ผลของโปรแกรมการนิเทศทางคลินิกต่อสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ ในการพยาบาลทารกแรกเกิด
คำสำคัญ:
โปรแกรมการนิเทศทางคลินิก, สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ, การพยาบาลทารกแรกเกิดบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการนิเทศทางคลินิกต่อสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการพยาบาลทารกแรกเกิด โดยศึกษาจาก ประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพ ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วยและวิกฤต โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จำนวน 9 คน เครื่องมือดำเนินการวิจัย คือ โปรแกรมการนิเทศทางคลินิกที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวคิดการนิเทศทางคลินิกของพรอคเตอร์
และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประเมินระดับสมรรถนะการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในการพยาบาลทารกแรกเกิด ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.96 ทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติWilcoxon Signed Rank Test
ผลการวิจัยพบว่า ระดับสมรรถนะการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในการพยาบาลทารกแรกเกิด ก่อนเข้าร่วม
โปรแกรมอยูในระดับปานกลาง ( = 3.13, S.D. = 0.56) และหลังเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับสูง (
= 4.06, S.D. = 0.60) โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการนิเทศโดยใช้กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้รับการนิเทศมีส่วนร่วมในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้ทักษะและความเชี่ยวชาญ สนับสนุนการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน การสร้างบรรยากาศที่ดีในการนิเทศ และมีการประเมินผลให้ข้อมูลสะท้อนกลับ จะส่งผลให้ผู้รับการนิเทศมีสมรรถนะเพิ่มขึ้น
References
สภาการพยาบาล. ประกาศสภาการพยาบาลเรื่องสมรรถนะหลักของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีปริญญาโท ปริญญาเอกสาขาพยาบาลศาสตร์หลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลขั้นสูงระดับวุฒิบัตรและได้รับวุฒิบัตร/หนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์และการพยาบาลเฉพาะทางสาขาพยาบาลศาสตร์[อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/004.pdf
ศิริวรรณ ตันนุกูล, วลัยนารีพรมลา. การรับรู้ต่อสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี. ว. บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2560;8(2.1):439–445.
สิริรัตน์ ฟองจำนรรจ์. การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการพยาบาลทารกแรกเกิด ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2558.
Benner P. From novice to expert: Excellent and power in clinical nursing practice. Menlo Park 1984;84(1480):10–97.
รัชนีวรรณ คูตระกูล, พิชญพันธุ์จันทระ, พัชรียิ้มแย้ม, สุรีย์พร กุมภาคา, รัชนีนามจันทรา. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรง. ว. พยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2562;30(2):193–209.
รุ่งทิพย์สวัสดี, สุทธีพร มูลศาสตร์. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง เขตสุขภาพที่2. ว. พุทธชินราชเวชสาร 2562;36(2):197–210.
จีรวรรณ์ศิริมนตรี, วรรณชนก จันทชุม. ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างการนิเทศทางคลินิกการบริหารความเสี่ยงทางคลินิก และผลลัพธ์ทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลระดับตติยภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ว. โรงพยาบาลสกลนคร 2564;24(2):1–12.
Page S, Wosket V. Supervising the counsellor. A cyclical model. London: Routledege; 2001.
Alexander G. Behavioral coaching–the GROW model. In: Passmore J, editors. Excellence in coaching: the industry guide. Philadelphia: Kogan; 2010. p. 84–93.
Proctor B. Trainingfor theSupervision Alliance Attitude,SkillandIntention. In Fundamental Themes in Clinical Supervision Cutcliffe JR, Butterworth T, and Proctor B, editors. London: Routledge; 2001. p 25–46.
วิมลรัตน์เชาวินัย. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยทารกแรกเกิดของพยาบาลวิชาชีพ ในหน่วยการพยาบาลผู้ป่วยทารกแรกเกิด ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุชลประทาน [วิทยานิพนธ์]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2560.
ยุวดีเกตสัมพันธ์. การนิเทศทางการพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/Th/division/nursing/NDivision/N_qd/admin/download_files/2_72_1.pdf
สุพิศ กิตติรัชดา, วารีวณิชปัญจพล. การบริหารการพยาบาลสู่คุณภาพ การนิเทศการพยาบาล: Nursing supervision. กรุงเทพฯ: สยามเจริญพานิชย์; 2551.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. การพัฒนาสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพฯ: พี.อี.ลีฟวิ่ง; 2548.
เบ็ญจพร ไพบูลย์พลาย้อย. ผลของโปรแกรมการนิเทศการพยาบาลแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วยต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2558.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง