้งใหญ่ที่สุดของโรคฉี่หนูในประเทศไทยจากอุทกภัย เดือนสิงหาคม - กันยายน ปี พ.ศ. 2549. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำสัปดาห์ 2550; 38 (50): 885 - 90.

ดิเรก สุดแดน, วราลักษณ์ ตังคณะกุล, มนูศิลป์ ศิริมาตย์, นิคม สุนทร, ไพบูลย์ ทนันไชย, สลักจิต ชุติวิเวกพงษ์, มุทิตะ ชลา มาตย์, พจมาน ศิริอารยาภรณ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นโรคฉี่หนู หลังจากอุทกภัยครั้งใหญ่จังหวัดน่าน, เดือนสิงหาคม - กันยายน พ.ศ. 2549. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำสัปดาห์ 2551; 39 (51): 160 - 5.

Guidugli F, Castro AA, Atallah AN. Antibiotics for preventing leptospirosis. Cochrane Database of Systematic Reviews 2000, Issue 4. Art. No.: CD001305. DOI: 10.1002/14651858.CD001305.

วราลักษณ์ ตังคณะกุล, พิมพ์ใจ นัยโกวิท, พรรณราย สมิตสุวรรณ, ประยุทธ แก้วมะลัง, ยุวลักษณ์ ขอประเสริฐ, ดวงพร พูลสมบัติ. ความชุกของการติดเชื้อเลปโตสไปโรชีสโดยไม่มีอาการในประชากรกลุ่มเสี่ยง พ.ศ. 2541. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2543; 9(1): 56-62.

มนู ศุกลสกุล, ทิชาพงศ์ หาญสุรกานนท์, เฉวตสรร นามวาท, วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย, พจมาน ศิริอารยาภรณ์, ประวิทย์ ชุมเกษียร. การระบาดของโรคเลปโตสไปโรซิสหลังน้ำท่วมที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา, พฤศจิกายน - ธันวาคม 2543. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำสัปดาห์ 2544; 37(44): 143-8.

Ko Al, Galvao R, Riberto D, et al. Urban Epidemic of Severe Leptospirosis in Brazil. Lancet 1999, 354: 820-5.

สำนักงานควบคุมโรคติดต่อเขต 5 นครราชสีมา, สำนักงานสาธารณสุขบุรีรัมย์, โรงพยาบาลสติ๊กและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสตึก ประสิทธิผลของยา Doxycyclin ในการป้องกันโรคเลปโตสไปโรชีสในกลุ่มชาวนา. รายงานผลการศึกษาวิจัยของสำนักงานควบคุมโรคติดต่อเขต 5 นครราชสีมา ประจำปี 2542.

Takafuji ET, Kirkpatrick JW, Miller RN, Karwacki JJ, Kelley PW, Gray MR, et al. An efficacy trial of doxycycline chemoprophylaxis against leptospirosis. N Engl J Med 1984;310(8):497-500. [MEDLINE: 1984117398].

Sehgal SC, Sugunan AP, Murhekar MV, Sharma s, Vijayachari P. Randomised controlled trial of doxycycline prophylaxis against leptospirosis in an endemic area. Int J Antimicrob Agents 2000;13(4): 249-55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-13

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ