การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ทำหัตถการสวนหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงเรเดียล

ผู้แต่ง

  • กันยารัตน์ กองแก้ว กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสกลนคร
  • ทัศนีย์ แดขุนทด กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสกลนคร
  • อุไรวรรณ ศรีดามา กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาคุณภาพการพยาบาล โรงพยาบาลสกลนคร

คำสำคัญ:

การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล, หัตถการสวนหัวใจ, หลอดเลือดแดงเรเดียล

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ทำหัตถการสวนหัวใจผ่านหลอดเลือด แดงเรเดียล และประเมินผลลัพธก์ ารใชแ้ นวปฏิบตั ิ กลมุ่ ตัวอยา่ งเลือกแบบเฉพาะเจาะจงดังนี้ ผ้พู ฒั นาแนวปฏิบัติ ประกอบ ด้วยผู้บริหารการพยาบาล 5 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านปฏิบัติการพยาบาล 5 คน ผู้ใช้แนวปฏิบัติ คือ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติ งานที่หอบำบัดวิกฤตโรคหัวใจ 20 คน และผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ทำหัตถการสวนหัวใจผ่าน หลอดเลือดแดงเรเดียล 113 คน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 56 คน ได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลอง 57 คน ได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการวิจัย 6 ขั้นตอนดังนี้ การศึกษาสถานการณ์การ พยาบาลผู้ป่วยที่ทำหัตถการสวนหัวใจ การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล ทดลองใช้แนวปฏิบัติ ปรับปรุงแนวปฏิบัตินำแนวปฏิบัติไปใช้และประเมินผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบไคสแควร์

ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยทำหัตถการสวนหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงเรเดียลที่พัฒนา ประกอบด้วย 2 ระยะคือ ระยะก่อนทำหัตถการ ได้แก่ การประเมินผู้ป่วยตามระบบแบบพุ่งเป้า การให้ข้อมูลก่อนการทำ หัตถการ การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนทำหัตถการ และการพยาบาล ระหว่างส่งต่อห้องสวนหัวใจ และระยะหลังทำหัตถการ ได้แก่ การประเมินผู้ป่วยตามระบบแบบพุ่งเป้า การพยาบาลขณะ ใส่อุปกรณ์กดห้ามเลือด ขณะถอดอุปกรณ์กดห้ามเลือด หลังถอดอุปกรณ์กดห้ามเลือด การให้คำแนะนำก่อนกลับบ้าน และ 2) ผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติ พบว่า กลุ่มทดลองเกิดภาวะอวัยวะส่วนปลายขาดเลือดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p < 0.05) แต่พบภาวะเลือดออกและภาวะก้อนเลือดใต้ผิวหนังไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p < 0.05) และ ความพึงพอใจของพยาบาลอยู่ในระดับมากที่สุด (mean 4.59, S.D. 0.51)

Author Biographies

กันยารัตน์ กองแก้ว, กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสกลนคร

พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสกลนคร

ทัศนีย์ แดขุนทด, กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสกลนคร

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสกลนคร

อุไรวรรณ ศรีดามา, กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาคุณภาพการพยาบาล โรงพยาบาลสกลนคร

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาคุณภาพการพยาบาล โรงพยาบาลสกลนคร

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข 2563 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 16 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://dmsic.moph.go.th/index/detail/8900

Ibanez B, James S, Agewall S, Antunes JM, Bucciarelli–Ducci C, Bueno H, et al. 2017 ESC Guidelines for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST–segment elevation. Eur Heart J 2018;39(2):119–177.

Lawton SJ, Tamis–Holland EJ, Bangalore S, Bates RE, Beckie MT, Bischoff MJ, et al. 2021 ACC/AHA/SCAI Guideline for Coronary Artery Revascularization: Executive Summary. J Am Coll Cardiol 2022;79(2):197–215.

Dwivedi SK, Nayak G, Sharma AK, Chaudhary GK, Chandra S, Bhandari M, et al. Forearm hematoma as a complication of transradial coronary intervention: an Indian single–center experience. Am J Cardiovasc Dis 2021;11(4):462–470.

Durham, KA. Cardiac catheterization through the radial artery. an often safer alternative to

a traditional procedure. Am J Nurs 2012;112(1):49–56.

Manda YR, Baradhi KM. Cardiac catheterization, risks and complications [Internet]. 2018 [Cited 2019 Jun 20]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK531461/

ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลสกลนคร. รายงานสถิติข้อมูลโรคหัวใจประจ􀄘ำปี 2561–2562. สกลนคร: ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลสกลนคร; 2562 .

The National Health and Medical Research Council. A guide to the development, implementation and evaluation of clinical practice guidelines [Internet].1999 [cite 2019 Nov16]. Available from: https://www.health.

qld.gov.au/__data/assets/pdf_file/0029/143696/nhmrc_clinprgde.pdf

แจ่มจันทร์ ประทีปมโนวงศ์, สุรสิทธิ์ ช่วยบุญ, ณหฤทัย นฤมานโภคิน. การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการสวนหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ: กรณีศึกษา. ว. พยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2562;30(2):2–12.

ศิริชัย กาญจนวาสี. การวิจัยและการพัฒนาการศึกษาไทย. ว. ศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 2559; 8(2):1–18.

ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า, และ ดิลก ภิยโยทัย. ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจต่อภาวะแทรกซ้อน และระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจใน หอผู้ป่วยอายุรกรรม ธท.2 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. พยาบาลสาร 2562;46(4):149–157.

Gomes BR. Care of the patient undergoing radial approach heart catheterization: implications for medical surgical nurses. Medsurg Nurs 2015;24(3):173–6. 6.

Caputo RP. Avoiding and managing forearm hematomas. Cardiac intervention today [Internet]. 2011[Cited 2019 Jul 18]. Available from: https://citoday.com/pdfs/cit0311_feature_caputo.pdf

Bilodeau LM, Simon I. Transradial Basics A practical approach to coronary catheterization and intervention via the radial artery.Cardiac Interventions Today [Internet]. 2010 [Cited 2019 Mar 20]. Available from: https://citoday.com/articles/2010–mar–apr/transradial–basics

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-18

How to Cite

1.
กองแก้ว ก, แดขุนทด ท, ศรีดามา อ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ทำหัตถการสวนหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงเรเดียล . J Sakon Nak Hosp [อินเทอร์เน็ต]. 18 มกราคม 2024 [อ้างถึง 4 เมษายน 2025];26(3):96-106. available at: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/JSakonNakHosp/article/view/1227