การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบจากการติดเชื้อโควิด–19 ที่มีภาวะหายใจล้มเหลว: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • จีรวรรณ์ ศิริมนตรี โรงพยาบาลสกลนคร

คำสำคัญ:

ปอดอักเสบ, ภาวะหายใจล้มเหลว, การติดเชื้อโควิด–19 , การพยาบาล

บทคัดย่อ

              การติดเชื้อโควิด–19เป็นปัญหาทางสุขภาพที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดภาวะปอดอักเสบจนทำให้เกิดภาวะหายใจล้มเหลว ส่งผลต่อการเสียชีวิต มีวันนอนเพิ่มขึ้น อาจเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และค่าใช้จ่ายในการรักษามากขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลตามแนวคิดทางการพยาบาล FANCU ร่วมกับทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม ในการพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบจากการติดเชื้อโควิด–19 ที่มีภาวะหายใจล้ม
เหลว กรณีศึกษา 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ โรงพยาบาลสกลนคร ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์2566 ถึง กรกฎาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกอาการสำคัญ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษา การพยาบาล จากการทบทวนเวชระเบียน การซักถามประวัติผู้ป่วยและญาติเพื่อกำหนดข้อวินิจฉัย วางแผนการพยาบาล สรุปและประเมินผล

                  กรณีศึกษาทั้ง2ราย มีความคล้ายคลึงกันเมื่อเปรียบเทียบพยาธิสภาพของการเกิดโรค ลักษณะการดำเนินโรค เป็นกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคร่วม และภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เมื่อใช้แนวคิดทางการพยาบาลของ FANCAS และทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม เป็นระบบการพยาบาลในการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้พร่องการดูแลตนเองด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์และสังคม ด้วยระบบทดแทนทั้งหมด โดย
พยาบาลจะเป็นผู้กระทำกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยทั้งหมด ระบบทดแทนบางส่วนเป็นการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย และระบบสนับสนุนและให้ความรู้พยาบาลจะมีบทบาทในการสอนและให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วย พบว่า กรณีศึกษาทั้ง2รายไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ไม่ทรุดลงระหว่างการรักษา ไม่เกิดภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันไม่เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรง ไม่มีภาวะปอดแตก หรือมีปอดแตกเพิ่มขึ้น และไม่เกิดการแพร่กระจายเชื้อโควิด–19
เป็นต้น รวมถึงระยะเวลาการนอนในการรักษาตัวผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตโรคติดเชื้ออุบัติใหม่เป็นตามแผนการรักษาคือ 10 วัน

Author Biography

จีรวรรณ์ ศิริมนตรี, โรงพยาบาลสกลนคร

 พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หอผู้ป่วยวิกฤตโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ โรงพยาบาลสกลนคร

References

ดุสิต สถาวร, ครรชิต ปิยะเวชวิรัตน์, และสัณฐิติโมรากุล. COVID and crisis in critical care. กรุงเทพฯ: สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย; 2563

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php

Guo YR, Cao QD, Hong ZS, Tan YY, Chen SD, Jin HJ, et al. The origin, transmission and clinical therapieson coronavirus disease 2019(COVID–19) outbreak–an updateon the status. Mil Med Res2020;7(1):1–10.

สุทัศน์รุ่งเรืองหิรัญญา. Approach to Hypoxemia. กรุงเทพฯ บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2563 หน้า. 173–89.

สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 9. ขอนแก่น: คลังนานา;2559.

Holloway N M. Nursing the Critically ILL Adult. California: Addison–Wesley Publishing; 1979.

Nursing theory. Dorothea Orem – Nursing theorist [Internet]. [Cited 2020 Oct 3]. Available from: https://www.nursing –theory.org/nursing theorists/Dorothea–E–Orem.php

จันท์ทิรา เจียรนัย, และศรัญญา จุฬารี. แนวคิดพื้นฐานของศาสตร์ทางการพยาบาล. นครราชสีมา: สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2562.

Marik PE, Linde–Zwirble WT, Bittner EA, Sahatjian J, Hansell D. Fluid administration in severesepsisandseptic shock, patternsandoutcomes:an analysisofalarge nationaldatabase. Intensive Care Med 2021;43(5):625–635.

สรภพ ภักดีวงศ์. More Understanding Covid: Pneumonia/ ARDS. ใน: ดุสิต สถาวร, ครรชิต ปิยะเวชวิรัตน์, สัณฐิติ โมรากุล,และภูษิต เฟื่องฟู, บรรณาธิการ. COVID andcrisisin criticalcare. กรุงเทพฯ:สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย; 2564. หน้า 307–313.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตในสถานการณ์การระบาดของ COVID–19[อินเทอร์เน็ต].2563[เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://dmta.dms.go.th/manualdmta/MN_Policy/cpg/CPG–13.pdf

ณัฏฐิดา โอวัฒนาพานิช, สัณฐิติโมรากุล, สหดล ปุญญถาวร, ครรชิต ปิยะเวชวิรัตน์, และดุสิต สถาวร The Seamless critical care. กรุงเทพฯ: สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย; 2566.

วิจิตรา กุสุมภ์.การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต : แบบองค์รวม (Clinical care nursing : A holistic approach). พิมพ์ครั้งที่7 . กรุงเทพฯ: สามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์; 2565.

จันทร์เพ็ญ เนียมวัน, เดือนแรม เรืองแสน, และวราทิพย์แก่นการ. สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ. ว. การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563;38(1):1–14.

ศุทธิจิต ภูมิวัฒนะ.การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในผู้ ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจชนิด invasive: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. วชิรสารการพยาบาล 2563;22(1):70–91.

เสาวภา ทองงาม. การพยาบาลผู้ป่วยโรคโควิด–19ในหอผู้ป่วยแยกโรค โรงพยาบาลศิริราช. เวชบันทึกศิริราช 2563;13(3):222–231.

จันทร์ฉาย มณีวงษ์, การพยาบาลด้านการป้องกันและควบคุมการ แพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562. หน้า 53–60.

อภิญญา กุลทะเล. การป้องกันภาวะทุพโภชนาการใน ผู้ป่วยวิกฤต. ใน: วิจิตรา กุสุมภ์, ธนันดา ตระการวณิชย์, ภัสพร ขำวิชา, ไพบูลย์โชติพรัตน์ภัทร, สุนันทา ครองยุทธ, รัตนา จารุวรรโณ, และคนอื่นๆ, บรรณาธิการ.การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ:แบบองค์รวม. พิมพ์ครั้งที่6. กรุงเทพฯ:สหประชาพาณิชย์;2560. หน้า521–524.

รัฐพล อุปลา. คู่มือการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19). พิมพ์ครั้งที่ 3. ใน: สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2560. หน้า 173–89.

Raoof S, Nava S, Carpati C, Hill NS. High–Flow, Noninvasive Ventilation and Awake Proning in Patients with Coronavirus Disease 2019 With respiratory. Chest 2020;158(5):1992–2002.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

1.
ศิริมนตรี จ. การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบจากการติดเชื้อโควิด–19 ที่มีภาวะหายใจล้มเหลว: กรณีศึกษา 2 ราย. J Sakon Nak Hosp [อินเทอร์เน็ต]. 30 เมษายน 2024 [อ้างถึง 21 เมษายน 2025];27(1):106-18. available at: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/JSakonNakHosp/article/view/1288

ฉบับ

บท

รายงานผู้ป่วย