สถานการณ์ โรคหนอนพยาธิ ในพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง จังหวัดหนองคาย (ในส่วนของพื้นที่จังหวัดอุดรธานี)
คำสำคัญ:
โรคหนอนพยาธิ, โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ, พยาธิใบไม้ตับบทคัดย่อ
โครงการเฝ้าระวังและควบคุมโรค เพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อการแพร่โรคหนอนพยาธิภายใต้แผนงานบูรณาการ
จัดการทรัพยากรน้ำ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง จังหวัดหนองคาย ปีงบประมาณ 2566 (ในส่วนของพื้นที่ จังหวัดอุดรธานี) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการติดโรคหนอนพยาธิในอุจจาระของประชาชน และการติดโรคหนอนพยาธิที่สามารถติดต่อจากสัตว์รังโรคมาสู่คน ได้แก่ สุนัข แมว วัว ควาย แพะ ที่อาศัยอยู่ในแหล่งชุมชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่โครงการ พร้อมทั้งสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนที่เสี่ยงต่อการติดโรคและการแพร่โรคหนอนพยาธิผล
ของการศึกษาและการสำรวจ สรุปได้ดังนี้
1) ผลการตรวจอุจจาระประชาชนจำนวนทั้งสิ้น 914 ตัวอย่าง พบติดโรคหนอนพยาธิและโปรโตซัวในลำไส้ร้อยละ 14.22 ประชาชนติดโรคหนอนพยาธิทั้งหมด 7 ชนิด ซึ่ง 3 อันดับแรก ได้แก่ การติดพยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 7.99 พยาธิตืด ร้อยละ 1.86 และพยาธิใบไม้ลำไส้ขนาดเล็ก ร้อยละ 1.20
2) ผลการตรวจมูลโฮสต์กักตุนจาการเก็บตัวอย่างได้ทั้งหมด 481 ตัวอย่าง พบการติดโรคหนอนพยาธิและโปรโตซัวในลำไส้สัตว์รังโรค ร้อยละ 42.83 โดยพบการติดโรคหนอนพยาธิและโปรโตซัวในลำไส้คือ แมว ร้อยละ 61.21 วัว ร้อยละ 49.38 สุนัข ร้อยละ 45.05และควาย ร้อยละ 32.53 โดยหนอนพยาธิที่สามารถก่อให้เกิดโรคในคนได้จำนวน 3 ชนิด ได้แก่พยาธิปากขอ (Ancylostoma caninum) พยาธิตืด (Spirometra mansoni) และพยาธิใบไม้ตับ (Opisthorchis viverrini)
ในการศึกษาครั้งนี้ตรวจไม่พบพยาธิใบไม้เลือดทั้งในคนและสัตว์รังโรคแต่ยังคงตรวจพบพยาธิใบไม้ตับในอัตราเกินกว่าร้อยละ 5 ซึ่งพยาธิดังกล่าวเป็นปัจจัยก่อโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีและสามารถครบวงจรชีวิตในพื้นที่โครงการนี้ได้ นอกจากนี้มีการตรวจพบไข่หนอนพยาธิชนิดอื่น ๆ อีกหลายชนิดในประชาชนรวมถึงโฮสต์กักตุน สุนัขและแมวสามารถตรวจพบไข่หนอนพยาธิที่สามารถก่อโรคในคนได้จึงควรมีการเฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ไขการแพร่โรคหนอนพยาธิในพื้นที่ของ
โครงการนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยาธิใบไม้ตับ
References
กรมชลประทาน. แผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและแผนติดตามตรวจสอบผลกระทบ สิ่งแวดล้อม. สำนักงานบริหารโครงการ, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2556
กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการพัฒนาด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อม และการติดตามประเมินผลด้านสาธารณสุข. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข: กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
ประยงค์ระดมยศ, สุวณีสุภเวชย์, ศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ. ตำราปรสิตวิทยาทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: เมดิคัล มีเดีย; 2539.
ประยงค์ระดมยศ, อัญชลีตั้งตรงจิตร, พลรัตน์วิไลรัตน์, ศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ, แทน จงศุภชัยสิทธิ์. Atlas of medical parasitology. พิมพ์ครั้งที่4 . กรุงเทพฯ: เมดิคัล มีเดีย; 2541
Limpanont Y, Phuphisut O, Reamtong O, Adisakwattana P. Recent advances in Schistosoma mekongi ecology, transcriptomics and proteomics of relevance to snail control. Acta Tropica 2020;202:105244
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค.แผนปฏิบัติการประจำปี2556. กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการเฝ้าระวังโรคพยาธิใบไม้เลือด กรมควบคุมโรคติดต่อกระทรวงสาธารณสุข การศึกษาโรคพยาธิใบไม้เลือด ซิสโตโซมิเอซิสในโครงการเขื่อนรัชประภา มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะเวชศาสตร์เขตร้อน, ภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน;2556
Limpanont Y, Chusongsang P, Chusongsang Y, Limsomboon J, Sanpool O, Kaewkong W, et al. A new population and habitat for Neotricula aperta in the Mekong river of northeastern Thailand: a DNA sequence–based phylogenetic assessment confirms identifications and interpopulation relationships. Am J Trop Med Hyg. 2015;92(2):336–9.
Ritchie LS. An ether sedimentation technique for routine stool examinations Bulletin. United States Army Medical Department 1948;8(4):326
Pourhoseingholi MA, Vahedi M, Rahimzadeh M. Sample size calculation in medical studies. Gastroenterol Hepatol Bed Bench. 2013;6(1):14–7.
Ramsan M, Montresor A, Foum A, Ameri H, Di Matteo L, Albonico M, et al. Independent evaluation of the Nigrosin–Eosin modification of the Kato–Katz technique. Trop Med Int Health. 1999;4(1):46–9.
Zeibig, Elizabeth A. Clinical parasitology: a practical approach. 2nd ed: St. Louis: Elsevier: 2013
กัลยาณีจันธิมา, ชมัยพรนิลราช, ชัชวาลย์น้อยวังฆัง. โรคหนอนพยาธิในพื้นที่อ่างเก็บน้ำลําชีจังหวัดชัยภูมิ.ว. ศูนย์อนามัยที่9 2566;17(2):701-714.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรงพยาบาลสกลนคร การคัดลอกเพื่อพัฒนาเชิงวิชาการต้องได้รับการอ้างอิงอย่างถูกต้อง