ผลของโปรแกรมการนิเทศตามหลักสมานฉันท์ต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • อนิรุทธ์ วังไชย โรงพยาบาลสังคม
  • วรรณชนก จันทชุม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

โปรแกรมการนิเทศตามหลักสมานฉันท์, ความสุขในการทำงาน, พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

              การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อน–หลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการนิเทศตามหลักสมานฉันท์ต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โดยใช้แนวคิดการนิเทศทางคลินิกของพร็อคเตอร์ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในงานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสังคม จำนวน 13
คน โปรแกรมการนิเทศตามหลักสมานฉันท์ใช้เวลา 4 สัปดาห์ประกอบด้วย การให้เวลาเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน การจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำงาน และการสร้างสัมพันธภาพในการทำงาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และหาความเที่ยงด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test
            ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการใช้โปรแกรมการนิเทศตามหลักสมานฉันท์ความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ
สูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมการนิเทศตามหลักสมานฉันท์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p = 0.001)

Author Biographies

อนิรุทธ์ วังไชย, โรงพยาบาลสังคม

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลสังคม

วรรณชนก จันทชุม, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้จัดทำบทความต้นฉบับ

References

จุไรรัตน์ กลางคาร และปทุมทิพย์สุ่มมาตย์. กระบวนการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด. ว. วิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2564;2(1): 21–27.

กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

Warr P. The measurement of well‐being and other aspects of mental health. J Occup Psychol 1990;63(3):193–210.

Proctor B. Training for the supervision alliance attitude, skills, and intention. In Cutcliffe JR, Butterworth T, and Proctor B, editors, Fundamental themes in clinical supervision. London: Routledge; 2001. p 25–46

ผ่องพรรณ ธนา, กนกรัตน์ แสงอำไพ, และสุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. ผลของการนิเทศทางคลินิกต่อการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความพึงพอใจของพยาบาล. ว. การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;35(4):52–60.

นิพิฐพนธ์สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, และญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER.ว.วิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิสาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์2562;5(1):496–507.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร.ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ:ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย; 2550.

ณิรดา พราหมณ์ชู. ความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาาชีพโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช. ว. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี 2563;3(1):81–97.

Manion J. Joy at work: Creating a positive workplace. Journal of nursing Administration2003;33(12): 652–655.

นิตยา ศรีญาณลักษณ์. การบริหารการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพฯ: ธนาเพลส; 2557.

ศรีวิไล แสงเลิศศิลปะชัย, เรณุการ์ ทองคำรอด,และสมใจ พุทธาพิทักษ์ผล. ความสุขในการทำงานของพยาบาล วิชาชีพในโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน. ว. วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562;12(1):12–19.

ณิรดา พราหมณ์ชู. ความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาาชีพโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช. The Journal of Boromarjonani College of Nursing Suphanburi 2563, 3(1), 81–97.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

1.
วังไชย อ, จันทชุม ว. ผลของโปรแกรมการนิเทศตามหลักสมานฉันท์ต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ. J Sakon Nak Hosp [อินเทอร์เน็ต]. 30 เมษายน 2024 [อ้างถึง 20 เมษายน 2025];27(1):47-55. available at: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/JSakonNakHosp/article/view/1286

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ