การพัฒนารูปแบบการสอนงานเพื่อเพิ่มสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าเวร ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต 1 โรงพยาบาลขอนแก่น
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบการสอนงาน, สมรรถนะพยาบาลหัวหน้าเวร, ทารกแรกเกิดระยะวิกฤตบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนงานเพื่อเพิ่มสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าเวรในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต 1 โรงพยาบาลขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ พยาบาลผู้สอนงาน จำนวน 7 คน และพยาบาลผู้รับการสอนงาน จำนวน 7 คน ดำเนินการศึกษาตั้งแต่ เดือน พฤษภาคม ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2566 ขั้นตอนดังนี้ 1) การวางแผนการดำเนินงาน ได้แก่ การวิเคราะห์สถานการณ์และการออกแบบและพัฒนารูปแบบการสอนงาน 2) การปฏิบัติตามแผน โดยการทดลองใช้รูปแบบการสอนงานที่พัฒนาขึ้น 3) การสังเกตกระบวนการสอนงาน และ4) การสะท้อนผลการปฏิบัติการสอนงาน เครื่องมือในการเก็บรวบรมข้อมูลคือ แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลพยาบาลหัวหน้าเวรหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต โรงพยาบาลขอนแก่น มีค่า CVI เท่ากับ 0.97 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนาวิเคราะห์เปรียบเทียบสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าเวรก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอนงานโดยสถิติ Wilcoxon signed rank test และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการสอนงานเพื่อเพิ่มสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าเวรในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต 1โรงพยาบาลขอนแก่น ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย1) กระบวนการสอนงานพยาบาลหัวหน้าเวร คือ PISE model ประกอบ ด้วยP–prepareofprinciple, I–in charge nurseandknowledge,S–skillและ E–evaluation และ2) กระบวนการสอนงานพยาบาลหัวหน้าเวร ตามรูปแบบ GROW model มี6 กิจกรรมหลักของพยาบาลหัวเวร ได้แก่1) การรับและการ
ส่งต่อเวร 2) การตรวจเยี่ยมผู้ป่วยและการประเมินความเสี่ยง 3) การปฏิบัติการพยาบาล 4) บริหารอัตรากำลังและมอบหมายงานให้สมาชิกในทีม 5) การสำรวจเพื่อการนิเทศ ติดตาม ผลการปฏิบัติงาน และ6) การลงบันทึกข้อมูลการให้บริการภายในเวรและการส่งต่อข้อมูลและพบว่า ภายหลังการใช้รูปแบบการสอนงานพยาบาลหัวหน้าเวรในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต 1 โรงพยาบาลขอนแก่นที่พัฒนาขึ้น ค่าคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะอยู่ในระดับสูง ( = 4.12, S.D. = 0.09) ซึ่ง
เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.008)
References
กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ. นนทบุรี: สำนักพิมพ์สื่อตะวัน; 2561.
จุไรรัตน์วัชรอาสน์, วารุณีมีหลาย, อัจฉรา พิทักษ์ศิลป์, และพีรภาพ คำแพง. สมรรถนะการพยาบาลทารกแรกเกิดวิกฤตของพยาบาลวิชาชีพ เขตสุขภาพที่6 กระทรวงสาธารณสุข. ว. วิทยาศาสตร์สุขภาพ 2660;11:99–109.
วรา เขียวประทุม. องค์ประกอบสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าเวรหอผู้ป่วยศัลกรรมโรงพยาบาลของรัฐ ระดับทุติยภูมิ. ว. พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2564;3:27–39.
สุชญาดา รัดทะนี. การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลศรีนครินทร์. [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2564.
BennerPE. From novicetoexpert:excellenceandpower in clinical nursingpractice. California: Addison–Wesley; 1984.
กระทรวงสาธารณสุข กองการพยาบาล.แนวทางการจัดอัตรากำลังทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การ รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2545.
อรรถยา อมรพรหมภักดี,ฐาศุกร์จันทร์ประเสริฐและอมรราพรสุรการ. การนิเทศทางการพยาบาล: การทบทวนแบบกำหนดขอบเขต. ว. พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2563;30(3):144–158.
ณัฐฐา หอมนาน และวาสินีวิเศษฤทธิ์. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะฉุกเฉินทางสูตศาสตร์. ว. พยาบาลทหารบก 2560;18(พิเศษ):140–149.
Alexander G. Behavioral coaching–the GROW model. In: Passmore J, editors. Excellence in coaching: the industry guide. Philadelphia: Kogan; 2010. p. 84–93.
จงกล ดาวเรือง, อารีชีวเกษมสุข และดวงกมลไตรวิจิตรคุณ. ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การพยาบาลวิชาชีพ เจนเนอเรชั่นวายโรงพยาบาลของรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะ.ว. พยาบาลทหารบก 2561;19(ฉบับพิเศษ):328–339.
Kemmis S and McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Waurn Ponds, Victoria: Deakin University; 1988.
ประคอง กรรณสูตร. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่3 (ฉบับปรับปรุงแก้ไข). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
ชมพูนุช ทิพย์ฝั้น, บุญพิชชา จิตต์ภักดี, และผ่องศรีเกียรติเลิศนภา. การพัฒนาโปรแกรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นพยาบาลหัวหน้าเวร. ว. การพยาบาล 2557;41:145–157.
อรทัย ศักดิ์สูง. การวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างทฤษฎีแอนดราโกจีของมัลคัม โนลส์ กับวิธีการสอนหลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูงของสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543
วรรณชนก จันทชุม, สมปรารถนา ดาผา, รัชตวรรณ ศรีตระกูล, เหรียญทอง วงศ์สุดตา, สุรวดีคัทสิงห์, ศุภลักษณ์ กระแสร์, และคนอื่น ๆ. การพัฒนารูปแบบการสอนงานในการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลพี่เลี้ยง โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น. ว. การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563;38(1):157–166.
ชัยวัฒน์แจ้งอักษร, กมลทิพย์ศรีหาเศษ,และสุวิมล ติรกานันท์. การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ส่วนกลาง.). ว. มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2562;2(3):87–101.
ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ. การศึกษาสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าเวร ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลกลาง. ว. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์2562;15(1):14–22.
ศรีบังอร อรัญเวทย์, ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา, ปราโมทย์ ทองสุข. การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริม ความสามารถในการเป็นพยาบาลหัวหน้าเวรตาม แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมรรถนะเป็นฐานในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. ว. สุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2565;28(2):1–18
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง