การเปรียบเทียบกรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยเส้นเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง ที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย ในการผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียม ชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ผ่านหลอดเลือดแดง

ผู้แต่ง

  • ผ่องศรี นวลมณี โรงพยาบาลสกลนคร

คำสำคัญ:

หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง, การผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมผ่านหลอดเลือดแดง, การ ให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย

บทคัดย่อ

                   การศึกษานี้เป็นการเปรียบเทียบผู้ป่วยเส้นเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง 2 รายที่ได้รับการผ่าตัดสอดใส่หลอด เลือดเทียมชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ผ่านหลอดเลือดแดง และได้รับการให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคล ข้อวินิจฉัยการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาลและผลลัพธ์ทางการพยาบาลโดยศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนประวัติที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสกลนคร ในช่วงเดือนกรกฎาคม–กันยายน พ.ศ. 2566 ระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567

               ผลการศึกษาพบว่า กรณีศึกษาทั้ง 2 รายเป็น Infrarenal abdominal aortic aneurysm ได้รับการผ่าตัดสอดใส่ หลอดเลือดเทียมชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ผ่านทางหลอดเลือดแดง (Endovascular aortic repair : EVAR) และให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปชนิดทั่วร่างกาย พบข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่สำคัญๆ ต้องติดตามและเฝ้าระวัง แบ่งตามระยะก่อนให้ยาระงับความรู้สึก ได้แก่1) ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดปริแตกก่อนการผ่าตัดจากความดันโลหิตสูงก่อนผ่าตัด ขณะได้รับยาระงับความรู้สึก 4 ข้อ ได้แก่ 1) เสี่ยงต่อการขาดออกซิเจนและสำลักน้ำย่อยเข้าปอดจากได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว 2) ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงจากการล้มเหลวในการทำ EVAR และต้องเปลี่ยนเป็นการผ่าตัดแบบเปิด จากการฉีกขาดหรือทะลุของหลอดเลือด 3) ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะแทรก ซ้อน เช่น air emboli หรือลิ่มเลือด
ไปอุดตันสมอง ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ และ 4) ภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับสารทึบรังสีระยะหลังได้รับยาระงับความรู้สึก ได้แก่1) ผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกบริเวณแผลผ่าตัดที่ขาหนีบทั้ง 2 ข้างหลังผ่าตัด 2) ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ได้แก่ อัมพฤต อัมพาต ภาวะขาด เลือดบริเวณหลอดเลือดส่วนปลาย ภาวะชักหรือไม่ตื่นหลังผ่าตัด ในผู้ป่วยรายที่1จำนวน 2 ข้อ คือ 1) ไม่สุขสบายจากความปวดช่องท้องก่อนผ่าตัด
และ 2) เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเนื่องจากภาวะเบาหวาน ผู้ป่วยทั้งสองรายไม่พบภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยรายที่1 นอนโรงพยาบาลเป็นเวลา 12 วัน รายที่2 นอนโรงพยาบาลเป็นเวลา 7 วัน

                 ผู้ศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาทางการพยาบาลแบบองค์รวม นำมากำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและกระบวนการพยาบาลทั้งในระยะก่อน ขณะ และหลังให้ยาระงับความรู้สึก อย่างครอบคลุมด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคมและจิตวิญญาณ ตลอดจน
การนำเอาความรู้ทักษะและประสบการณ์จากการปฏิบัติการให้ยาระงับความรู้สึกมาใช้พบว่า ผู้ป่วยมีความปลอดภัยไม่มีภาวะแทรกซ้อน

Author Biography

ผ่องศรี นวลมณี, โรงพยาบาลสกลนคร

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลสกลนคร

References

พัชรี ประทีปไพศาลกุล. การพยาบาลผู้ป่วยเส้นเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง ที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ผ่านหลอดเลือด [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 31 มกราคม 2567] เข้าถึงได้จาก: https://www.vachiraphuket.go.th/articles/research/evar/

โกเมศวร์ ทองขาว, บุญประสิทธิ์กฤตย์ประชา. Current management of abdominal aortic aneurysm [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 31 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://medinfo2.psu.ac.th/surgery/ Collective%20review/Current%20management%20of%20abdominal%20aortic%20

aneurysm.pdf

กิตติคุณ อ๋อสกุล, วิทวัส ตันตรันพงษ์. Collective review Rupturedabdominal aortic aneurysm; OSRVS EVAR? [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 22ธันวาคม พ.ศ.2566]. เข้าถึงได้จาก: http://medinfo2.psu.ac.th. surgery/Collective%20review/2558/15.Ruptured_abdominal_aortic_aneurysm

_OSR_VS_ EVAR%20(Kittikhun%2021.7.58).pdf

Atwal G, Wylie G. Anaesthesia for endovascular aortic aneurysm repair (EVAR). Anaesthesia tutorialof the week303 [internet].2014[cited2024Jan 10]. Available from: https://resources.wfsahq.org/wp–content/uploads/303_english.pdf

มาลี เบญจพลากร. การพยาบาลระงับความรู้สึกผู้ป่วยหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง ผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมผ่านสายสวน : กรณีศึกษา. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2561;15(3): 85–96

โอภาส ศรัทธาพุทธ. สำคัญทางศัลยศาสตร์หัวใจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2561. หน้า 311–331.

วัชรินทร์สินธวานนท์. การระงับความรู้สึกสำหรับการผ่าตัดหลอดเลือดแดงเอออร์ต้า. พิมพ์ครั้งที่2. นนทบุรี: โรงพิมพ์บริษัท ตรีรณสาร; 2562. หน้า 87–97.

มานีรักษาเกียรติศักดิ์, เบญจรัตน์หยกอุบล, กำแหง วัชรักษะ, ขนิษฐา ไกรประสิทธ์และปาริชาติอภิเดชากุล. ตำราวิสัญญีพื้นฐานและหน่วยงานปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.

บุศรา ศิริวันสาณฑ์, พิชญา ไวทยะวิญญู,และ นฤนาท โลมะรัตน์. Anesthesia & Perioperative Care. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2563.

กิตติญาภรณ์พันวิไล, อรนุช อุทัยกุล, ธมลวรรณ ยอดกลกิจ และวุฒิชัย แสงประกาย. การพัฒนาและผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองที่ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีการสอดใส่ทอดเลือดเทียม. วชิรสารการพยาบาลสาร 2564;22(2):58–70.

Orem DE, Taylor SG, Renpenning KM. Nursing: Concepts of practice. 6th ed. St. Louis: Mosby; 2001.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

1.
นวลมณี ผ. การเปรียบเทียบกรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยเส้นเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง ที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย ในการผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียม ชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ผ่านหลอดเลือดแดง. J Sakon Nak Hosp [อินเทอร์เน็ต]. 30 เมษายน 2024 [อ้างถึง 20 เมษายน 2025];27(1):119-30. available at: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/JSakonNakHosp/article/view/1305

ฉบับ

บท

รายงานผู้ป่วย