ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมความปลอดภัย, ปัจจัยที่มีอิทธิพล, การรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทำนายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง เป็นพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 209 คน สุ่มตัวอย่างแบบ แบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการ ทำงาน และแบบสอบถามการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาได้ค่า เท่ากับ 1.00, 0.97 และ 0.99 ตามลำดับ และตรวจสอบความเที่ยงแบบสอบถามส่วนที่ 2 และ 3 ด้วยค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.97 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของสเปียร์แมน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.15, S.D. = 0.52) 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ และด้านระยะเวลาในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางต่อการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของ พยาบาลวิชาชีพ (r = 0.326, p = 0.002 และ r = 0.311, p = 0.003 ตามลำดับ) และด้านการอบรมเกี่ยวกับความ ปลอดภัยในองค์กร มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำต่อการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพ (r = 0.025, p = 0.022) ส่วนระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพ และ 3) ตัวแปรที่ร่วมกันทำนายการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพ
โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานด้านการจัดการคุณภาพ ด้านการป้องกันการติดเชื้อและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน โดยร่วมกันพยากรณ์การรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของ พยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ 71.20
References
World Health Organization. World alliance for patient safety [Internet]. 2022 [Cited 2022 Jul16]. Available from: https://www.who.int/teams/
integrated–health–services/patient–safety/about/world–alliance–for–patient–safety
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน). ยุทธศาสตร์ความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข Patient and Personnel Safety; 2P Safety ระยะ 4 ปี. กรุงเทพฯ: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล; 2560.
สันต์ฤทัย ธาราภิรมย์รักษ์. แนวทางการบริหารจัดการความปลอดภัยของบุคลากรพยาบาลในหอผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. ว. วิจัยวิชาการ 2564;4(3):137–46.
ศยามล ภูเขม่า, วรรณชนก จันทชุม. ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยกับคุณภาพบริการพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศรีนครินทร์. ว. การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2561;36(3):51–60.
Cooper MD. Towards a model of safety culture. Saf Sci 2000;36(2):111–36.
McCormick EJ, Ilgen DR, McCormick EJ. Industrial and organizational psychology. 8th ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice–Hall; 1985.
Sexton JB, Helmreich RL, Neilands TB, Rowan K, Vella K, Boyden J, et al. The Safety Attitudes Questionnaire: psychometric properties, benchmarking data, and emerging research. BMC Health Serv Res 2006;6:1–10.
วชิระ สุริยะวงค์, เทียมศร ทองสวัสดิ์. การป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานในองค์กรพยาบาลวิชาชีพ ตามแนวคิดวัฒนธรรมความปลอดภัย. พยาบาลสาร 2564;48(1)
:331–40.
อัมรา ศิริทองสุข, ทวนทอง พัณธะโร, สมศักดิ์ เทียมเก่า, บรรณาธิการ. คู่มือการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: หน่วยควบคุมการติดเชื้อ งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์; 2562.
เพียงเพ็ญ ชนาเทพาพร. ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบการจ่ายยาด้วยเครื่องจัดยาอัตโนมัติและอิเล็กทรอนิกส์จัดมือในผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2563;35(3):311–9.
ถาวร ภาวงศ์, พีระพงษ์ บุญสวัสดิ์กุลชัย. เปรียบเทียบการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพในแต่ละระดับความสามารถทางคลินิก ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ว. การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561;36(4):110–9.
Reason JT. Managing the risks of organizational accidents. Aldershot: Ashgate; 1997.
Cochran WG. Sampling techniques. 3rd ed. New York: Wiley; 1977.
ประคอง กรรณสูต. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
จริญญา บุญรอดรักษ์. ปัจจัยทำนายความสามารถด้านความปลอดภัยผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.
สุทธิชารัตน์ จันติยะ. โมเดลสมการโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำด้านความปลอดภัย ปัจจัยความปลอดภัยและวัฒนธรรมความปลอดภัยกับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2563.
Benner PE. From novice to expert: excellence and power in clinical nursing practice. Menlo Park, CA: Addison–Wesley; 1984.
รักษ์สุดา ชูศรีทอง, นิสากร ชีวะเกตุ, สมสมัย รัตนกรีฑากุล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชลบุรี. ว. วิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2564;37(2):120–30.
อุบล แจ่มนาม, รัศมี ศรีนนท์. การรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของบุคลากรทางการพยาบาล ที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลราชบุรี. ว. สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ 2561;24(2):25–36.
Venesoja A, Lindström V, Aronen P, Castrén M, Tella S. Exploring safety culture in the Finnish ambulance service with emergency medical services safety attitudes questionnaire. Scand J Trauma Resusc Emerg Med 2021;29(1):1–11.
ชโยทิตย์ นุชนารถ, จุมพฎ บริราช. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยของพนักงานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมเหล็ก ในเขตนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอตะวันออก (มาบตาพุด) จังหวัดระยอง.ว. วิทยาลัยพาณิชยศาสร์บูรพาปริทัศน์ 2563;15(2):106–20.
อรสา ภูพุฒ, ศิริญาคันธิยงค์, เกรียงศักดิ์ งามแสงศิริทรัพย์. พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ว. โรงพยาบาลมหาสารคาม 2562;16(3):188–96.
ศุภจรีย์ เมืองสุริยา. การรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยของพยาบาลและอุบัติการณ์ของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในโรงพยาบาลเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. ว. การพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2556;14(3):42–53.
สุธีร์ จำลองชาติ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยต่อการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบมาตรฐานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน เขตบริการสุขภาพที่ 9 [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2559.
Fraley TE. Transitioning novice nurses to expert nurses in progressive telemetry care [Thesis]. Boiling Springs, NC: Hunt School of Nursing, Gardner–Webb University; 2016.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง