Relationship between Managerial Competencies of Administrators and Nurses’ Job Satisfaction in General Hospitals of Region 8

Authors

  • Chitrawadee Naratto Kumpawapi Hospital
  • Wanchanok Juntachum Khon Kaen University

Keywords:

Managerial competencies of nurse manager, Nurse’s job satisfaction

Abstract

            การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะการบริหารจัดการของ ผู้บริหารทางการพยาบาลกับความพึงพอใจในงานของพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลทั่วไปของเขตสุขภาพที่ 8 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย ที่มีประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 256 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 – เดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามสมรรถนะการบริหารจัดการของผู้บริหารทางการพยาบาล กับความพึงพอใจในงานของพยาบาล ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และหาความ เชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ค่าเท่ากับ 0.95 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05                 

             ผลการศึกษาพบว่า 1) การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันพบว่า สมรรถนะการบริหารจัดการของ ผู้บริหารทางการพยาบาล ได้แก่ ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ด้านการมีความคิดรวบยอด และด้านภาวะผู้นำที่มี ศักยภาพสูง มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (r = 0.789, 0.778 และ 0.815 ตามลำดับ) 2) พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจในงานอยู่ในระดับสูง (gif.latex?\bar{x} = 4.25, S.D. = 0.62) และ 3) การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า สมรรถนะการบริหารจัดการ ของผู้บริหารทางการพยาบาลด้านทรัพยากรมนุษย์และด้านภาวะผู้นำที่มีศักยภาพสูง สามารถร่วมกันอธิบายความ พึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ 66.5 (r2 = 0.665) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Author Biographies

Chitrawadee Naratto, Kumpawapi Hospital

Registered Nurse (Professional Level), Kumpawapi Hospital, Udon Thani Province

Wanchanok Juntachum, Khon Kaen University

Nursing Instructors, Faculty of Nursing, Khon Kaen University

References

เจาะลึกระบบสุขภาพ. สธ.เปิดนโยบายจัดรูปแบบบริการสุขภาพ 5 ด้าน รับมือ 4 ความท้าทายในอนาคต [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ10 กันยายน พ.ศ.2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2019/10/17929

กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี(ด้านสาธารณสุข) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 24 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.oic.go.th/

FILEWEB/CABINFOCENTER2/DRAWER023/GENERAL/DATA0000/00000077.PDF

กระทรวงสาธารณสุข. นโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ปี2565 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 24 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.spko.moph.go.th/wp–content/uploads/2021/09/policy65.pdf

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. คู่มือสมรรถนะทางการบริหาร [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ocsc.go.th/node/2725

ณธิดาทิพย์ ดาราชและกัญญดา ประจุศิลปะ. สมรรถนะผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ. ว. พยาบาลตำรวจ 2557;10(2):244–252.

Chase LK. Nurse manager competencies [Thesis] USA: College of Nursing, University of Iowa; 2010.

Bureau of Nursing. Criteria for nursing performance excellence. Bangkok: Samcharoen Panich; 2005.

เศรษฐชัย ชัยสนิท, มาลัย ม่วงเทศ. สมรรถนะของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการนำแผนงานสู่การปฏิบัติตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลตติยภูมิภาคใต้.ว. พยาบาลสงขลานครินทร์2558;35(3):127–140.

วรศิริ สุขสมพงษ์, วรนารถ แสงมณี. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความพึงพอใจในงานพยาบาลโรงพยาบาลหนองบัวลำภู. ว. ครุศาสตร์อุตสาหกรรม 2559;15(2):18–25.

มาริสา ไกรฤกษ์, อภิญญา จำปามูล, มาลินันท์พิมพ์พิสุทธิพงศ์. ความต้องการการพัฒนาภาวะผู้นำทางการพยาบาลของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น ในโรงพยาบาลชุมชนเขตเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 7 กระทรวงสาธารณสุข. ว. การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2558;33(4):159–167.

เปรมฤดีศรีวิชัย, พินทอง ปินใจ. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมวัฒนธรรมองค์การเชิงสร้างสรรค์กับความพึงพอใจในงานตามการรับรู้ของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา. ว. สภาการพยาบาล 2556;28(3):95–107.

สมสมัย สุธีรศานต์. การบริหารตัวชี้วัดทางการพยาบาลเพื่อการบริหารบุคลากร [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ10 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaicne.com/images/sub_1287213200/indicator.pdf

สุกฤษฎิ์ขวัญเมือง. การศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำแบบสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

วรรณชนก จันทชุม. การวิจัยทางการพยาบาล: การเลือกกลุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง.ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2545.

Hair JF, Black WC, Babin BJ. Anderson RE. Multivariatedata analysis.7th ed. New York: Pearson; 2010.

O’Donnel DM, Livingtons PM, BartramT. Human resource management activities on the front line: A nursing perspective. Contemp Nurse 2012;41(2):198–205.

Boxall P, Ang SH, Bartram T. Analyzing the ‘black box’ of human resource management: Uncovering human resource goals, mediators and outcome in a standardized service environment. Journal of Management Studies 2011; 48(7):1504–1532.

อภิรดี เนติรังสีวัชรา. ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ความพึงพอใจในการทำงานและความภักดีต่อองค์กรของพนักงานในธุรกิจโรงแรมของประเทศไทย. ว. บริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร 2564;16(2):14–31.

Campbell M, Smith R. High – potential talent a view from Inside the Leadership pipeline. Colorado: Center for Creative Leadership; 2014.

ณัฐพรแอบไธสง. การรับรู้ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลง ความพึงพอใจในงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ: กรณีศึกษาพนักงานโรงแรมแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

Joint Commission International. Jont commission international accreditation standards for hospitals. 5th ed. Illionois: American Society for Clinical Investigation; 2014.

Raksanakorn K. School administrators’ attributes for 21st Century. Journal of Modern Learning Development 2020;5(3):328–343.

เชษินีร์แสวงสุข. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู [วิทยานิพนธ์]. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี; 2560.

สุวรรณ เดชน้อย. ความพึงพอใจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลโตนดอำเภอโนนสูงิจังหวัดนครราชสีมา. ใน: อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจวิทยาลัยนครราชสีมา. การประชุมวิชาการระดับชาติสังคมผู้สูงวัย: โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา; วันที่30 มิถุนายน 2562; วิทยาลัยนครราชสีมา. นครราชสีมา; 2562. หน้า 276 – 284.

นิตยา ไกรวงศ์,วิภารัตน์จุฑาสันติกุล, ทิพย์ราตรีนวนสินธุ์. ความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับการบริหารบุคลากรที่มีสมรรถนะสูงให้คงอยู่ในองค์กร: กรณีศึกษาฝ่ายบริการพยาบาล คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ว. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์2563;11(1):1–10.

Downloads

Published

2024-06-25

How to Cite

1.
Naratto C, Juntachum W. Relationship between Managerial Competencies of Administrators and Nurses’ Job Satisfaction in General Hospitals of Region 8. J Sakon Nak Hosp [Internet]. 2024 Jun. 25 [cited 2024 Sep. 19];25(3):121-32. Available from: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/JSakonNakHosp/article/view/2763

Issue

Section

Original article