ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของพยาบาลหัวหน้าเวรและการทำงานร่วมกัน ระหว่างวิชาชีพแบบทีมสุขภาพกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วย ในโรงพยาบาลทั่วไป ระดับตติยภูมิ เขตสุขภาพที่ 8
คำสำคัญ:
สมรรถนะของพยาบาลหัวหน้าเวร, การทำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพแบบทีมสุขภาพ, ประสิทธิผลของหอผู้ป่วยบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของพยาบาลหัวหน้าเวร และการทำงาน ร่วมกันระหว่างวิชาชีพแบบทีมสุขภาพกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลทั่วไป ระดับตติยภูมิ เขตสุขภาพที่ 8 กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ทำหน้าที่พยาบาลหัวหน้าเวรอย่างเป็นทางการ จำนวน 206 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบ หลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วย สมรรถนะของพยาบาลหัวหน้าเวร และ การทำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพแบบทีมสุขภาพ เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน และหาความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบสอบถามประสิทธิผล ของหอผู้ป่วย แบบสอบถามสมรรถนะของพยาบาลหัวหน้าเวรในด้านความเชี่ยวชาญเชิงวิชาชีพ ด้านการบริหารจัดการ ด้านภาวะผู้นำ ด้านเทคโนโลยีและสาระสนเทศ และแบบสอบถามการทำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพแบบทีมสุขภาพได้ค่า เท่ากับ 0.92, 0.86, 0.87, 0.82, 0.81 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า สมรรถนะของพยาบาลหัวหน้าเวรทุกด้านอยู่ในระดับสูง ประกอบด้วยด้านความเชี่ยวชาญเชิง วิชาชีพ
( = 4.41, S.D. = 0.45) ด้านการบริหารจัดการ (
= 4.29, S.D. = 0.46) ด้านภาวะผู้นำ (
= 4.21, S.D. = 0.49) และด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ (
= 4.21, S.D. = 0.51) การทำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพแบบทีมสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับสูง (
= 4.32, S.D. = 0.49) สมรรถนะของพยาบาลหัวหน้าเวรโดยรวมและการทำงานร่วมกันระหว่าง วิชาชีพแบบทีมสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.811, p < 0.01 และ r = 0.817, p < 0.01 ตามลำดับ)
References
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. รูปแบบการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nationalhealth.or.th/sites/default/files/upload_files/60_01_15_8475.pdf
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. โครงสร้างหน่วยงานในราชการบริหารส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.phoubon.in.th/data/โครงสร้างภารกิจ.pdf
Cameron KS, Whetten DA. Perception of organization effectiveness over organize life cycle. Adm Sci Q 1981;26(4):525–844.
Gibson JL, Ivancevich JM, Donnelly JH. Organizations: behavior, structure, process. 7th ed. Boston: Rachial D; 1991.
วรา เขียวประทุม, สมพันธ์ หิญชีระนันทน์, ปราณี มีหาญพงษ์. องค์ประกอบสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าเวรหอผู้ป่วยศัลยกรรมโรงพยาบาลของรัฐระดับทุติยภูมิ. ว. พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2565;32(1):27–39.
ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ. การศึกษาสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าเวรฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลกลาง. ว. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2562;15(1):14–22.
Connelly LM, Nabarrete SR, Smith KK. A charge nurse workshop based on research. J Nurses Staff Dev 2003;19(4): 203–208.
Matthews A, Whelan J. In charge of the ward. 3rd ed. Australia: Blackwell scientific publications; 1993.
Spencer LM, Spencer SM. Competence at work: Models for superior performance. New York: John Wiley and Sons; 1993.
World Health Organization. Framework for action on inter professional education & Collaborative Practice [Internet]. 2010. [cited 2022 Sep 27]. Available from: http://www.who.int/publications/i/item/framework–for–action–on–interprofessional–education–collaborative–practice
บุญฤทธิ์ ประสิทธิ์นราพันธ์, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. การทำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพแบบทีมสุขภาพในบริการสุขภาพระดับอำเภอ: ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญของการจัดบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ. ว. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2562;11(1):142–154.
ฉันทิกา บัณฑิตเลิศรักษ์, ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา, นงนุช บุญยัง. องค์ประกอบการปฏิบัติงานร่วมกันของสหวิชาชีพในห้องผ่าตัด
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ประเทศไทย. ว. เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2565;9(1):186–198.
Canadian interprofessional health collaborative. A National Interprofessional Competency Framework [Internet]. 2010. [Cited 2022 Sep 27]. Available from:https://www.phabc.org/wpcontent/uploads/2015/07/
CIHC–National–Interprofessional–Competency–Framework.pdf
Interprofessional education collaborative expert panel. Core competencies for interprofessional collaborative practice 2016 update [Internet]. 2016. [Cited 2022 Sep 27]. Available from:https://www.ipec.memberclicks
.net/assets/2016–Update.pdf
พวงยุพา ยิ้มเจริญ, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, พรศรี ศรีอัษฏาพร. การพัฒนาบทบาทสู่การเป็นพยาบาลหัวหน้าเวรหน่วยศัลยกรรมเด็กโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. ว. พยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2562;30(1):117–130.
โรงพยาบาลนครพนม. กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลนครพนม ปีพ.ศ. 2564–2565. นครพนม: โรงพยาบาลนครพนม; 2565.
Buchner A. G*Power: Users Guide – Analysis by design. Heinrich–Heine–Universität–Insituform
experimented Psychologies. Instruments & Computers 2010;28(1):1–11
ณปภัช วิเศษชูชาติกุล, พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. อิทธิพลของภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้า หอผู้ป่วยและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลพระมงกุฎ. ว. สมาคมนักวิจัย 2559;21(3):75–85.
Gall MD, Borg WR, Gall JP. Educational research: An introduction. New York: Longman Publishing; 1996.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย; 2553.
Sherman RO, Schwarzkopf R, Kiger AJ. What we learned from our charge nurses. Nurse Leader 2013;11(1):34–9.
ชลธิชา โภชนกิจ. การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ [วิทยานิพนธ์]. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2560.
เสาวนีย์ วงษ์พัชรวรากูล. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของพยาบาลวิชาชีพ กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2561.
ศรีผาสุก พึ่งศรีเพ็ง. การปฏิบัติตามมาตรฐานทางการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต. ว. กฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 2560;3(2):
–192.
ปิติณัช ราชภักดี. สมรรถนะดิจิทัลของบัณฑิตพยาบาลจบใหม่. ว. พยาบาลทหารบก 2566;24(1): 336–347.
พีรยา คงรอด, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, เบ็ญจวรรณ พุทธิอังกูร. ผลของโปรแกรมการทำงานเป็นทีมต่อคุณภาพบริการพยาบาลของหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นที่โรงพยาบาลเอกชนระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง. พยาบาลสาร 2562;46(2)
:131–141.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง